ไม่มี ใครเก่ง เกินกรรม!!  ทำวันนี้ ให้ดีที่สุด  หยุดทำชั่ว ทั้งหลาย ตั้งเป้าหมาย แล้วไปให้ถึง

Welcome to tsirichworld.com

ริชเวิลด์เน็ตเวิร์ค

รวยทั่วโลก

richworld

สืบค้น
 ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิค เลขที่ 1101500003040
ได้รับอนุญาตจาก สคบ.แล้ว
       สมัครสมาชิก

   Member      สมาชิก เข้าระบบ

วิธีเพาะเลี้ยงไข่ผำให้โตเร็ว

รายได้จากการเพาะเลี้ยงไข่ผำ

 
 








Side Page

 สถิติวันนี้ 58 คน
 สถิติเมื่อวาน 124 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2094 คน
8250 คน
405801 คน
เริ่มเมื่อ 2009-01-11


ท่านที่ต้องการซื้อ...ซื้อ- ท่านที่ต้องการขาย...ขาย เงินเก่า เงินโบราณ เหรียญเก่า เหรียญโบราณ ธนบัตรเก่า ธนบัตรโบราณ ทุกชนิด ทุกประเภท ทุกประเทศ ทั่วโลก ผู้ที่จะขาย แจ้งราคาที่ต้องการจะขาย ถ่ายรูปสินค้าที่จะขาย ให้ชัดเจนทุกด้าน เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการตรวจสอบของเรา ว่าเป็นของจริงหรือของปลอม เสร็จแล้วสแกนคิวอาร์โค๊ตไลน์ แล้วส่งมาทางไลน์ เมื่อเราตรวจสอบสินค้าและประเมิณราคาแล้ว จะรีบแจ้งให้ท่านทราบโดยเร็ว (ประเมิณราคา ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น )เมื่อท่านทราบราคาแล้ว ท่านจะขายให้เราหรือไม่ ก็เป็นสิทธิ์ของท่าน ไม่มีผูกมัดใดๆ สำหรับท่านที่ต้องการจะซื้อ ก็ส่งรูปถ่ายสินค้าที่ท่านจะซื้อ ที่ชัดเจนที่สุดทุกด้าน เพิ่อป้องกันสินค้าที่ท่านสั่ง ไม่ตรงปก แจ้งรายละเอียดมาให้ครบถ้วนและชัดเจนมาให้เราทราบ พร้อมราคาที่ท่านพร้อมจะซื้อ หากทางเรามีสินค้าพร้อมอยู่ เราจะรีบแจ้งให้ท่านทราบทันที แต่หากเราไม่มีสินต้าที่ท่านต้องการ เราก็จะรีบจัดหาให้ท่านโดยเร็ว เมื่อท่านต้องการและยืนยันว่าท่านรอได้ เราจึงจะหาสินค้าให้ วิธีการส่งรูปและรายละเอียด ก็สแกนคิวอาร์โค๊ตไลน์ ทักมาแล้วส่งมาทางไลน์มาให้เรา ส่วนวิธีการชำระเงิน เราจะแจ้งให้ท่านทราบภายหลัง เมื่อมีการตกลงซื้อ ขายกันแล้ว *****Those who want to buy...buy- those who want to sell...sell old money, antique money, old coins, antique coins, old banknotes, antique banknotes of every kind, every type, every country, all over the world. Those who want to sell, please inform the price you want to sell. Take photos of products to sell Make it clear in every aspect To prevent mistakes in our verification whether it is real or fake When finished, scan the QR code on Line and send it to us. Line, when we have inspected the product and estimated the price. We will inform you as soon as possible (free price estimate, no costs at all). )When you know the price Will you sell to us or not? It is your right. There is no obligation. For those who need to buy It's a photo of the product you're going to buy. The most clear in every aspect To prevent the product you ordered from not being as described, please inform us of the details completely and clearly. with the price you are ready to buy If we have products ready We will inform you immediately. You will know immediately, but if we don't have the product you want, We will quickly provide it for you. When you want and confirm that you can wait. So we will find products for you. How to send pictures and details Just scan the QR code line. Messaged and sent it to us via Line. Payment method section We will inform you later. When there is an agreement to buy and sell

หน้าแรก

เกี่ยวกับเรา

ใบอนุญาต

ต้องการขาย

ต้องการซื้อ

ประวัติเงินถุงแดง

รายได้จาก   ไข่ผำ

ข่าวสารการรวยเร็ว


          Welcometo tsirichworld.com
 

รายได้จากการเพาะเลี้ยงไข่ผำสายพันธุ์"อาร์ไรซ่า" ในการรับประกันราคา 200 บาท ต่อกิโลกรัม สมาชิก ความเสี่ยง เป็น 0 !!!

เพาะเลี้ยงในบ่อบกที่ทางบริษัทจัดจำหน่ายในราคาพิเศษเฉพาะสมาชิก เพียง 3,500 บาท(ครบชุด)ขนาด 2X5 เมตร=10 ตารางเมตร ใส่แม่พันธุ์ไข่ผำ 1 ขีด (100 กรัม)ต่อตารางเมตร จะผลิตไข่ผำได้จำนวน 5-6.5 ขีด ต่อ 7 วัน (ประมาณครึ่งกิโลกรัม/7 วัน) แต่สมชิกเพาะเลี้ยง 10 ตารางเมตรก็เท่ากับ 6.5 กิโลกรัม ขายในราคาประกัน 200 บาท/กก.เท่ากับขีดละ 20 บาท ท่านจะมีรายได้ 1,300 บาทต่อการเก็บ1 ครั้ง 1 เดือนเก็บได้ 4 ครั้ง ท่านจะมีรายได้ 5,200 บาทต่อเดือน ดังนั้น เมื่อท่านลงทุนไป 3,500 บาท ก็จะถอนทุนคืนได้ในเดือนแรกแล้ว แถมยังมีกำไรเหลืออีก 1,700 บาท เดือนต่อไปก็จะเป็นกำไรตลอด (ผ้าใบปูบ่อจะมีความคงทนอยู่ได้ประมาณ 5 ปี จึงจำเป็นเปลี่ยน ส่วนโครงสร้าง พีวีซี นั้นอยู่ได้เป็น 10-20 ปี และทุกท่านที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ในราคารับประกัน ก็หมดห่วงเรื่อง ราคาไข่ผำในอนาคตจะตกต่ำลง เมื่อมีคนเพาะเลี้ยงกันมากขึ้นก็จะล้นตลาด แต่เพราะบริษัทเราเป็นบริษัทแปลรูปไข่ผำ เพื่อการส่งออกเป็นหลัก ดังนั้นท่านจึงไม่ต้องกังวนว่าผลิตแล้วจะไม่มีที่ขาย หรือขายไม่ได้ราคา เพราะท่านมีประกันราคา จึงสบายหายห่วง
 (ถ้าท่านเลี้ยง 10 บ่อ ก็ 52,000 บาท/เดือนแรก) 
ลงทุน 35,000 บาท เดือนเดียว! ก็คืนทุนหมด!!!

     
ซื้อ - ขาย - เงิน - เหรียญ -        ธนบัตรเก่า โบราณ   

ของทุกประเทศทั่วโลก 

สแกน     
.
   
 

.


.

 

อยากเป็นเศรษฐี ต้องเป็นนายหน้า *หาเหรียญเก่า แบงค์เก่ามาขายเรา* รวยเร็ว รวยง่าย รวยเงียบๆ # ทักไลน์มา ถ้ามี !!!
 

ป.วิ แพ่ง

โดยกำหนดให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยัง พนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ อันมีผลให้ศาลต้องเปิดทำการในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ นอกเวลาทำการปกติสมควรกำหนดให้ผู้พิพากษาและเจ้าพนักงานศาลได้รับเงินค่าตอบแทนการ ปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ หรือในเวลาใด ๆ นอกเวลาทำงานได้ตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 17 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พรบ. นี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องนั้น บังคับแก่คดี ดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ที่ใช้อยู่ยังไม่เหมาะสมกับ สถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า และคู่ความต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควรเมื่อคำนึงถึงทุนทรัพย์ในคดีที่พิพาทกัน สมควรแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ให้เหมาะสมขึ้น โดยให้ศาลดำเนินการไกล่เกลี่ยและเข้าช่วยเหลือคู่ความซึ่งไม่มีความรู้ทางกฎหมายได้ เพื่อให้คดีได้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายของคู่ความ ทั้งสมควรแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บางมาตราที่เกี่ยวกับอำนาจ และหน้าที่ของศาลและการบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้เหมาะสมและสอดคล้องกันด้วย จึงเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งบางเรื่องไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ทำให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นไปโดยล่าช้า สมควรแก้เพิ่มเติมบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งใน ส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
มาตรา 4 บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่อ้างถึงบทบัญญัติในหมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัดแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวนั้นอ้างถึงบทบัญญัติในหมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัดแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้ ในบทมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน
มาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พรบ. นี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องนั้นบังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาโดยขาดนัดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความล้าสมัย และไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งมีบทบัญญัติที่ขาดความชัดเจนในหลายประการ เป็นเหตุให้การดำเนินคดีในกรณีที่คู่ความขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาเป็นไปโดยล่าช้า และมีข้อโต้แย้งที่คู่ความอาจใช้เป็นช่องทางในการประวิงคดีได้สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการ พิจารณาโดยขาดนัดให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้ศาลสามารถพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีไปได้ เมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ และเพื่อให้กระบวนพิจารณาพิพากษาคดีที่คู่ความขาดนัดยื่นคำให้การ หรือขาดนัดพิจารณาเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย รวมทั้งรวดเร็ว ประหยัด และชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้น อันจะเป็นหลักประกันการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์และการคุ้มครองสิทธิของจำเลย ตลอดจนทำให้คดีที่ค้างการพิจารณาในศาลลดน้อยลง จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 20) พ.ศ.2543
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ โดยที่ มาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม กำหนดให้สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานธุรการอิสระของศาลยุติธรรม แต่มิได้กำหนดให้กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรม กรมบังคับคดีจึงยังอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงยุติธรรม ดังนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 21) พ.ศ.2547
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ โดยที่บทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการงดการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน บางส่วนยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปด้วยความเป็นธรรม โดยคุ้มครองสิทธิของบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและให้การขายทอดตลาด ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและเป็น ธรรมแก่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่าด้วยการขายทอดตลาด สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสมและมีความชัดเจนยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 22) พ.ศ.2548
มาตรา 10 บทบัญญัติ มาตรา 9 แห่งพรบ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่การบังคับคดีของบรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนวันที่พรบ. นี้ใช้บังคับ และให้ใช้ตาราง 5 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีบังคับแก่การบังคับคดีดังกล่าว
มาตรา 11 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพรบ.นี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ โดยที่บทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่มีความไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เป็นเหตุให้การบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งเป็นไปด้วยความล่าช้า และคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่เพียงพอ ประกอบกับตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีสูงเกินไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและอัตรา ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 23) พ.ศ.2550
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติในภาค 1 ลักษณะ 5 ว่าด้วยพยานหลักฐานแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของประเทศในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมยังมีความไม่เหมาะสมหลายประการ และไม่ได้แยกค่าฤชาธรรมเนียมในการพิจารณาคดีออกจากค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี รวมทั้งอัตราค่าฤชาธรรมเนียมในตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ เรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สมควรกำหนดให้หลักเกณฑ์และวิธีการในการไกล่เกลี่ยของศาล การแต่งตั้ง ผู้ประนีประนอม รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของผู้ประนีประนอม เป็นไปตามที่กำหนดในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การขอเลื่อนการนั่งพิจารณา และการพิจารณาคำขอเลื่อนการนั่งพิจารณาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีมโนสาเร่ และคดีไม่มีข้อยุ่งยากให้ชัดเจนขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่าน พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปวิพ.(ฉบับที่ 25) พ.ศ.2551
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มิได้กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานศาล และมิได้มีบทบัญญัติกำหนดวิธีการส่งเอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีให้ชัดเจน เป็นเหตุให้การบังคับคดีเป็นไปโดยล่าช้าและมีข้อโต้แย้ง สมควรกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสถานะเสมือนเป็นเจ้าพนักงานศาล และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดี ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและการรายงานการส่งเอกสารโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ชัดเจน เพื่อให้การบังคับคดีดำเนินไปด้วยความเป็นธรรมสะดวก รวดเร็ว และประหยัดยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้

อธิบาย ป.วิแพ่ง เรียงมาตรา
อธิบายขยายความด้วยคำพิพากษาศาลฎีกา และตัวอย่างข้อสอบเฉพาะมาตราที่สำคัญๆ สำหรับเตรียมตัวสอบและผู้สนใจทั่วไป
อธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรียงมาตรา
เขียนโดย
พ.ต.อ.สมศักดิ์ ณ โมรา โทร ๐๘-๙๙๗๗-๒๒๐๐ , ๐๘-๓๕๑๑-๙๕๙๙
อีเมล์ [email protected] , เว็บไซท์ http://somsak.pantown.com
…………………………………..
ภาค ๑
บททั่วไป
ลักษณะ ๑
บทวิเคราะห์ศัพท์
มาตรา ๑ ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(๑) “ศาล” หมายความว่า ศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษาที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง
(๒) “คดี” หมายความว่า กระบวนพิจารณานับตั้งแต่เสนอคำฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้รับรอง คุ้มครองบังคับตามหรือเพื่อการใช้ซึ่งสิทธิหรือหน้าที่
(๓) “คำฟ้อง” หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้งหรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยสมัครใจ หรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
(๔) “คำให้การ” หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ นอกจากคำแถลงการณ์
(๕) “คำคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคำฟ้อง คำให้การหรือคำร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาลเพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ
(๖) “คำแถลงการณ์” หมายความว่า คำแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งกระทำหรือยื่นต่อศาล ด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาลในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคำคู่ความหรือในปัญหาข้อใดที่ศาลจะพึงมีคำสั่งหรือคำพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยานหลักฐาน และปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง คำแถลงการณ์อาจรวมอยู่ในคำคู่ความ
(๗) “กระบวนพิจารณา” หมายความว่า การกระทำใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันเกี่ยวด้วยคดีซึ่งได้กระทำไปโดยคู่ความในคดีนั้นหรือโดยศาล หรือตามคำสั่งของศาลไม่ว่าการนั้นจะเป็นโดยคู่ความฝ่ายใดทำต่อศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือศาลทำต่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่าย และรวมถึงการส่งคำคู่ความและเอกสารอื่น ๆตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้
(๘) “การพิจารณา” หมายความว่า กระบวนพิจารณาทั้งหมดในศาลใดศาลหนึ่งก่อนศาลนั้นชี้ขาดตัดสินหรือจำหน่ายคดีโดยคำพิพากษาหรือคำสั่ง
(๙) “การนั่งพิจารณา” หมายความว่า การที่ศาลออกนั่งเกี่ยวกับการพิจารณาคดีเช่น ชี้สองสถาน สืบพยาน ทำการไต่สวน ฟังคำขอต่าง ๆ และฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจา
(๑๐) “วันสืบพยาน” หมายความว่า วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน
(๑๑) “คู่ความ” หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมาย หรือในฐานะทนายความ
(๑๒) “บุคคลผู้ไร้ความสามารถ” หมายความว่า บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มีความสามารถตามกฎหมายหรือความสามารถถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ
(๑๓) “ผู้แทนโดยชอบธรรม” หมายความว่า บุคคลซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิที่จะทำการแทนบุคคลผู้ไร้ความสามารถหรือเป็นบุคคลที่จะต้องให้คำอนุญาต หรือให้ความยินยอมแก่ผู้ไร้ความสามารถในอันที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
(๑๔) “เจ้าพนักงานบังคับคดี” หมายความว่า เจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีหรือพนักงานอื่นผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้อยู่ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในภาค ๔ แห่งประมวลกฎหมายนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
-อธิบาย
-ฎ.๘๘๗/๔๒(ป) คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ม.๑(๓)ซึ่งอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ม.๑๗๒,๒๔๙ วรรค ๑
ก็ตาม แต่คำฟ้องฎีกาไม่จำเป็นต้องบรรยายเนื้อหาแห่งคำฟ้องเดิมฯลฯ เพราะปรากฏในสำนวนคดีแล้ว คำฟ้องฎีกาเพียงแต่บรรยายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ชัดแจ้ง โดยแสดงเหตุผลแห่งคำคัดค้านให้ปรากฏ และระบุคำขอท้ายฟ้องฎีกาให้ชัดเจนก็เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
-การยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ตัวคำร้องที่ขออนุญาตยื่นคำให้การนั้นไม่ถือเป็นคำให้การและไม่ถือเป็นคำคู่ความ ฎ.๙๐๒/๔๒ จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าจงใจขาดนัด สั่งยกคำร้อง จึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ม.๑๘จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ม.๒๒๖
-ฎ.๑๐๑๒-๑๐๑๓/๐๕(ป) คำให้การเพิ่มเติมของจำเลยเป็นคำคู่ความเมื่อศาลไม่อนุญาต จึงเป็นการไม่รับคำคู่ความตาม ม.๑๘ อุทธรณ์ฎีกาได้โดยไม่ต้องโต้แย้งตาม ม.๒๒๖,๒๒๗ (เป็นคำคู่ความหรือไม่มีความสำคัญเพราะโยงถึงเรื่องกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ม.๑๔๔,ฟ้องซ้ำตาม ม.๑๔๘ หรือฟ้องซ้อนตาม ม.๑๗๓ วรรค๒(๑) กรณีเป็นคำคู่ความได้แก่คำร้องคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก,คัดค้านการตั้งผู้อนุบาล,ผู้พิทักษ์,คำร้องคัดค้านและแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน,คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง,ขอแก้ไขคำให้การ ไม่เป็นคำคู่ความ ได้แก่ร้องขออ้างพยานหลักฐานและบัญชีระบุพยาน,คำร้องขอขยายหรือย่นระยะเวลา เป็นต้น)
-วันสืบพยานคือวันเริ่มต้นสืบพยานกันจริงหากนัดแรกแล้วเลื่อนยังไม่ได้สืบก็ไม่เป็นวันสืบพยาน หากนัดแรกเดินเผชิญสืบที่พิพาทก็ถือว่าเป็นวันสืบพยานได้
-คำฟ้อง ๑.เริ่มต้นคดี -คำฟ้อง , คำร้องขอ , คำฟ้องอุทธรณ์ , คำฟ้องฎีกา
๒.หลังฟ้องคดี -คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง , ฟ้องแย้ง , คำร้องสอด , คำร้องขอให้
พิจารณาคดีใหม่
-การยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ตัวคำร้องที่ขออนุญาตยื่นคำให้การนั้น ไม่ถือเป็นคำให้การ จึงไม่เป็นคำคู่ความ
-ฎ.๙๐๒/๔๒ จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เพราะเห็นว่าจงใจขาดนัดยื่นคำให้การจึงยกคำร้อง ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำให้การตาม ม.๑๘ จึงเป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ม.๒๒๖(๑)
-ฎ.๑๕๘๗/๑๔ การสั่งคำร้องคำขอ การปรึกษาคดีกัน เป็นการพิจารณา ไม่จำเป็นต้องทำต่อหน้าคู่ความ แต่การนั่งพิจารณา โดยหลักต้องทำต่อหน้าคู่ความตาม ม.๓๕,๓๖ เว้นแต่เข้าข้อยกเว้น
-ฎ.๔๗๔/๒๓ โจทก์ฟ้องจำเลย แม้ศาลยังไม่เรียกจำเลยให้การแก้คดี ก็ถือว่ามีฐานะเป็นจำเลยแล้ว การที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้รับฟ้อง จำเลยมีฐานะเป็นจำเลยแล้ว จึงฎีกาได้
-วันสืบพยานเป็นวันแรกที่ทำการสืบพยานกันจริงๆ หากครั้งแรกที่ศาลนัดพิจารณาแล้วเลื่อนคดีไปวันที่ศาลให้เลื่อนก็ไม่ใช่วันสืบพยาน กรณีนัดแรกไปเดินเผชิญสืบที่พิพาทก็ถือว่าการเดินเผชิญสืบครั้งแรกนั้นเป็นวันสืบพยาน
-คำร้องทั่วไปไม่เป็นคำคู่ความ จะเป็นได้ต้องตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ ประเด็นข้อเท็จจริงหรือข้อ กม.ที่คู่ความหยิบยกขึ้นมาสนับสนุนคำฟ้องหรือคำให้การของตน ถ้าอีกฝ่ายต่อสู้จะกลายเป็นประเด็นข้อพิพาท วันชี้สองสถานจะเป็นวันที่กำหนดประเด็นแห่งคดี ขอเลื่อนคดี,คำร้องขอส่งประเด็นไปสืบ ไม่เป็นคำคู่ความ คำร้องคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก เป็นคำคู่ความเพราะเป็นคำร้องที่ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ จึงต้องตกอยู่ในบังคับ ม.๑๘

ลักษณะ ๒
ศาล
หมวด ๑
เขตอำนาจศาล
มาตรา ๒ ห้ามมิให้เสนอคำฟ้องต่อศาลใด เว้นแต่
(๑) เมื่อได้พิจารณาถึงสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลแล้ว ปรากฏว่า ศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และ
(๒) เมื่อได้พิจารณาถึงคำฟ้องแล้ว ปรากฏว่าคดีนั้นอยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้อง และตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขตศาลด้วย
-อธิบาย
-ศาลจะรับคำฟ้อง ต้องคำนึงถึง
๑.สภาพแห่งคำฟ้อง (ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือไม่)
๒.ชั้นของศาล
๓.อยู่ในอำนาจศาลที่จะรับฟ้อง (ข้อ ๑-๓ ตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม)
๔.อยู่ในเขตศาล ตาม ป.วิแพ่ง (ม.๔-๗),กฎหมายอื่น เช่น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ เป็นต้น

มาตรา ๓ เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง
(๑) ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักรให้ศาลแพ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ
(๒) ในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
(ก) ถ้าจำเลยเคยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่ใดในราชอาณาจักรภายในกำหนดสองปีก่อนวันที่มีการเสนอคำฟ้อง ให้ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลย
(ข) ถ้าจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในราชอาณาจักรไม่ว่าโดยตนเองหรือตัวแทน หรือโดยมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการนั้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนดสองปีก่อนนั้น เป็นภูมิลำเนาของจำเลย
-อธิบาย
-ใช้ ม.๓ ก็ต่อเมื่อใช้หลักอื่นไม่ได้ โดยคำบรรยายฟ้องต้องบรรยายให้เข้า ม.๓ นี้ด้วย (เป็นการปิดช่องว่างของกฎหมายว่าด้วยศาลที่จะยื่นคำฟ้อง)
-ตาม (๑) ไม่ว่าคู่ความจะเป็นคนไทยหรือไม่ หรือจะเป็นใครก็ได้ จะมีภูมิลำเนาที่ไหนก็ได้ หรือคดีจะมีทุนทรัพย์มากน้อยเท่าไหร่ก็ได้
-ฎ. ๔๘๙๖/๔๓ คำว่า มูลคดีเกิด หมายถึงเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิ อันก่อให้เกิดอำนาจฟ้อง

**มาตรา ๔ เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น
(๑) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่
(๒) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
-อธิบาย
-มาตราหลักในเรื่องเขตศาล คือม.๔ ซึ่งเป็นหลักทั่วไปของหนี้เหนือบุคคล
-ม.๔(๑) มีขอยกเว้นตาม ม.๔ ทวิ และ ๔ ตรี ส่วน ม.๔(๒) มีข้อยกเว้นตาม ม.๔ จัตวา(เรื่องการตั้งผู้จัดการมรดกให้เสนอต่อศาลในเขตที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายมีภูมิลำเนาแต่ถ้าเจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาในไทยก็ฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่เขตศาล,เบญจและ ฉ.ส่วน ม.๗ เป็นข้อยกเว้นของข้อยกเว้น
-ฎ.๗๗๘๘/๔๖(ป) กรณีเรื่องบัตรเครดิต ลูกค้า(จำเลย)รับตัวบัตรเครดิตที่ จว.หนองคาย ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปก่อหนี้ได้ มูลคดีเกิดที่ จว.หนองคาย ไม่ใช่สำนักงานใหญ่ของธนาคารผู้ออกบัตรซึ่งอนุมัติสินชื่อ(สรุปมูลคดีเกิดที่รับบัตร) แต่สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ฎีกาวางหลักไว้ตาม
-ฎ.๖๑๙,๖๒๑/๔๘ ว่าสำนักงานใหญ่ได้อนุมัติและปล่อยสัญญาณ จึงจะสามารถโทรติดต่อถึงกันได้ มูลคดีเกิดที่สำนักงานใหญ่ (สรุปหลักมีการเสนอ-สนอง นิติกรรมเกิดเมื่อไหร่มูลคดีย่อมเกิดเมื่อนั้นและที่นั่น)
-ฎ.๓๘๑๘/๓๘ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าตุ๊กตาและยืนยันในตอนท้ายคำฟ้องว่า คดีนี้มีมูลหนี้แห่งการซื้อขายตุ๊กตาเกิดที่ ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี แสดงว่าโจทก์ยืนยันว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ จ.ราชบุรี จึงต้องฟังว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลแขวงราชบุรี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ที่ศาลแขวงราชบุรี ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔ (๑)
-ฎ.๕๔๗๗/๒๕๕๐ ป.วิ.พ. มาตรา ๔(๑) บัญญัติว่า คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาญาจักรหรือไม่ ตามบทบัญญัติดังกล่าว คำว่า มูลคดี หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทระบุชื่อ อ. เป็นผู้รับเงินเพื่อคืนเงินที่ อ. ได้ร่วมลงทุนซื้อที่ดินกับจำเลยจำนวน ๑๔๐,๐๐๐ บาท ให้แก่ อ. เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดวันสั่งจ่าย อ. นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้จะถือว่า อ. เป็นผู้เสียหายในขณะที่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า อ. ได้โอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยสลักหลังเช็คพิพาทและส่งมอบแก่โจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงและมีสิทธิเช่นเดียวกับ อ. ในอันที่จะบังคับเอาแก่จำเลยซึ่งมีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตนตาม ป.พ.พ. มาตรา ๙๖๗ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๙๘๙ วรรคแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้ชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ได้ ความรับผิดของจำเลยเกิดขึ้นเมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น สถานที่ที่เช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงินย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดด้วย เมื่อธนาคารตามเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ย่อมถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

**มาตรา ๔ ทวิ คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
อธิบาย
-มาตรา ๔ ทวิ นี้เป็นหนี้เหนืออสังหาริมทรัพย์
-ตัวอย่างคำถาม. เอ ทำบันทึกข้อตกลงขายลดตั๋วเงินและสัญญาวงเงินสินเชื่อกับธนาคารที่ตั้งอยู่ที่เขตบางรัก(ที่ทำสัญญา ซึ่งอยู่ในเขตศาลแพ่ง) มี บี., ซี.ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม นายซี.นำที่ดินที่อยู่ จว.ระยองมาตีประกันหนี้ เอ.บี.และซี.มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่เขตศาลแพ่งธนบุรี ธนาคารจะฟ้องตามสัญญาค้ำประกัน
และสัญญาจำนองได้ที่ศาลใดบ้าง?
แนวคำตอบ. -ม.๔(๑),๔ ทวิ -สามารถฟ้องได้ ที่ศาลแพ่ง อันเป็นศาลที่มูลคดีเกิด
-ฟ้องยังศาลแพ่งธนบุรี ท้องที่ซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนา
-ฟ้องยังศาลจังหวัดระยอง อันเป็นศาลที่อสังหาริมทรัพย์ที่จำนองตั้งอยู่
-คำว่าคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ คือคำฟ้องที่ขอให้บังคับเอากับตัวอสังหาริมทรัพย์นั้น ความเป็นอยู่
ของที่ดิน ฟ้องขับไล่ ฟ้องบังคับจำนอง เป็นต้น เช่น ฎ.๓๕๓๐/๔๗ ฟ้องให้ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย และบังคับจำนองที่ดิน ถือเป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
-ฎ.๑๖๖๕/๔๘ คำร้องครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. ใช้ ม.๔(๒) ไม่ใช่ ๔ ทวิ
-ฎ.๖๘๓/๓๔ ฟ้องเรียกมัดจำและเรียกค่าเสียหายจากสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นคำฟ้องที่ไม่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
-คำฟ้องที่ไม่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์กรณีอื่นๆเช่น ฟ้องเรียกค่าขายที่ดิน ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินคืน เป็นต้น
-คำว่าสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ เช่นค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์
-ตัวอย่างข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาเมื่อ ๒ พ.ย.๒๕๕๑ ข้อ ๑ (มาตราหลัก ม.๔ ทวิ มาตรารอง ม.๔,๒๔)
คำถาม โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรี แต่เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินสวยยางแปลงหนึ่งตั้งอยู่ที่
จังหวัดจันทบุรี จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดระยอง โจทก์มอบหมายให้จำเลยหาคนมากรีดยางกับทำหน้าที่
ดูแลสวนยางและเสียภาษีบำรุงท้องที่แทนโจทก์ตลอดมา แต่แล้วจำเลยกลับยักยอกที่ดินของโจทก์โดยนำที่ดิน
สวนยางไปทำสัญญาขายให้แก่นายโชคที่จังหวัดตราด กับส่งมอบใบเสร็จรับเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ทั้งหมดให้แก่นายโชค เป็นเหตุให้นายโชคนำไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินสวนยางเป็นของนายโชค โจทก์จึง
ฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลจังหวัดตราด และศาลได้ลงทาจำเลยฐานยักยอกให้จำคุก ๑ ปี จำเลยอุทธรณ์ของให้
ยกฟ้อง ขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และจำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดตราดอยู่ที่เรือนจำจังหวัดตราด โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดตราด กล่าวหา
ว่าจำเลยกระทำละเมิดด้วยการยักยอกเอาที่ดินสวนยางของโจทก์ไปขายแก่นายโชคที่บ้านของนายโชคซึ่งตั้งอยู่
ในจังหวัดตราด เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายสูญเสียสวนยางไป ขอให้จำเลยชดใช้ราคาที่ดินพร้อมดอกเบี้ยแก่
โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าสวนยางเป็นที่ดินสาธารณะ มิใช่เป็นของโจทก์และจำเลยมิได้กระทำละเมิด อีกทั้งคดีนี้เป็นคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดตราดขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ศาลกลับมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดตราด โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แล้วพิพากษายกฟ้อง
ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดของศาลจังหวัดตราดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ธงคำตอบ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องสุญเสียที่ดินสวนยางของโจทก์ไป
จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าสวนยางเป็นที่ดินสาธารณะ มิใช่เป็นของโจทก์และจำเลยมิได้กระทำละเมิด อีกทั้งคดีนี้เป็นคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดตราดขอให้ยกฟ้อง แม้จำเลยมิได้กล่าวแก้ข้อเป็นพิพาทว่าด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินสวนยางเป็นของจำเลย และตามคำฟ้องโจทก์ก็มิได้มีคำขอบังคับแก่ที่ดินที่พิพาทด้วยก็ตาม แก่การที่จะพิจารณาว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่นั้นก็ต้องพิจารณาด้วยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ อันเป็นการพิจารณาถึงความเป็นอยู่แห่งอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งโจทก์ต้องเสนอคำฟ้องต่อศาลจังหวัดจันทบุรีที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล หรือต่อ
ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๔ ทวิ (เทียบ ฎ.ป.ที่
๑๗๘๓/๒๕๒๗)
แม้ขณะยื่นฟ้องจำเลยจะถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำจังหวัดตราดก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเรือนจำจังหวัดตราดเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๗ เพราะคำพิพากษาของ(ศาลจังหวัดตราดในคดีอาญายังไม่ถึงที่สุด กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดระยอง แม้หากโจทก์ไม่ฟ้องต่อศาลจังหวัดจันทบุรีอันเป็นศาลที่ดินสวนยางอยู่ในเขตศาล โจทก์ก็ต้องฟ้องต่อศาลจังหวัดระยองอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาล การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องที่ศาลจังหวัดตราด จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔ ทวิ และศาลจังหวัดตราดไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ (เทียบ ฎ.๘๓๓๖/๒๕๓๘)
จำเลยยื่นคำร้องให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นโดยอ้างเหตุหนึ่ง แต่ศาลเห็นว่ากรณีเข้าเหตุอื่นที่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดได้ กรณีย่อมเข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๔ ที่เมื่อศาล
เห็นสมควรศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในเหตุอื่นนั้นได้ ดังนั้นแม้จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่เนื่องจากตามคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องฟ้องเคลือบคลุมที่จะวินิจฉัย เมื่อศาลเห็นสมควรศาลก็มีอำนาจหยิบยกประเด็นตามคำให้การต่อสู้ของจำเลยว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดตราดขึ้นวินิจฉัยเพื่อยกฟ้องโจทก์ได้ (เทียบ ฎ.๑๑๐๒/๒๕๐๖)
คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลจังหวัดตราดที่วินิจฉัยเบื้องต้นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดตราด โดยมิได้วินิจฉัยในปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

มาตรา ๔ ตรี คำฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ทวิ ซึ่งจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลแพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้

*มาตรา ๔ จัตวา คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย
ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล
-อธิบาย
-ข้อสังเกต ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาในเขตขณะถึงแก่ความตาย ไม่ใช่ศาลที่เจ้ามรดกตายในเขตศาล แต่อาจเป็นศาลเดียวกันก็ได้

มาตรา ๔ เบญจ คำร้องขอเพิกถอนมติของที่ประชุมหรือที่ประชุมใหญ่ของนิติบุคคล คำร้องขอเลิกนิติบุคคล คำร้องขอตั้งหรือถอนผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคล หรือคำร้องขออื่นใดเกี่ยวกับนิติบุคคล ให้เสนอต่อศาลที่นิติบุคคลนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในเขตศาล
-อธิบาย
-แต่ถ้าฟ้องนิติบุคคลเป็นคดีมีข้อพิพาท ฟ้องต่อศาลที่สาขานิติบุคคลตั้งอยู่ในเขตศาลได้เพราะสาขานิติบุคคลก็เป็นภูมิลำเนาเช่นกัน

มาตรา ๔ ฉ คำร้องขอเกี่ยวกับทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี คำร้องขอที่หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องขอนั้นจะเป็นผลให้ต้องจัดการหรือเลิกจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี ซึ่งมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักรและผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในเขตศาล
-อธิบาย
-ตัวอย่างตาม ม.นี้มีอยู่จำนวน ๗ เรื่อง คือร้องขอจัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ในราชอาณาจักร ตาม ป.พ.พ.ม.๔๘ร้องขอให้เพิกถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ในราชอาณาจักร ตาม ป.พ.พ.ม.๔๖ ร้องขอตั้งผู้อนุบาล ตาม ป.พ.พ.ม.๒๘ ร้องขอจัดการสินสมรส ตาม ป.พ.พ.ม.๑๔๘๔-๑๔๘๕ ร้องขอให้สั่งอำนาจปกครองอยู่ที่บิดาหรือมารดา ตาม ป.พ.พ.ม.๑๕๖๖ ร้องขอตั้งผู้ปกครองทรัพย์ตาม ป.พ.พ.ม.๑๕๘๕ และร้องขออำนาจปกครองตาม ป.พ.พ.ม.๑๕๘๒

*มาตรา ๕ คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้นไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้
-อธิบาย
-คดีที่มีหลายข้อหาจำเลยคนเดียว หรือแต่ละข้อหามูลคดีต่างกันหลายท้องที่(หลายแห่ง) หรือจำเลยหลายคนอยู่ต่างท้องที่กันแต่เป็นเรื่องเดียวกัน เช่นผู้กู้มีภูมิลำเนาแห่งหนึ่ง ผู้ค้ำประกันมีภูมิลำเนาอีกแห่ง มูลคดี(ที่ทำสัญญากู้และค้ำประกัน)อีกแห่งหนึ่ง และมีการเอาอสังหาริมทรัพย์จำนองค้ำประกันเงินกู้จำนวนดังกล่าวโดยอสังหาริมทรัพย์อยู่อีกแห่งหนึ่ง เช่นนี้ ดู ม.๕ ให้ดี เป็นมาตราที่แก้ปัญหา
-คำว่ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน
-ฟ้องลูกหนี้ร่วม (ความจริงเจ้าหนี้สามารถฟ้องลูกหนี้คนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงได้)
-ฟ้องลูกหนี้ชั้นต้นกับผู้ค้ำประกัน
-ฟ้องนายจ้างกับลูกจ้างให้รับผิดร่วมกัน
-ฟ้องตัวการและตัวแทน
-ฟ้องผู้ครอบครองรถและนายจ้างที่รถทำละเมิดและผู้รับประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว ถือว่ามูล
ความแห่งคดีแบ่งแยกจากกันมิได้
-ดูตัวอย่างข้อสอบเนฯข้อ ๑ สมัย ๖๒ (จากคำอธิบายมาตรา ๕๙)

มาตรา ๖ ก่อนยื่นคำให้การ จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลที่โจทก์ได้ยื่นคำฟ้องไว้ขอให้โอนคดีไปยังศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ คำร้องนั้นจำเลยต้องแสดงเหตุที่ยกขึ้นอ้างอิงว่าการพิจารณาคดีต่อไปในศาลนั้นจะไม่สะดวก หรือจำเลยอาจไม่ได้รับความยุติธรรมเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องนั้นก็ได้
ห้ามมิให้ศาลออกคำสั่งอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่ศาลที่จะรับโอนคดีไปนั้นได้ยินยอมเสียก่อน ถ้าศาลที่จะรับโอนคดีไม่ยินยอม ก็ให้ศาลที่จะโอนคดีนั้นส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาด คำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
-อธิบาย
-มาตรานี้เป็นเรื่องการขอโอนคดีขอจำเลย กฎหมายกำหนดให้ยื่นคำร้องก่อนยื่นคำให้การของจำเลย มีคำพิพากษาฎีกาอธิบายว่าสามารถยื่นได้อย่างช้าสุดพร้อมการยื่นคำให้การ
-คำว่าอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ หมายถึงประธานศาลอุทธรณ์เท่านั้น ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมแก้ไขใหม่ แต่ ป.วิแพ่ง ยังไม่แก้ไข เช่นเดียวกับ ม.๘

มาตรา ๗ บทบัญญัติในมาตรา ๔ มาตรา ๔ ทวิ มาตรา ๔ ตรี มาตรา ๔ จัตวามาตรา ๔ เบญจ มาตรา ๔ ฉ มาตรา ๕ และมาตรา ๖ ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติดังต่อไปนี้
(๑) คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น
(๒) คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้น ให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา ๓๐๒
(๓) คำร้องตามมาตรา ๑๐๑ ถ้าได้เสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดแล้วให้เสนอต่อศาลนั้น ในกรณีที่ยังไม่ได้เสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใด ถ้าพยานหลักฐานซึ่งจะเรียกมาสืบหรือบุคคลหรือทรัพย์หรือสถานที่ที่จะต้องตรวจอยู่ในเขตศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น
(๔) คำร้องที่เสนอให้ศาลถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตที่ศาลได้ให้ไว้ก็ดี คำร้องที่เสนอให้ศาลถอดถอนบุคคลใดจากฐานะที่ศาลได้แต่งตั้งไว้ก็ดี คำร้องที่เสนอให้ศาลมีคำสั่งใดที่เกี่ยวกับการถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตหรือที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งเช่นว่านั้นก็ดี คำร้องขอหรือคำร้องอื่นใดที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งไปแล้วก็ดี ให้เสนอต่อศาลในคดีที่ได้มีคำสั่งการอนุญาต การแต่งตั้ง หรือคำพิพากษานั้น
-อธิบาย
-ม.๗ เป็นมาตราที่ใหญ่ที่สุดเรื่องเขตศาล และเป็นเรื่องเขตศาลเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องเขตอำนาจศาล
-ตาม ม.๗(๑) ได้แก่ร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง,ร้องสอด,ฟ้องแย้ง ซึ่งต้องดูเรื่องอำนาจศาลที่จะรับฟ้องด้วยว่ามีอำนาจหรือไม่
-ตาม ม.๗(๒) ได้แก่ คำร้องขัดทรัพย์ ม.๒๘๘ คำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ม.๒๘๙ คำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ ม.๒๙๐ คำร้องขอให้งดบังคับคดี ม.๒๙๒,๒๙๓ ขอให้บกเลิกแก้ไขคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดี ม.๒๙๖ และคำร้องขอบังคับขับไล่ตาม ม.๒๙๖ ทวิ
-ตาม ม.๗(๓) เป็นเรื่องการขอสืบพยานไว้ก่อน
-ตาม ม.๗(๔) ได้แก่คำร้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดก ถอดถอนผู้อนุบาล ขออนุญาตทำพินัยกรรมแทนผู้เยาว์
-ฎ.๓๘๘๘/๔๓ จำเลยยืนคำร้องว่าคำพิพากษาไม่ชัดเจน โดยยื่นตาม ม.๗(๔) ตอนท้าย ศาลชั้นต้นสั่งว่าชัดเจนแล้ว ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ยืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาว่าตาม ม.๗(๔) ตอนท้ายศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่ง จะต้องส่งไปให้ศาลฎีกาผู้ออกคำพิพากษาเรื่องที่ผู้ร้องร้อง ศาลฎีกาสั่งให้ยกคำร้อง
-ฎ.๙๓๖๒/๕๑ การยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด (คำร้องขัดทรัพย์) ต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่เป็นศาลที่ได้ออกหมายบังคับคดีคือ ศาลที่ได้พิจารณาและตัดสินคดีในชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๗ (๒) ประกอบมาตรา ๓๐๒ จะยื่นต่อศาลที่ดำเนินการบังคับคดีแทนศาลที่ออกหมายบังคับคดีไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าศาลที่ออกหมายบังคับคดีคือศาลแพ่งไม่ใช่ศาลจังหวัดพิษณุโลก การที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทต่อศาลจังหวัดพิษณุโลกจึงเป็นการเสนอคำร้องขอต่อศาลที่ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
-ตัวอย่างคำถาม นายเอกเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของนายโทในคดีแพ่งของศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพิพากษาให้นายโทชำระหนี้จำนวน ๘๐๐,๐๐๐ บาทแก่นายเอก ต่อมานายเอกและนายโทได้ทำบันทึกข้อตกลงกันว่าให้นายโทชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวแก่นายเอกจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือนายเอกไม่ติดใจดำเนินการบังคับคดีแก่นายโทอีกต่อไป บันทึกข้อตกลงดังกล่าวทำขึ้น ณ ภูมิลำเนาของนายเอกที่จังหวัดเชียงใหม่ นายโทได้ชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้แก่นายเอกครบถ้วนแล้ว แต่นายเอกได้ดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๑๒๒ ของนายโท ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง นายโทจึงยื่นฟ้องนายเอกเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่โดยกล่าวมาในคำฟ้องว่านายเอกผิดสัญญาเป็นเหตุให้นายโทได้รับความเสียหาย และมีคำขอบังคับ ขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๑๒๒ ของนายโท หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้วินิจฉัยว่า ศาลจังหวัดเชียงใหม่จะรับคำฟ้องไว้พิจารณาได้หรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯข้อ ๑ สมัย ๖๐) คำฟ้องของนายโทกล่าวอ้างว่า นายเอกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของนายโทในคดีของศาลจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากนายโทกับนายเอกตกลงกันว่า ให้นายโทชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพียง ๕๐๐,๐๐๐ บาท นอกนั้นไม่ติดใจดำเนินการบังคับคดีแก่นายโท นายโทชำระหนี้ตามข้อตกลงครบถ้วนแล้ว นายเอกไม่มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีแก่นายโท ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเสีย แม้นายโทจะกล่าวมาในคำฟ้องว่า นายเอกผิดสัญญาเป็นเหตุให้นายโทเสียหายอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของนายโทมาด้วยก็ตาม แต่นายโทมิได้มีคำขอบังคับให้นายเอกชดใช้ค่าเสียหายจากการที่นายเอกผิดสัญญา โดยเพียงแต่ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในคดีเดิมเท่านั้น คำฟ้องของนายโทจึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปโดยครบถ้วนและถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีเช่นว่านี้ นายโทชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลในคดีเดิม มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๗ (๒) และมาตรา ๓๐๒ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๖๑๒/๔๙) ศาลจังหวัดเชียงใหม่ชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา
-สรุปเรื่องเขตศาล ๒,๓,๔,๕,๖,๗
๑. มาตรา ๔,๔ทวิ,ตรี,จัตวา,เบญจ,๕,๖ อยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๗ หมายความว่ามาตรานั้นๆจะว่าด้วยเรื่องเขตศาลอย่างไรก็ตาม หากเป็นสองเรื่องตาม ม.๗ ก็ให้ฟ้องยังศาลที่มาตรา ๗ ระบุ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยอยู่ที่ใดทรัพย์ตั้งอยู่ที่ใดมูลคดีเกิดที่ใด คือคำร้องหรือคำฟ้องที่เสนอภายหลังซึ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีที่พิจารณาอยู่ในศาลใดก็เสนอที่ศาลนั้น และกรณีคำฟ้องหรือคำร้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องนั้นต้องฟังศาลวินิจฉัยก่อนที่จะบังคับคดีก็ให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจบังคับคดีตาม ม.๓๐๒(คือศาลพิจารณาและตัดสินชี้ขาดคดีในศาลชั้นต้น)
๒. มูลคดีเกิดหลายท้องที่ ฟ้องที่ใดก็ได้ที่มูลคดีเกิด
๓. ถ้าเลือกฟ้องยังศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ตาม ม.๔ ทวิ มาตรา ๕ ก็สามารถแก้ปัญหาให้ได้
๔. บางคดีมีหลายข้อหาแต่จำเลยคนเดียว

มาตรา ๘ ถ้าคดีสองเรื่องซึ่งมีประเด็นอย่างเดียวกัน หรือเกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกันอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจสองศาลต่างกัน และศาลทั้งสองนั้นได้ยกคำร้องทั้งหลายที่ได้ยื่นต่อศาลขอให้คดีทั้งสองได้พิจารณาพิพากษารวมในศาลเดียวกันนั้นเสีย ตราบใดที่ศาลใดศาลหนึ่งยังมิได้พิพากษาคดีนั้น ๆ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เพื่อขอให้มีคำสั่งให้ศาลใดศาลหนึ่งจำหน่ายคดีซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณานั้นออกเสียจากสารบบความ หรือให้โอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งก็ได้แล้วแต่กรณี
คำสั่งใด ๆ ของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด
-อธิบาย
-มาตรานี้เป็นเรื่องการรวมคดี ให้ดู ม.๒๘ ประกอบด้วย
-ข้อแตกต่างระหว่าง ม.๘ และ๒๘
๑.ม.๘ คือประเด็นของคดีเป็นสำคัญ ม.๒๘ ถือเอาคู่ความเป็นสำคัญ
๒.ม.๘ ศาลที่จะขอรับโอนไม่จำต้องมีเขตอำนาจเหนือคดีที่จะรับโอนไปรวม แต่ ม.๒๘ ต้องมีเขตอำนาจเหนือคดีที่จะนำไปรวม

มาตรา ๙ ในกรณีดังกล่าวในมาตราก่อนนั้น ถ้าศาลใดศาลหนึ่งได้พิพากษาคดีแล้ว และได้มีการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษานั้น คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ ขอให้มีคำสั่งให้งดการพิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์นั้นไว้ก่อนจนกว่าอีกศาลหนึ่งจะได้พิพากษาคดีอีกเรื่องหนึ่งเสร็จแล้วก็ได้ และถ้าได้มีการอุทธรณ์คดีเรื่องหลังนี้ก็ให้ศาลอุทธรณ์รวมวินิจฉัยคดีทั้งสองนั้นโดยคำพิพากษาเดียวกัน ถ้าคดีเรื่องหลังนั้นไม่มีอุทธรณ์ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๔๖

*มาตรา ๑๐ ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย คู่ความฝ่ายที่เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้ และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
-อธิบาย
-คำว่าเหตุสุดวิสัย มีความหมายกว้างกว่า ป.พ.พ.มาตรา ๘

หมวด ๒
การคัดค้านผู้พิพากษา

มาตรา ๑๑ เมื่อคดีถึงศาล ผู้พิพากษาคนหนึ่งคนใดในศาลนั้นอาจถูกคัดค้านได้ในเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าผู้พิพากษานั้นมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องอยู่ในคดีนั้น
(๒) ถ้าเป็นญาติเกี่ยวข้องกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือว่าเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น
(๓) ถ้าเป็นผู้ที่ได้ถูกอ้างเป็นพยานโดยที่ได้รู้ได้เห็นเหตุการณ์ หรือโดยเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความรู้เป็นพิเศษเกี่ยวข้องกับคดีนั้น
(๔) ถ้าได้เป็นหรือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนหรือได้เป็นทนายความของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาแล้ว
(๕) ถ้าได้เป็นผู้พิพากษานั่งพิจารณาคดีเดียวกันนั้นในศาลอื่นมาแล้ว หรือเป็นอนุญาโตตุลาการมาแล้ว
(๖) ถ้ามีคดีอีกเรื่องหนึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาซึ่งผู้พิพากษานั้นเอง หรือภริยา หรือญาติทางสืบสายโลหิตตรงขึ้นไป หรือตรงลงมาของผู้พิพากษานั้นฝ่ายหนึ่ง พิพาทกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือภริยา หรือญาติทางสืบสายโลหิตตรงขึ้นไปหรือตรงลงมาของคู่ความฝ่ายนั้นอีกฝ่ายหนึ่ง
(๗) ถ้าผู้พิพากษานั้นเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

มาตรา ๑๒ เมื่อศาลใดมีผู้พิพากษาแต่เพียงคนเดียว ผู้พิพากษานั้นอาจถูกคัดค้านด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในมาตราก่อนนั้นได้ หรือด้วยเหตุประการอื่นอันมีสภาพร้ายแรงซึ่งอาจทำให้การพิจารณาหรือพิพากษาคดีเสียความยุติธรรมไป

มาตรา ๑๓ ถ้ามีเหตุที่จะคัดค้านได้อย่างใดอย่างหนึ่งดังที่กล่าวไว้ในสองมาตราก่อนเกิดขึ้นแก่ผู้พิพากษาคนใดที่นั่งในศาล
(๑) ผู้พิพากษานั้นเองจะยื่นคำบอกกล่าวต่อศาลแสดงเหตุที่ตนอาจถูกคัดค้าน แล้วขอถอนตัวออกจากการนั่งพิจารณาคดีนั้นก็ได้
(๒) คู่ความที่เกี่ยวข้องอาจยกข้อคัดค้านขึ้นอ้างโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลแต่ถ้าตนได้ทราบเหตุที่พึงคัดค้านได้ก่อนวันสืบพยาน ก็ให้ยื่นคำร้องคัดค้านเสียก่อนวันสืบพยานนั้นหรือถ้าทราบเหตุที่พึงคัดค้านได้ในระหว่างพิจารณา ก็ให้ยื่นคำร้องคัดค้านไม่ช้ากว่าวันนัดสืบพยานครั้งต่อไป แต่ต้องก่อนเริ่มสืบพยานเช่นว่านั้น
เมื่อได้ยื่นคำร้องดังกล่าวแล้ว ให้ศาลงดกระบวนพิจารณาทั้งปวงไว้ก่อนจนกว่าจะได้มีคำชี้ขาดในเรื่องที่คัดค้านนั้นแล้ว แต่ความข้อนี้มิให้ใช้แก่กระบวนพิจารณาซึ่งจะต้องดำเนินโดยมิชักช้า อนึ่ง กระบวนพิจารณาทั้งหลายที่ได้ดำเนินไปก่อนได้ยื่นคำร้องคัดค้านก็ดี และกระบวนพิจารณาทั้งหลายในคดีที่จะต้องดำเนินโดยมิชักช้า แม้ถึงว่าจะได้ดำเนินไปภายหลังที่ได้ยื่นคำร้องคัดค้านก็ดี เหล่านี้ย่อมสมบูรณ์ไม่เสียไป เพราะเหตุที่ศาลมีคำสั่งยอมฟังคำคัดค้านเว้นแต่ศาลจะได้กำหนดไว้ในคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาคนเดียว และผู้พิพากษาคนนั้นถูกคัดค้าน หรือถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาทั้งหมดถูกคัดค้าน ให้ศาลซึ่งมีอำนาจสูงกว่าศาลนั้นตามลำดับเป็นผู้ชี้ขาดคำคัดค้าน
ถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาที่มิได้ถูกคัดค้านรวมทั้งข้าหลวงยุติธรรม ถ้าได้นั่งพิจารณาด้วยมีจำนวนครบที่จะเป็นองค์คณะและมีเสียงข้างมากตามที่กฎหมายต้องการ ให้ศาลเช่นว่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดคำคัดค้าน แต่ในกรณีที่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวจะชี้ขาดคำคัดค้าน ห้ามมิให้ผู้พิพากษาคนนั้นมีคำสั่งให้ยกคำคัดค้าน โดยผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งหรือข้าหลวงยุติธรรมมิได้เห็นพ้องด้วย
ถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาที่มิได้ถูกคัดค้าน แม้จะนับรวมข้าหลวงยุติธรรมเข้าด้วย ยังมีจำนวนไม่ครบที่จะเป็นองค์คณะและมีเสียงข้างมากตามที่กฎหมายต้องการ หรือถ้าผู้พิพากษาคนเดียวไม่สามารถมีคำสั่งให้ยกคำคัดค้านเสียด้วยความเห็นพ้องของผู้พิพากษาอีกคนหนึ่ง หรือข้าหลวงยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อน ให้ศาลซึ่งมีอำนาจสูงกว่าศาลนั้นตามลำดับเป็นผู้ชี้ขาดคำคัดค้าน

มาตรา ๑๔ เมื่อได้มีการร้องคัดค้านขึ้น และผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้านไม่ยอมถอนตัวออกจากการนั่งพิจารณาคดี ให้ศาลฟังคำแถลงของคำคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องและของผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้าน กับทำการสืบพยานหลักฐานที่บุคคลเหล่านั้นได้นำมาและพยานหลักฐานอื่นตามที่เห็นสมควร แล้วออกคำสั่งยอมรับหรือยกเสียซึ่งคำคัดค้านนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด
เมื่อศาลที่ผู้พิพากษาแห่งศาลนั้นเองถูกคัดค้าน จะต้องวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านห้ามมิให้ผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้านนั้นนั่งหรือออกเสียงกับผู้พิพากษาอื่น ๆ ในการพิจารณาและชี้ขาดคำคัดค้านนั้น
ถ้าผู้พิพากษาคนใดได้ขอถอนตัวออกจากการนั่งพิจารณาคดีก็ดี หรือศาลได้ยอมรับคำคัดค้านผู้พิพากษาคนใดก็ดี ให้ผู้พิพากษาคนอื่นทำการแทนตามบทบัญญัติในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

หมวด ๓
อำนาจและหน้าที่ของศาล
มาตรา ๑๕ ห้ามมิให้ศาลใช้อำนาจนอกเขตศาล เว้นแต่
(๑) ถ้าบุคคลผู้ที่จะถูกซักถามหรือถูกตรวจ หรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของทรัพย์หรือสถานที่ซึ่งจะถูกตรวจมิได้ยกเรื่องเขตศาลขึ้นคัดค้าน ศาลจะทำการซักถามหรือตรวจดังว่านั้นนอกเขตศาลก็ได้
(๒) ศาลจะออกหมายเรียกคู่ความหรือบุคคลนอกเขตศาลก็ได้ ส่วนการที่จะนำบทบัญญัติมาตรา ๓๑, ๓๓, ๑๐๘, ๑๐๙ และ ๑๑๑ แห่งประมวลกฎหมายนี้และมาตรา ๑๔๗ แห่งกฎหมายลักษณะอาญามาใช้บังคับได้นั้น ต้องให้ศาลซึ่งมีอำนาจในเขตศาลนั้นสลักหลังหมายเสียก่อน
(๓) หมายบังคับคดีและหมายของศาลที่ออกให้จับและกักขังบุคคลผู้ใดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ อาจบังคับได้ไม่ว่าในที่ใด ๆ
ในกรณีที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดี ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีทราบในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชักช้า และให้ศาลนั้นดำเนินการไปเสมือนหนึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทนตามมาตรา ๓๐๒วรรคสาม

มาตรา ๑๖ ถ้าจะต้องทำการซักถาม หรือตรวจ หรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ
(๑) โดยศาลชั้นต้นศาลใด นอกเขตศาลนั้น หรือ
(๒) โดยศาลแพ่งหรือศาลอาญา นอกเขตจังหวัดพระนครและธนบุรีหรือโดยศาลอุทธรณ์หรือฎีกา
ให้ศาลที่กล่าวแล้วมีอำนาจที่จะแต่งตั้งศาลอื่นที่เป็นศาลชั้นต้นให้ทำการซักถามหรือตรวจภายในบังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๐๒ หรือดำเนินกระบวนพิจารณาแทนได้
-อธิบาย
-ฎ.๖๗๖๙/๓๙ คำร้องขอให้งดบังคับคดี เป็นคำร้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี (ดู ม.๗ (๒)) ศาลที่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องคือศาลที่ตัดสินชี้ขาดคดีในศาลชั้นต้นตาม ม.๓๐๒ ศาลจังหวัดตราดซึ่งได้รับมอบหมายจากศาลแพ่งให้บังคับคดี ยึดทรัพย์แทน ไม่มีอำนาจสั่งงดการบังคับคดี

มาตรา ๑๗ คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ต่อศาลนั้น ให้ศาลดำเนินการไปตามลำดับเลขหมายสำนวนใน
สารบบความ เว้นแต่ศาลจะกำหนดเป็นอย่างอื่นเมื่อมีเหตุผลพิเศษ

**มาตรา ๑๘ ให้ศาลมีอำนาจที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้เพื่อยื่นต่อศาล หรือส่งให้แก่คู่ความ หรือบุคคลใด ๆ
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้ยื่นไว้ดังกล่าวแล้วนั้น อ่านไม่ออกหรืออ่านไม่เข้าใจหรือเขียนฟุ่มเฟือยเกินไป หรือไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่าง ๆ ตามที่กฎหมายต้องการ หรือมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลจะมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปให้ทำมาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติม หรือชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วน ภายในระยะเวลาและกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตลอดจนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ถ้ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้น
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้นำมายื่นดังกล่าวข้างต้น มิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับไว้ นอกจากที่กล่าวมาในวรรคก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเห็นว่าสิทธิของคู่ความหรือบุคคลซึ่งยื่นคำคู่ความนั้นได้ถูกจำกัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาล ก็ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
ถ้าไม่มีข้อขัดข้องดังกล่าวแล้ว ก็ให้ศาลจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความนั้นไว้บนคำคู่ความนั้นเองหรือในที่อื่น
คำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๒๗, ๒๒๘ และ ๒๔๗
-อธิบาย
-ม.๑๘ นำไปใช้กับคดีอาญาด้วย
-คำสั่งของศาลตาม ม.๑๘ คือ ๑)รับคำฟ้อง ๒)ไม่รับหรือคืนเพื่อไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ๓)คืนให้ไปทำมาใหม่ หรือสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้อง
-คำว่าค่าธรรมเนียมศาลตาม ม.๑๘ หมายถึงค่าขึ้นศาลตาม ม.๑๕๐ ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมใช้แทนตาม ม.๒๒๙
-ถ้าศาลเผลอผ่าน ม.๑๘ วรรค ๒ ไปถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเช่นฟ้องไม่ลงชื่อ
-กรณีศาลยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องถือว่าศาลได้พิจารณาเนื้อหาของคดีแล้วอุทธรณ์ได้ตามหลักทั่วไปใน ม.๒๒๓,๒๒๙ แต่การไม่รับหรือคืนคำคู่ความตาม ม.๑๘ วรรค ๓ ไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ได้ตาม ม.๒๒๘
-ตัวอย่างคำถาม น.เป็นผู้พิทักษ์ของ ด.(คนเสมือนไร้ความสามารถ)น.ไปฟ้องคดีแทน ด.และยังได้แต่งทนายความให้ว่าความในคดีด้วย ทนายที่แต่งตั้งได้เซ็นชื่อในคำฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมจาก ด.ทนายความเอาคำฟ้องไปยื่น ศาลชั้นต้นได้รับฟ้อง ส่งสำเนาฟ้องให้จำเลย จนจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องตาม ม.๑๘ โดยแก้ไขว่าคนเสมือนไร้ความสามารถได้อนุญาตให้ฟ้องคดีแทนได้ ศาลก็อนุญาตเนื่องจากยังไม่ถึงวันนัดสืบพยาน คำฟ้องนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
-คำตอบ เวลาคิดต้องคิดสองประเด็นคือ
๑.ศาลสั่งแก้ไขข้อบกพร่องตาม ม.๑๘ ไม่ได้เพราะล่วงเลยเวลาไปแล้ว
๒.แต่เป็นเรื่องกระบวนพิจารณาทั่วไปในการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง ทั้งจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้ง เมื่อศาล
อนุญาตคำฟ้องชอบด้วยกฎหมาย
-ฎ.๖๑๐๗/๓๘ การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจจัดการแทนคนเสมือนไร้ความสามารถตาม ป.พ.พ.ม.๓๔ มีผลให้การไม่สมบูรณ์กลับสมบูรณ์ขึ้นมาแต่เริ่มแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
-ฎ.๙๒๕/๐๓ คนมอบอำนาจให้ฟ้องไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์กัน เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ให้สัตยาบรรณก็ไม่ได้
-ฎ.๔๓๒/๔๒ คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป เท่ากับเป็นการอนุญาตให้แก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ถูกต้องนั้นแล้ว (ดู ม.๑๘ ประกอบ ม.๒๓๒,๒๓๔,๒๓๖)
-ม.๑๘ วรรค ๓ คำว่ามิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับ นอกเหนือจากวรรค ๒ เช่นการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ม.๕๕ คำฟ้องเคลือบคลุม หรือไม่ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ตาม ม.๑๗๒ วรรค ๒
-เมื่อตรวจอุทธรณ์ พบว่าไม่มีใบแต่งทนายให้อำนาจทนายความยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งคืนให้ดำเนินการใหม่ตาม ม.๑๘ วรรค ๒ หรือไม่รับตาม ม.๒๓๒,๒๓๔ ก็ได้ (ถ้าสั่งไม่รับ ไม่ผิดระเบียบ แต่ถ้าสั่งรับจะผิดระเบียบตาม ม.๒๗)

มาตรา ๑๙ ศาลมีอำนาจสั่งได้ตามที่เห็นสมควรให้คู่ความทุกฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาศาลด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าคู่ความนั้น ๆ จะได้มีทนายความว่าต่างแก้ต่างอยู่แล้วก็ดี อนึ่งถ้าศาลเห็นว่าการที่คู่ความมาศาลด้วยตนเองอาจยังให้เกิดความตกลงหรือการประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ในมาตราต่อไปนี้ ก็ให้ศาลสั่งให้คู่ความมาศาลด้วยตนเอง

มาตรา ๒๐ ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลมีอำนาจที่จะไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาทนั้น

มาตรา ๒๐ ทวิ เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ย เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลจะสั่งให้ดำเนินการเป็นการลับเฉพาะต่อหน้าตัวความทุกฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยจะให้มีทนายความอยู่ด้วยหรือไม่ก็ได้
เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลอาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเป็นผู้ประนีประนอม เพื่อช่วยเหลือศาลในการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ประนีประนอมกัน
หลักเกณฑ์และวิธีการในการไกล่เกลี่ยของศาล การแต่งตั้งผู้ประนีประนอมรวมทั้งอำนาจหน้าที่ของผู้ประนีประนอม ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา
ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามวรรคสาม เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

*มาตรา ๒๑ เมื่อคู่ความฝ่ายใดเสนอคำขอหรือคำแถลงต่อศาล
(๑) ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติว่า คำขอหรือคำแถลงจะต้องทำเป็นคำร้องหรือเป็นหนังสือ ก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะยอมรับคำขอหรือคำแถลงที่คู่ความได้ทำในศาลด้วยวาจาได้แต่ศาลต้องจดข้อความนั้นลงไว้ในรายงาน หรือจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง หรือยื่นคำแถลงเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
(๒) ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ว่า คำขออันใดจะทำได้แต่ฝ่ายเดียวห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ โดยมิให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ มีโอกาสคัดค้านก่อนแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการขาดนัด
(๓) ถ้าประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้ว่า คำขออันใดอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียวแล้วให้ศาลมีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้เว้นแต่ในกรณีที่คำขอนั้นเป็นเรื่องขอหมายเรียกให้ให้การ หรือเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อนคำพิพากษาหรือเพื่อให้ออกหมายบังคับ หรือเพื่อจับหรือกักขังจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(๔) ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ว่าศาลต้องออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้เสนอต่อศาลนั้นโดยไม่ต้องทำการไต่สวนแล้ว ก็ให้ศาลมีอำนาจทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งตามคำขอนั้น
ในกรณีเรื่องใดที่ศาลอาจออกคำสั่งได้เองหรือต่อเมื่อคู่ความมีคำขอ ให้ใช้บทบัญญัติอนุมาตรา (๒), (๓) และ (๔) แห่งมาตรานี้บังคับ
ในกรณีเรื่องใดที่คู่ความไม่มีอำนาจขอให้ศาลมีคำสั่ง แต่หากศาลอาจมีคำสั่งในกรณีเรื่องนั้นได้เอง ให้ศาลมีอำนาจภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๐๓ และ ๑๘๑ (๒)ที่จะงดฟังคู่ความหรืองดทำการไต่สวนก่อนออกคำสั่งได้
-อธิบาย
-ฎ.๑๐/๔๐ คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำส่งถอนการบังคับคดีได้แนบเอกสารต่าง ๆ ที่โจทก์ได้ติดต่อดำเนินการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลจังหวัดสวรรคโลกในการขายทอดตลาดแทนหลายครั้งตลอดมา โดยมีจ่าศาลจังหวัดสวรรคโลกรับรองสำเนาถูกต้อง และในวันนัดไต่สวนคำร้องศาลได้สอบถามทนายโจทก์ และเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีแถลงว่าเหตุที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถอนการบังคับคดีเนื่องจากไม่ได้รับเอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีดังกล่าวจากศาลจังหวัดสวรรคโลก ศาลชั้นต้นได้บันทึกข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่สอบถามไว้ ซึ่งพยานหลักฐานที่ได้ดังกล่าวมีรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ในการบังคับคดีสมบูรณ์เพียงพอที่จะวินิจฉัยได้จึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนต่อไป และการที่ศาลได้สอบถามข้อเท็จจริงจนได้ความดังกล่าวมาถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีโดยไม่ไต่สวนคำร้องของโจทก์ต่อไปจึงชอบแล้ว
-ฎ.๒๐๗๖/๔๐ การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์สองในสี่ส่วน และที่ดินที่มีชื่อ อ. เป็นเจ้าของให้โจทก์อีกหนึ่งในสามส่วน หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองนั้น กรณีที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่พิพาทให้โจทก์เป็นการให้แบ่งตัวทรัพย์ ส่วนที่ศาลพิพากษาว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง เป็นการให้ดำเนินการให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามส่วนในทางจดทะเบียนอันเป็นวิธีการบังคับคดีตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นตัวทรัพย์ได้ แต่วิธีการแบ่งที่ดินพิพาทในชั้นบังคับคดีนั้น ถ้าคู่ความไม่ตกลงกัน ก็ให้ประมูลราคากันเองระหว่างคู่ความก่อน ถ้าไม่ตกลงก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งปันกันตามส่วน ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๖๔ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ติดต่อจำเลยทั้งสองให้แบ่งที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมแบ่ง ทั้งยังขัดขวางการแบ่ง โจทก์จึงขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งปันกันตามส่วน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวน เพื่อฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งว่าในการแบ่งที่ดินพิพาทคู่ความตกลงหรือประมูลราคากันเองได้หรือไม่ก่อนที่จะออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์
-ฎ.๒๕๙๖/๔๐ การร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง เป็นอำนาจของศาลที่จะทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา ๒๑(๔) แต่ถ้าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำต้องไต่สวน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง เพราะเหตุผู้ร้องไม่ไปศาลตามนัดโดยถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจสืบพยานตามที่ศาลได้กำชับไว้แล้ว เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยวิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น มิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดแต่อย่างใด
-ฎ.๗๑๘๒-๗๑๘๓ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา ๒๘๘ วรรคสอง มิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเสมอไป เพียงแต่มีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลก็เพียงพอแล้ว พยานหลักฐานเบื้องต้นนี้ศาลอาจตรวจดูจากเอกสารในสำนวนรวมทั้งตัวคำร้องขอเองก็ได้ เมื่อปรากฏตามรายการยึดที่ดินของเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า ที่ดินที่ถูกยึดมาบังคับคดีมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และจำเลยได้จดทะเบียนจำนองเป็นประกันไว้แก่โจทก์ตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ ล้วนแต่เป็นหลักฐานที่แสดงว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นของจำเลย การที่ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องแต่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของบิดานำเอาที่ดินซึ่งเป็นส่วนมรดกของผู้ร้องไปโอนใส่ชื่อจำเลยและนำเอาไปจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ผู้ร้องมาทราบเรื่องเมื่อมีการปิดประกาศยึดทรัพย์ปี ๒๕๓๘ เป็นเวลานานถึง ๕ ปีเศษนั้น เป็นการผิดวิสัยปกติสามัญชนทั่วไป เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ พยานหลักฐานเบื้องต้นดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคำร้องขอของผู้ร้องไม่มีมูล กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเสียก่อน

มาตรา ๒๒ กำหนดระยะเวลาทั้งปวงไม่ว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือที่ศาลเป็นผู้กำหนดก็ดี เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น ให้ศาลคำนวณตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยระยะเวลา

**มาตรา ๒๓ เมื่อศาลเห็นสมควรหรือมีคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือตามที่ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นแต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย
-อธิบาย
-ฎ.๒๗๑/๔๓ มีปัญหาทางเศรษฐกิจขอขยายเวลารวบรวมเงินมาวางศาลถือว่าไม่มีพฤติการณ์พิเศษ ,เหตุป่วยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
-ขอขยายอายุความ,ระยะเวลาบอกล้างโมฆียกรรม ไม่ได้
-ระยะเวลาในคำบังคับ, เวลาที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม ขอขยายตาม ม.๒๓ ได้
-ศาลใช้ดุลยพินิจจะไต่สวนหรือไม่ตาม ม.๒๑(๔)
-ฎ.๑๒๑๑/๑๐ ถ้าศาลไม่อนุญาต(ยกคำร้อง) มายื่นขอใหม่ไม่เป็นกระบวนพิจารณาซ้ำ
-คำสั่งศาลตาม ม.๒๓ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
-ฎ.๖๑๙/๕๑ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ถึงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖ แต่เมื่อครบกำหนดจำเลยที่ ๔ ไม่ได้วางเงินค่าธรรมเนียมศาล จำเลยที่ ๖ เพิ่งมายื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ถือได้ว่าเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๓ ซึ่งจำเลยที่ ๔ จะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลภายในกำหนดเวลา หากพ้นกำหนดจำเลยที่ ๔ จะสามารถยื่นคำร้องได้ต่อเมื่อมีเหตุสุดวิสัย ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ ๔ ยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว ซึ่งตามเหตุผลในคำร้องที่อ้างว่าจำเลยที่ ๔ หาเงินค่าธรรมเนียมศาลมาได้เพียงบางส่วนและจะนำค่าธรรมเนียมศาลส่วนที่เหลือมาวางภายใน ๓๐ วัน ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ ๔ วางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ จึงไม่ชอบ กรณีเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา ๒๗ และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตามมาตรา ๒๔๖ ประกอบมาตรา ๑๔๒ (๕)
-ฎ.๒๙๖/๔๐ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘ จะครบกำหนดอุทธรณ์ ๑ เดือน ในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๓๘ โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ ๑ อ้างว่าทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดเอกสารต่าง ๆ เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๘ แต่ยังไม่ได้รับเอสารที่ขอคัด แสดงว่าโจทก์ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนานถึง ๒๗ วัน จึงเพิ่งจะมาขอคัดเอกสาร และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ ๑ ออกไป ๑๕ วันแล้ว โจทก์น่าจะใช้ประโยชน์จากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นดำเนินการคัดเอกสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อยเสียแต่เนิ่น ๆ ตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ ๒ โจทก์อ้างว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๓๘ ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องแสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลามาแต่ต้นรวมเป็นเวลา ๔๒ วัน การที่โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันยื่นคำร้องจึงเป็นผลเนื่องมาจากการเพิกเฉยของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

*มาตรา ๒๔ เมื่อคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้าง ซึ่งถ้าหากได้วินิจฉัยให้เป็นคุณแก่ฝ่ายนั้นแล้ว จะไม่ต้องมีการพิจารณาคดีต่อไปอีก หรือไม่ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญแห่งคดีบางข้อ หรือถึงแม้จะดำเนินการพิจารณาประเด็นข้อสำคัญแห่งคดีไป ก็ไม่ทำให้ได้ความชัดขึ้นอีกแล้ว เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ให้ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้มีผลว่าก่อนดำเนินการพิจารณาต่อไป ศาลจะได้พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายเช่นว่านี้แล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้น
ถ้าศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดเช่นว่านี้จะทำให้คดีเสร็จไปได้ทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อ ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่กล่าวแล้วและพิพากษาคดีเรื่องนั้นหรือเฉพาะแต่ประเด็นที่เกี่ยวข้องไปโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งฉบับเดียวกันก็ได้
คำสั่งใด ๆ ของศาลที่ได้ออกตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๒๗, ๒๒๘ และ ๒๔๗
-อธิบาย
-ฎ.๑๓๔๖/๒๘,๑๘๘/๓๒ การยื่นให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายจะต้องยื่นระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นเป็นผู้สั่ง จำเลยจะยื่นขอต่อศาลฎีกาไม่ได้
-ฎ.๙๔๕/๓๖ ม.๒๔ กฎหมายประสงค์ให้ใช้ในศาลชั้นต้นเท่านั้น ดังเห็นได้ตามวรรคท้ายที่ให้อุทธรณ์ฎีกาได้
-ฎ.๗๐๗๙/๔๐โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๗ ซึ่งตาราง ๑ ข้อ ๒ ข. ท้าย ป.วิ.พ. กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง ๒๐๐ บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีทุนทรัพย์จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ ๒ ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ ๒ ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง กรณีจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
-ฎ.๗๘๒/๓๖ ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงสั่งงดการสืบพยานโดยให้ฟังข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญา คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณาตาม ม.๒๒๗

มาตรา ๒๕ ถ้าคู่ความฝ่ายใดยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้ศาลสั่งกำหนดวิธีการอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในภาค ๔ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตหรือยกคำขอนั้นเสียโดยไม่ชักช้า
ถ้าในเวลาที่ยื่นคำขอนั้นศาลจะชี้ขาดคดีได้อยู่แล้ว ศาลจะวินิจฉัยคำขอนั้นในคำพิพากษา หรือในคำสั่งชี้ขาดคดีก็ได้

มาตรา ๒๖ ถ้าศาลได้ตั้งข้อถาม หรือออกคำสั่งหรือชี้ขาดเกี่ยวด้วยการดำเนินคดีเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีเรื่องนั้นคัดค้านข้อถามหรือคำสั่งหรือคำชี้ขาดนั้นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดข้อถามหรือคำสั่งหรือคำชี้ขาดที่ถูกคัดค้านและสภาพแห่งการคัดค้านลงไว้ในรายงาน แต่ส่วนเหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างอิงนั้นให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงาน หรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่คัดค้านยื่นคำแถลงเป็นหนังสือเพื่อรวมไว้ในสำนวน

**มาตรา ๒๗ ในกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียน และการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ หรือในการพิจารณาคดีการพิจารณาพยานหลักฐาน หรือการบังคับคดี เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ศาลเห็นสมควร
ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ
ถ้าศาลสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใด ๆ อันมิใช่เรื่องที่คู่ความละเลยไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลาซึ่งกฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ เพียงเท่านี้ไม่เป็นการตัดสิทธิคู่ความฝ่ายนั้น ในอันที่จะดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ ใหม่ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบังคับ
-อธิบาย
-การเพิกถอนกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนำไปใช้กับคดีอาญาได้ด้วย
-คำว่าก่อนมีคำพิพากษา หมายถึงศาลชั้นต้นเท่านั้น
-ฎ.๕๘๗๖/๔๕ ก่อนมีคำพิพากษาไม่เข้มงวดเสมอไปหากทราบข้อผิดระเบียบหลังศาลมีคำพิพากษาก็ชอบที่จะใช้สิทธิได้แต่ต้องใน ๘ วันนับแต่ได้รู้
-ฎ.๑๖๐๒/๑๔ คำสั่งใดๆที่เกี่ยวกับ ม.๒๗ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จะต้องโต้แย้งไว้ก่อนตาม ม.๒๒๖ จึงจะอุทธรณ์ฎีกาได้
-ฎ.๕๖๐๐/๔๘ เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณา แต่จำเลยไม่ได้ร้องขอให้ศาลสั่งให้ขาดนัดพิจารณา และพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวตาม ม.๒๐๐,๒๐๒ แต่สืบพยานจำเลย แล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์นัดหน้า ทั้งไม่ได้ยื่นขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ มีการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจนเสร็จ ทั้งจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคำสั่ง เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ตาม ม.๒๒๖(๒) จำเลยจึงอุทธรณ์หรือฎีกาให้ศาลสูงเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นไม่ได้อีก
-เพิกถอนคำพิพากษาไม่ได้ แต่ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาได้หากการอ่านไม่ชอบ
-ฎ.๑๘๔๔/๓๐ ฟ้องผิดศาล ศาลรับฟ้องไว้ ศาลใช้ ม.๒๗ เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องแล้วสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องได้
-ฎ.๕๗๗๖/๓๔ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. ถูกทายาท ก.ฟ้องว่าทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดก ระหว่างการพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์จำเลยเสียชีวิต ส.ลูกของจำเลยยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยแทนที่ ศาลชั้นต้นอนุญาต จนกระทั่งคดีไปสู่ศาลอุทธรณ์ แล้วพิจารณาให้ ส.ดำเนินการแทนจำเลยแล้วปฏิบัติตามพินัยกรรมของ ก. ส.ได้ปฏิบัติไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องเฉพาะตัว เมื่อจำเลยตายลงอำนาจหน้าที่ก็สิ้นสุดไปด้วยจะรับมรดกความกันไม่ได้ ส.จึงไม่มีอำนาจจัดการแทนจำเลย เมื่อจำเลยตายลงผู้ที่จะเข้าเป็นจำเลยแทนที่ได้มีแต่เฉพาะทายาท ก.หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกของ ก.เท่านั้น ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ ส.เข้าแทนที่จำเลยได้
-ม.๒๗ ใช้เฉพาะศาลชั้นต้นเท่านั้น เพราะชั้นอุทธรณ์มี ม.๒๔๓ อยู่แล้ว ม.๒๔๓(๓)ก.วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ผิดกฎหมายศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ ชั้นฎีกา ม.๒๔๗ ให้นำชั้นอุทธรณ์มาใช้
-ตัวอย่างกระบวนพิจารณาผิดระเบียบที่เพิกถอนได้
-ปิดหมายคนละสถานที่กับที่ฟ้อง (ฎ.๕๑๘/๓๙)
-ฟ้องผิดศาล เพิกถอนจากที่รับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องให้ไปฟ้องใหม่ยังศาลที่มีอำนาจ ถ้าจำเลยไม่ค้าน
(แม้ฟ้องผิดศาล)ดำเนินไปจนจบอย่างนี้ไม่ผิดระเบียบ(ฎ.๒๑๖/๑๙)
-องค์คณะผู้พิพากษาในศาลแรงงานไม่ครบ โจทก์ไม่คัดค้านจนศาลแรงงานพิจารณาเสร็จแล้วและพิพากษา(ฎ.๑๘๘๕-๑๘๙๐/๔๕)
-ไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาเพราะย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่ใหม่ และได้แจ้งการย้ายที่อยู่ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบแล้วแต่ยังส่งหมายนัดไปที่เดิมเป็นกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ(ฎ.๔๕๔๒/๓๙)
-จำเลยขอเลื่อนคดีศาลอนุญาตโดยไม่สอบถามโจทก์เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ(ฎ.๑๖๓/๒๖)
-ผู้ไม่มีสิทธิเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายที่มรณะร้องขอเข้ามาศาลสั่งอนุญาตโดยผิดหลง เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ(ฎ.๕๗๗๖/๓๔)
-พิจารณาตาม ม.๒๗ ศาลต้องไต่สวนคำร้องตาม ม.๒๑
-ฎ.๒๕๙๖/๔๐ การร้องขอตาม ม.๒๗ เป็นอำนาจศาลที่จะไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรแต่ถ้าข้อเท็จจริงของพยานหลักฐานปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งแล้วว่าไม่ผิดระเบียบศาลก็สั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน
-ศาลอุทธรณ์เห็นโดยผิดหลงว่าอุทธรณ์ไม่ถูกต้องสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ม.๒๓๔ ถ้าใช้สิทธิตาม ม.๒๓๔
แล้ว ศาลยังมีอำนาจตาม ๒๗ อีกหรือไม่?????
-ฎ.๓๓๖๙/๓๐ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจให้แก้ไขให้ถูกต้องได้ ม.๒๓๔ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการให้ผู้อุทธรณ์ปฏิบัติได้อีกทางหนึ่งเท่านั้นหาใช่บทบัญญัติที่ห้ามศาลชั้นต้นแก้ไขสิ่งผิดหลงไม่
-การเพิกถอนตามม.๒๗ เกิดขึ้นในศาลใดก็เพิกถอนในชั้นศาลนั้นได้ ฎ.๕๔๓๔/๓๘
-กรณียื่นคำร้องใน ๘ วัน นับแต่ทราบถึงการผิดระเบียบ ถ้าไม่ยื่นจนล่วงเลยเวลา และศาลก็ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปถือว่าชอบแล้ว ฎ.๑๘๘๕-๑๘๙๐/๔๕
-ถ้าทราบเหตุผิดระเบียบก่อนศาลพิพากษาแต่ไม่ขอตาม ๒๗ ว.๒ ปล่อยให้มีการพิพากษาแล้วมาขอ
เพิกถอน ได้หรือไม่?? คำตอบคือไม่ได้ ตาม ฎ.๓๒๑/๓๒
-ระหว่างพิจารณาไม่ทราบเหตุผิดระเบียบ แต่มาทราบหลังศาลพิพากษาแล้ว ใช้ ม.๒๗ เพิกถอนได้หรือไม่??? ฎ.๓๒๐/๓๖,๓๔๗๖/๓๘ ขอเพิกถอนได้เพราะก่อนมีคำพิพากษานั้นไม่รู้ เมื่อรู้ภายหลังก็เพิกถอนได้โดย ม.๒๗ ไม่เคร่งครัด ทั้ง ม.๒๗ ก็ไม่ได้กำหนดเรื่องระยะเวลาไว้
-๘ วัน นับอย่างไร ฎ.๒๑๙๑/๒๓ วางหลักว่า ๘ วันนับแต่วันทราบ (ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลเหตุแห่งข้ออ้างนั้น) ไม่ใช่นับแต่วันที่ทำผิดระเบียบ
-ใช้กับคดีที่ไม่ได้อยู่ในศาลได้หรือไม่??? (คดีที่พ้นไปจากศาลแล้ว) เดิม ฎ.๔๔/๓๐ หลังตัดสินแล้วใช้ ม.๒๗ ไม่ได้ แต่ต่อมามี ฎ.กลับหลักดังกล่าว ตาม ฎ.๓๒๐/๓๖,๓๔๗๖/๓๘ ว่าได้ถ้าเพิ่งทราบ
-คนนอกคดีมีสิทธิใช้ ม.๒๗ หรือไม่????ฎ.๗๙๙๑/๔๔ ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ.ม.๑๓๘๒ ศาลสั่งให้ส่งสำเนาแก่ทายาทโจทก์ แล้วไม่ยอมส่ง เป็นกรณีศาลผิดหลงสั่งไปว่าให้ส่งตามที่ร้องขอ เจ้าของโฉนดยื่นคำคัดค้านเข้ามา เรื่องการไม่ปฏิบัติตาม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นคนนอกคดีร้องได้เพราะได้รับความเสียหาย ผู้คัดค้านก็เป็นคู่ความตาม ม.๑๘๘(๔) ด้วย
-ฎ.๘๐๖๔/๓๘,๕๘๗๖/๔๕ คู่ความฝ่ายเสียหายมายื่นก่อนศาลพิพากษา แต่วันล่วงเลยเวลาตาม ม.๒๗ ว.๒ จะอ้างได้หรือไม่ว่ายื่น ม.๒๗ ว.๑ คู่ความเพิ่งทราบหลังมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่า ๘วันนับแต่ตนทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลเหตุแห่งข้ออ้างนั้น มี ฎ.๕๑๘๖/๔๘ ย้ำให้ชัดขึ้นอีกว่า ๘ วันนั้นใช้ในทุกกรณีทั้งระหว่างพิจารณาหรือหลังมีคำพิพากษาแล้ว
-ฎ.๓๑๔๔/๔๑ ถ้ากระบวนพิจารณาไม่ผิดระเบียบ คู่ความฝ่ายเสียหายจะมาขอตาม ม.๒๗ ไม่ได้จะทำได้แต่การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น
-ฎ. ๖๕๒/๔๐ การที่จำเลยที่ ๒ ยื่นคำร้องอ้างว่าไม่มีการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้อง และคำบังคับ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ ๒ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่นั้นมา จึงเป็นการไม่ชอบไม่มีผลตามกฎหมาย เป็นกรณีที่จำเลยที่ ๒ ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗ แต่การเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗ วรรคสอง บังคับอยู่ในตัวว่าคู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้วหรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ ๒ กลับยินยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้โจทก์ ทั้งยังได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ขอให้ถอนการยึดและจำเลยที่ ๒ ยินดีชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ แต่เมื่อจำเลยที่ ๒ ทราบจากเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า ค่าธรรมเนียมดังกล่าวมากกว่าหนี้ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษา จำเลยที่ ๒ จึงยื่นคำแถลงนี้ ถือได้ว่าก่อนยื่นคำแถลงจำเลยที่ ๒ ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบหลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยที่ ๒ จะขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่
-ฎ.๒๕๙๖/๔๐ การร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง เป็นอำนาจของศาลที่จะทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา ๒๑ (๔) แต่ถ้าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำต้องไต่สวน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง เพราะเหตุผู้ร้องไม่ไปศาลตามนัดโดยถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจสืบพยานตามที่ศาลได้กำชับไว้แล้ว เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยวิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น มิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดแต่อย่างใด
-ฎ.๓๕๑๘/๔๐ จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องว่าในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายทอดตลาดและโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๙๖ วรรคสอง โดยจำเลยจะต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า ๘ วัน นับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น ปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเพื่อให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการไต่สวนคำร้องของจำเลยไปนั้นก็เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยผิดหลงและเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะอุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์แต่อย่างใด
-ฎ.๖๖๖๔/๔๐ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๓๖ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ โจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือเข้าว่าคดีได้อีก แต่โจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ตลอดมาจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของโจทก์เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๓๗ โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนโจทก์ และตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าโจทก์ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๓๖เป็นต้นไป รวมตลอดจนคำพิพากษาในศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๒ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา ๒๒ และ ๒๕ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ ๒ จะเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ พิพากษายกการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
-ฎ.๗๑๐๕/๔๐ ประเด็นข้อพิพาทในคดีมีว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ป่วยเป็นโรคปอดเนื่องจากการทำงานหรือไม่ เป็นประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีเรื่องอื่นของศาลแรงงานกลางซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการส่งลูกจ้างไปให้คณะกรรมการแพทย์ที่ศาลตั้งขึ้นตรวจวิเคราะห์โรคตามคำท้าของคู่ความ ได้ผลประการใดให้ถือเป็นข้อแพ้ชนะแห่งคดี และคู่ความทุกฝ่ายในคดีนี้เห็นพ้องต้องกันขอถือเอาคำท้าในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะแห่งคดี และคู่ความทุกฝ่ายในคดีนี้เห็นพ้องต้องกันขอถือเอาคำท้าในคดีดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยคดีนี้ โดยตกลงให้จัดส่งจำเลยทั้งสองไปตรวจวิเคราะห์โรคด้วยเช่นเดียวกับคดีดังกล่าวข้างต้น ดังนี้ เพื่อความสะดวกในการพิจารณาและพิพากษาคดี ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสาระบบความเป็นการชั่วคราว เพื่อรอฟังผลการตรวจวิเคราะห์โรคของจำเลยร่วมทั้งสองก่อน เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นพิพาททุกข้อที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาไปตามเหตุผลที่ปรากฏในคำคู่ความและพยานหลักฐานในสำนวน มิได้วินิจฉัยคดีไปตามคำท้าของคู่ความในคดีอื่นซึ่งมีประเด็นที่พิพาทเป็นอย่างเดียวกัน กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานกลางจะต้องเพิกถอนรายงานกระบวนพิจารณาที่ได้จดบันทึกพาดพิงถึงคำท้าของคู่ความในคดีอื่น เพราะรายงานกระบวนพิจารณาข้างต้นมิได้ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
-ฎ.๗๒๕๕/๔๐ มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งเจ็ดเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยทั้งเจ็ดเป็นบุคคลล้มละลาย มิใช่หนี้ที่จำเลยทั้งเจ็ดต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ หากแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยแต่ละคนต้องรับผิด หนี้ดังกล่าวของจำเลยทั้งเจ็ดจึงแบ่งแยกจากกันได้ หาเกี่ยวข้องกันไม่ โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดรวมมาเป็นคดีเดียวกันไม่ได้ เนื่องจากการยื่นคำฟ้องหรือคำร้องขอให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๕๐ เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ ๑ ที่ ๔ ที่ ๖ และที่ ๗ มิได้เป็นผู้ซึ่งมีภูมิลำเนาในเขตหรือประกอบธุรกิจอยู่ในเขตของศาลชั้นต้นขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนจำเลยที่ ๑ ที่ ๔ ที่ ๖ และที่ ๗ ไว้พิจารณาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๗ แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบมาตรา ๑๕๓ แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องของจำเลยดังกล่าวซึ่งเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และมีคำสั่งใหม่ให้ไม่รับฟ้องของจำเลยดังกล่าวได้ และโดยที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ดังกล่าวก่อนทำการสืบพยานโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับคดีในส่วนของจำเลยดังกล่าวซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๔ (๕)
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ให้รับผิดตามสัญญากู้และจำเลยที่ ๒ ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ ๑ ได้ตั้งนายเอกเป็นทนายความเข้ามาต่อสู้คดี ส่วนจำเลยที่ ๒ ขาดนัดยื่นคำให้การ ระหว่างสืบพยานโจทก์ นายเอกได้นำใบแต่งทนายความที่อ้างว่าจำเลยที่ ๒ เป็นผู้แต่งตั้งให้นายเอกเป็นทนายความของจำเลยที่ ๒ มายื่นต่อศาล และในวันเดียวกันนั้นเอง โจทก์และจำเลยทั้งสองโดยนายเอกทนายความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดต่อมาวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘ จำเลยที่ ๒ ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า ขณะโจทก์ฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้จำเลยที่ ๒ มิได้มีภูมิลำเนาตามฟ้องและจำเลยที่ ๒ ไม่ได้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งนายเอกเป็นทนายความให้แต่อย่างใด ลายมือชื่อของจำเลยที่ ๒ ในใบแต่งทนายความเป็นลายมือปลอม จำเลยที่ ๒ มาตรวจดูสำนวนคดีที่ศาลเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๘ จึงทราบเรื่องดังกล่าว ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ รายงานกระบวนพิจารณาและคำพิพากษาตามยอม แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องต่อไป ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่าคดีนี้ถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ ๒ ไม่อาจยื่นคำร้องในคดีนี้ได้ ชอบที่จะไปฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ให้ยกคำร้องให้วินิจฉัยว่า คำสั่งศาลชั้นต้นชอบหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๑ สมัย ๕๗)การขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗ นั้นหาจำต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนมีคำพิพากษาเสมอไปไม่ หากเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ทราบกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว ก็ชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวัน นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๗๖/๓๘, ๗๖๒๗/๓๘, ๕๙๗๖/๔๕ และ ๕๐๔๗/๔๗) ตามคำร้องของจำเลยที่ ๒ เป็นกรณีที่จำเลยที่ ๒ อ้างว่า จำเลยที่ ๒ ไม่ทราบถึงการที่ถูกโจทก์ฟ้องเพราะจำเลยที่ ๒ มิได้มีภูมิลำเนาตามฟ้องโจทก์และไม่ได้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งนายเอกเป็นทนายความให้แต่อย่างใด หากได้ความจริงกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินมาจนกระทั่งพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นย่อมไม่ชอบ จำเลยที่ ๒ ผู้ได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ ๒ ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างเรื่องการผิดระเบียบ เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๘ และมายื่นคำร้องในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘ คำร้องของจำเลยที่ ๒จึงชอบด้วยมาตรา ๒๗ วรรคสอง และการขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นคำร้องในคดีเดิมที่อ้างว่ามีการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเองตามมาตรา ๗ (๔) จะมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ต่างหากหาได้ไม่ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๙๓๔-๕๙๓๕/๔๕) ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องจึงไม่ชอบ

มาตรา ๒๘ ถ้ามีคดีหลายเรื่องค้างพิจารณาอยู่ในศาลเดียวกันหรือในศาลชั้นต้นสองศาลต่างกัน และคู่ความทั้งหมด หรือแต่บางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกัน กับทั้งการพิจารณาคดีเหล่านั้น ถ้าได้รวมกันแล้ว จะเป็นการสะดวก หากศาลนั้นหรือศาลหนึ่งศาลใดเหล่านั้นเห็นสมควรให้พิจารณาคดีรวมกัน หรือหากคู่ความทั้งหมดหรือแต่บางฝ่ายมีคำขอให้พิจารณาคดีรวมกันโดยแถลงไว้ในคำให้การหรือทำเป็นคำร้องไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา เมื่อศาลได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายแห่งคดีนั้น ๆ แล้วถ้าศาลเป็นที่พอใจว่า คดีเหล่านั้นเกี่ยวเนื่องกัน ก็ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้พิจารณาคดีเหล่านั้นรวมกัน
ถ้าจะโอนคดีมาจากอีกศาลหนึ่งหรือโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้น ศาลจะมีคำสั่งก่อนที่ได้รับความยินยอมของอีกศาลหนึ่งนั้นไม่ได้ แต่ถ้าศาลที่จะรับโอนคดีไม่ยินยอม ก็ให้ศาลที่จะโอนคดีนั้นส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาด คำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

มาตรา ๒๙ ถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อด้วยกันและศาลเห็นว่าข้อหาข้อหนึ่งข้อใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้ออื่น ๆ เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้ศาลมีคำสั่งให้แยกคดีเสียโดยเร็ว ถ้าโจทก์ประสงค์จะให้พิจารณาข้อหาเช่นว่านั้นต่อไป ก็ให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีไปเสมือนหนึ่งว่าเป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก โดยมีเงื่อนไขที่ศาลจะกำหนดไว้ตามที่เห็นสมควร
ถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อ และศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้ว จะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องและเมื่อศาลได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไป
-อธิบาย
-การขอแยกคดี มาตรานี้นำไปใช้กับคดีอาญาด้วย และส่วนใหญ่ก็เป็นคดีอาญา
- ฎ.๓๕๑/๔๐ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้ชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหาย ซึ่งรายละเอียดแห่งข้อหาแต่ละข้อตามฟ้องเกิดต่างวันต่างเวลากัน ข้อเท็จจริงที่เกิดเหตุแตกต่างกัน การนำสืบพยานหลักฐานต่าง ๆ ย่อมไม่สะดวกต่อการพิจารณาของศาล และการที่รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยคันหนึ่งละเมิดชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหายก็มิได้หมายความว่ารถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้อีกคันหนึ่งจะต้องรับผิดต่อรถยนต์โดยสารของโจทก์คันอื่นด้วย ดังนั้น ข้อหาแต่ละอย่างตามฟ้องจึงมิได้เกี่ยวข้องกัน แม้จะเป็นมูลหนี้เรียกค่าเสียหายมีลักษณะประเภทเดียวกันก็ตาม โจทก์จะนำมารวมฟ้องเป็นคดีเดียวกันหาได้ไม่ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๙ วรรคแรก

มาตรา ๓๐ ให้ศาลมีอำนาจออกข้อกำหนดใด ๆ แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็น เพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว อำนาจเช่นว่านี้ ให้รวมถึงการสั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญ หรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควร

มาตรา ๓๑ ผู้ใดกระทำการอย่างใด ๆ ดังกล่าวต่อไปนี้ ให้ถือว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
(๑) ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลตามมาตราก่อนอันว่าด้วยการรักษาความเรียบร้อย หรือประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล
(๒) เมื่อได้มีคำและได้รับอนุญาตจากศาลให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตามมาตรา ๑๕๖/๑ แล้ว ปรากฏว่าได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเสนอพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาลในการไต่สวนคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
(๓) เมื่อรู้ว่าจะมีการส่งคำคู่ความหรือส่งเอกสารอื่น ๆ ถึงตน แล้วจงใจไปเสียให้พ้น หรือหาทางหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับคำคู่ความหรือเอกสารนั้นโดยสถานอื่น
(๔) ตรวจเอกสารทั้งหมด หรือฉบับใดฉบับหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสำนวนความ หรือคัดเอาสำเนาเอกสารเหล่านั้นไป โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา ๕๔
(๕) ขัดขืนไม่มาศาล เมื่อศาลได้มีคำสั่งตามมาตรา ๑๙ หรือมีหมายเรียกตามมาตรา ๒๗๗
-อธิบาย
-ฎ.๒๙๗๗/๔๐ การที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๓ ถือไม้ไผ่ยาวขนาด ๑ เมตร กว้าง ๒ เซนติเมตร เข้าไปในห้องควบคุมผู้ต้องขังซึ่งอยู่ในบริเวณศาลชั้นต้นแล้วใช้ไม้ไผ่ดังกล่าวตีผู้ถูกกล่าวหาที่ ๒ จำนวน ๓ ที และเงื้อไม้ไผ่จะตีผู้ถูกกล่าวหาที่ ๑ ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๑ ล้มลงและได้รับบาดเจ็บ แม้ว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ ๓ เป็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขัง ได้ตรวจในถุงอาหารพบหลอดบรรจุเฮโรอีน ๑ หลอด ซึ่งญาติส่งให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๒ ซึ่งกำลังจะส่งต่อให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๑ ก็ตาม แต่ห้องควบคุมของศาลมีขนาดไม่กว้างมากนัก อีกทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจคอยควบคุมความสงบเรียบร้อยอยู่ด้วย ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๓ จึงไม่มีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องถือไม้ไผ่เข้าไปในห้องควบคุมผู้ต้องขังโดยเกรงว่าจะถูกทำร้ายตามที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๓ ฎีกา ดังนั้น การที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๓ ใช้ไม้ไผ่ตีผู้ถูกกล่าวหาที่ ๒ ถึง ๓ ที และเงื้อไม้ไผ่จะตีผู้ถูกกล่าวหาที่ ๑ อีกโดยไม่มีเหตุที่จะอ้างตามกฎหมายได้ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นการละเมิดอำนาจศาล
-ฎ.๖๔๔๔/๔๐ ผู้ถูกกล่าวหาได้เรียกและรับเงินจากผู้กล่าวหาจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ที่บริเวณโต๊ะหินม้านั่งภายในบริเวณศาลชั้นต้น โดยแอบอ้างว่าจะนำไปวิ่งเต้นคดีกับผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ถือได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ซึ่งเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๓๑ (๑) ประกอบด้วยมาตรา ๓๓ และ ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๕

มาตรา ๓๒ ผู้ใดเป็นผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ หรือผู้พิมพ์โฆษณาซึ่งหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อประชาชน ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้รู้ถึงซึ่งข้อความหรือการออกโฆษณาแห่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่านั้นหรือไม่ ให้ถือว่าได้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างดังจะกล่าวต่อไปนี้
(๑) ไม่ว่าเวลาใด ๆ ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่ามานั้นได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งข้อความหรือความเห็นอันเป็นการเปิดเผยข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์อื่น ๆแห่งคดี หรือกระบวนพิจารณาใด ๆ แห่งคดี ซึ่งเพื่อความเหมาะสมหรือเพื่อคุ้มครองสาธารณประโยชน์ ศาลได้มีคำสั่งห้ามการออกโฆษณาสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าโดยวิธีเพียงแต่สั่งให้พิจารณาโดยไม่เปิดเผยหรือโดยวิธีห้ามการออกโฆษณาโดยชัดแจ้ง
(๒) ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ ได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ในระหว่างการพิจารณาแห่งคดีไปจนมีคำพิพากษาเป็นที่สุด ซึ่งข้อความหรือความเห็นโดยประสงค์จะให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน หรือเหนือศาลหรือเหนือคู่ความหรือเหนือพยานแห่งคดีซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป เช่น
ก. เป็นการแสดงผิดจากข้อเท็จจริงแห่งคดี หรือ
ข. เป็นรายงานหรือย่อเรื่องหรือวิภาค ซึ่งกระบวนพิจารณาแห่งคดีอย่างไม่เป็นกลางและไม่ถูกต้อง หรือ
ค. เป็นการวิภาคโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งการดำเนินคดีของคู่ความ หรือคำพยานหลักฐาน หรือนิสัยความประพฤติของคู่ความหรือพยาน รวมทั้งการแถลงข้อความอันเป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคู่ความหรือพยาน แม้ถึงว่าข้อความเหล่านั้นจะเป็นความจริง หรือ
ง. เป็นการชักจูงให้เกิดมีคำพยานเท็จ
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้นำวิเคราะห์ศัพท์ทั้งปวงในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ มาใช้บังคับ

มาตรา ๓๓ ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลใดให้ศาลนั้นมีอำนาจสั่งลงโทษโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือทั้งสองวิธีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(ก) ไล่ออกจากบริเวณศาล หรือ
(ข) ให้ลงโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
การไล่ออกจากบริเวณศาลนั้นให้กระทำได้ชั่วระยะเวลาที่ศาลนั่งพิจารณาหรือภายในระยะเวลาใด ๆ ก็ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร เมื่อจำเป็นจะเรียกให้ตำรวจช่วยจัดการก็ได้
ในกรณีกำหนดโทษจำคุกและปรับนั้นให้จำคุกได้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
มาตรา ๓๔ ถ้าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งเรื่องหรือแต่บางส่วน โดยทางอาศัยหรือโดยร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ในเมืองต่างประเทศ เมื่อไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้สำหรับเรื่องนั้นแล้ว ให้ศาลปฏิบัติตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ

หมวด ๔
การนั่งพิจารณา

มาตรา ๓๕ ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น การนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลใดจะต้องกระทำในศาลนั้นในวันที่ศาลเปิดทำการและตามเวลาทำงานที่ศาลได้กำหนดไว้ แต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือเป็นการจำเป็นศาลจะมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่น หรือในวันหยุดงาน หรือในเวลาใด ๆ ก็ได้
ให้ผู้พิพากษาและเจ้าพนักงานศาลซึ่งปฏิบัติงานในวันหยุดงาน หรือในเวลาใด ๆนอกเวลาทำการปกติได้รับค่าตอบแทนเป็นพิเศษ ตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

มาตรา ๓๖ การนั่งพิจารณาคดีจะต้องกระทำในศาลต่อหน้าคู่ความที่มาศาลและโดยเปิดเผย เว้นแต่
(๑) ในคดีเรื่องใดที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยในศาล เมื่อศาลได้ขับไล่คู่ความฝ่ายใดออกไปเสียจากบริเวณศาลโดยที่ประพฤติไม่สมควร ศาลจะดำเนินการนั่งพิจารณาคดีต่อไปลับหลังคู่ความฝ่ายนั้นก็ได้
(๒) ในคดีเรื่องใด เพื่อความเหมาะสม หรือเพื่อคุ้มครองสาธารณประโยชน์ถ้าศาลเห็นสมควรจะห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนแห่งคดีซึ่งปรากฏจากคำคู่ความหรือคำแถลงการณ์ของคู่ความหรือจากคำพยานหลักฐานที่ได้สืบมาแล้วศาลจะมีคำสั่งดังต่อไปนี้ก็ได้
(ก) ห้ามประชาชนมิให้เข้าฟังการพิจารณาทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แล้วดำเนินการพิจารณาไปโดยไม่เปิดเผย หรือ
(ข) ห้ามมิให้ออกโฆษณาข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่นว่านั้น
ในบรรดาคดีทั้งปวงที่ฟ้องขอหย่าหรือฟ้องชายชู้หรือฟ้องให้รับรองบุตร ให้ศาลห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ใด ๆ ที่ศาลเห็นเป็นการไม่สมควร หรือพอจะเห็นได้ว่าจะทำให้เกิดการเสียหายอันไม่เป็นธรรมแก่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ไม่ว่าศาลจะได้มีคำสั่งตามอนุมาตรา (๒) นี้หรือไม่ คำสั่งหรือคำพิพากษาชี้ขาดคดีของศาลนั้น ต้องอ่านในศาลโดยเปิดเผย และมิให้ถือว่าการออกโฆษณาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแห่งคำพิพากษานั้นหรือย่อเรื่องแห่งคำพิพากษาโดยเป็นกลางและถูกต้องนั้น เป็นผิดกฎหมาย

มาตรา ๓๗ ให้ศาลดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปเท่าที่สามารถจะทำได้โดยไม่ต้องเลื่อนจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดี

มาตรา ๓๘ ถ้าในวันที่กำหนดนัดนั่งพิจารณาศาลไม่มีเวลาพอที่จะดำเนินการนั่งพิจารณา เนื่องจากกิจธุระของศาล ศาลจะมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปในวันอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้

มาตรา ๓๙ ถ้าการที่จะชี้ขาดตัดสินคดีเรื่องใดที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดจำต้องอาศัยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งคำชี้ขาดตัดสินบางข้อที่ศาลนั้นเองหรือศาลอื่นจะต้องกระทำเสียก่อน หรือจำต้องรอให้เจ้าพนักงานฝ่ายธุรการวินิจฉัยชี้ขาดในข้อเช่นนั้นเสียก่อน หรือถ้าปรากฏว่าได้มีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้นซึ่งอาจมีการฟ้องร้องอันอาจกระทำให้การชี้ขาดตัดสินคดีที่พิจารณาอยู่นั้นเปลี่ยนแปลงไป หรือในกรณีอื่นใดซึ่งศาลเห็นว่าถ้าได้เลื่อนการพิจารณาไปจักทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอศาลจะมีคำสั่งเลื่อนการนั่งพิจารณาต่อไปจนกว่าจะได้มีการพิพากษาหรือชี้ขาดในข้อนั้น ๆ แล้วหรือภายในระยะเวลาใด ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้
ถ้าศาลมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาดังกล่าวแล้วโดยไม่มีกำหนด เมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งให้เริ่มการนั่งพิจารณาต่อไปในวันใด ๆตามที่เห็นสมควรก็ได้

มาตรา ๔๐ เมื่อศาลได้กำหนดนัดวันนั่งพิจารณาและแจ้งให้คู่ความทราบแล้ว ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายจะขอเลื่อนการนั่งพิจารณา คู่ความฝ่ายนั้นต้องเสนอคำขอเข้ามาก่อนหรือในวันนัด และแสดงเหตุผลแห่งการขอเลื่อนนั้น ในกรณีเช่นว่านี้ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ เว้นแต่การขอเลื่อนการนั่งพิจารณานั้นมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตจะทำให้เสียความยุติธรรม
เมื่อศาลสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณา ศาลอาจสั่งให้คู่ความฝ่ายนั้นเสียค่าป่วยการพยานซึ่งมาศาลตามหมายเรียกและเสียค่าใช้จ่ายในการที่คู่ความฝ่ายอื่นมาศาล เช่น ค่าพาหนะเดินทางและค่าเช่าที่พักของตัวความทนายความหรือพยาน เป็นต้น ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขอเลื่อนคดีไม่ชำระค่าป่วยการหรือค่าใช้จ่ายตามที่ศาลกำหนดให้ศาลยกคำขอเลื่อนคดีนั้นเสีย
ค่าป่วยการหรือค่าใช้จ่ายที่จ่ายตามวรรคสองให้ตกเป็นพับ
คำขอเลื่อนคดีตามวรรคหนึ่ง ถ้าไม่ได้เสนอต่อหน้าศาลด้วยวาจาก็ให้ทำเป็นคำร้องและจะทำฝ่ายเดียวโดยได้รับอนุญาตจากศาลก็ได้

มาตรา ๔๑ ถ้ามีการขอเลื่อนการนั่งพิจารณาโดยอ้างว่าตัวความผู้แทนทนายความ พยาน หรือบุคคลอื่นที่ถูกเรียกให้มาศาลไม่สามารถมาศาลได้เพราะป่วยเจ็บ เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว ศาลจะมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจก็ได้และถ้าสามารถหาแพทย์ได้ก็ให้ตั้งแพทย์ไปตรวจด้วย ถ้าผู้ที่ศาลตั้งให้ไปตรวจได้รายงานโดยสาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณแล้ว และศาลเชื่อว่าอาการของผู้ที่อ้างว่าป่วยนั้นไม่ร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้ ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการขาดนัดหรือการไม่มาศาลของบุคคลที่อ้างว่าป่วยนั้น แล้วแต่กรณี
ศาลอาจสั่งให้คู่ความฝ่ายที่ขอให้ไปตรวจตามวรรคหนึ่ง หรือคู่ความใดไปกับผู้ที่ศาลตั้งให้ไปตรวจ คู่ความนั้นจะมอบให้ผู้ใดไปแทนตนก็ได้
ค่าพาหนะและค่าป่วยการของเจ้าพนักงานและแพทย์ ให้ถือว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียม และให้นำมาตรา ๑๖๖ มาใช้บังคับ

**มาตรา ๔๒ ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะโดยมีคำขอเข้ามาเอง หรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้จะต้องยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ
ถ้าไม่มีคำขอของบุคคลดังกล่าวมาแล้ว หรือไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเรื่องนั้นเสียจากสารบบความ
-อธิบาย
-ฎ.๑๒๐/๓๖ จำเลยตายก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยจึงไม่มีสภาพบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
-ฎ.๒๙๑๕/๔๘ อยู่ในอำนาจศาลใช้ดุลยพินิจแม้เกิน ๑ ปี ไม่ใช่บทบังคับให้ศาลจำหน่ายคดีเสมอไป
-ฎ.๗๙๙๔/๔๗ การร้องขอเป็นคู่ความแทนผู้มรณะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้อง
-ฎ.๒๓๗๖/๔๕ จำเลยตายระหว่างการบังคับคดี หน้าที่รับผิดชอบตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.ม.๑๕๙๙ ,๑๖๐๐ เพื่อให้การบังคับคดีเสร็จสิ้นไม่ใช่ตาม ป.วิแพ่ง ม.๔๒
-ฎ.๔๓๗๖/๔๐ การที่โจทก์ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ ป.วิ.พ. มาตรา ๔๒ วรรคสอง ให้ศาลจำหน่ายคดีจากสาระบบความได้นั้น ต้องเป็นกรณีมีข้อเท็จจริงมาสู่ศาลว่าคู่ความได้มรณะลงระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาล คดีนี้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ถึงแก่กรรมมาสู่สำนวนศาลระหว่างคดีค้างพิจารณาของศาลฎีกาแต่อย่างใด ฉะนั้น เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจะยกคดีขึ้นมาว่ากล่าวให้ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นล่างทั้งสอง และจำหน่ายคดีจาก
สาระบบความมิได้
-ฎ.๘๒๒๙/๔๐ การคัดค้านการตั้งผู้อนุบาลเป็นเรื่องเฉพาะตัว จะรับมรดกความกันไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านถึงแก่กรรมวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาดังกล่าว
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โดยอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยแก้อุทธรณ์ ก่อนส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ โจทก์ตาย อีก ๗วันต่อมานายรวยบุตรของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยแล้ว จำเลยรับว่าโจทก์ถึงแก่ความตายแล้วและนายรวยเป็นทายาทจริง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่านายรวยมีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ได้ ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้นายรวยเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์และสั่งให้นายรวย เสียค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์
ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งสองประการดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ธงคำตอบ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้ว แม้ยังไม่ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ ก็ถือว่าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะพิจารณาสั่ง ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้นายรวยเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๗๔/๓๖, คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ๔๒๖/๑๗)
การเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะก็เพื่อให้มีคู่ความครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ผู้ที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ไม่ได้เข้ามาในฐานะส่วนตัว คงมีสถานะเหมือนกับคู่ความที่มรณะนั่นเอง ดังนั้น การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้วตายลง แม้ผู้ที่เข้าเป็นคู่ความแทนที่จะมีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ ก็มีสิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้นายรวยเสียค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์จึงไม่ชอบเช่นกัน (เทียบคำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ๖๐/๐๓ (ประชุมใหญ่)
-ตัวอย่างคำถาม นายเอกทำสัญญาซื้อขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าราคา ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท กับนายโทและนายตรี โดยชำระราคางวดแรก ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท และมีข้อตกลงให้นำไปส่งมอบและติดตั้ง ณ สำนักงานของนายเอกที่จังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยเงื่อนไขว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องเดินเครื่องยนต์และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ตามคุณสมบัติที่ตกลงกันนายเอกจึงจะชำระราคาส่วนที่เหลือให้ สัญญาดังกล่าวทำขึ้นที่ภูมิลำเนาของนายเอกซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ส่วนนายโทและนายตรีต่างมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ต่อมาหลังจากที่ติดตั้งแล้วปรากฏว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ตกลงซื้อขายเพราะไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ นายเอกจึงบอกเลิกสัญญาและยื่นฟ้องนายโทกับนายตรีต่อศาลจังหวัดราชบุรี ขอให้คืนเงินค่าสินค้าที่ชำระไปจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยและให้ขนย้ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออกไป นายโทให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้องและยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นเรื่องเขตอำนาจศาลว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลนี้ ส่วนนายตรี พนักงานเดินหมายรายงานว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ไม่ได้โดยได้รับแจ้งว่าถึงแก่กรรม ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แถลง ต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลว่านายตรีได้ถึงแก่กรรมไปก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีตามมรณะบัตรที่แนบมาและยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกทายาทของนายตรีเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่นายตรีผู้มรณะให้วินิจฉัยว่า คำร้องของนายโทฟังขึ้นหรือไม่ และศาลจะมีคำสั่งตามคำร้องและคำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับนายตรีอย่างไร
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๑ สมัย ๕๙) นายเอกทำสัญญาซื้อขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากับนายโทและนายตรีที่ภูมิลำเนาของนายเอกซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โดยมีข้อตกลงให้นำไปส่งมอบและติดตั้ง ณ สำนักงานของนายเอกที่จังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยเงื่อนไขว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องเดินเครื่องยนต์และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ตามคุณสมบัติที่ตกลงกัน นายเอกจึงจะชำระราคาส่วนที่เหลือให้ เมื่อนายเอกอ้างว่านายโทและนายตรีนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามข้อกำหนดในสัญญาไปส่งมอบและติดตั้งอันเป็นการผิดสัญญาก็เท่ากับมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการส่งมอบและติดตั้ง จังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นสถานที่ที่ต้องมีการส่งมอบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจึงเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย นายเอกย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดราชบุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔ (๑) คำร้องของนายโทฟังไม่ขึ้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๑๖/๔๘) กรณีนายตรีได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะถูกนายเอกฟ้องคดี นายตรีไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในขณะที่นายเอกยื่นฟ้องไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕ ฟ้องของนายเอกเฉพาะที่เกี่ยวกับนายตรีจึงมิชอบมาแต่ต้น นายเอกไม่อาจยื่นฟ้องนายตรีต่อศาลได้ จึงต้องเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้อง เป็นไม่รับคำฟ้องและจำหน่ายคดีจากสารบบความเฉพาะที่เกี่ยวกับนายตรี (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๐/๓๖,๓๑๕๓/๔๕) นายเอกจะขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกทายาทของนายตรีเข้ามาเป็นคู่ความแทนหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่กรณีคู่ความมรณะในระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามมาตรา ๔๒
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้องระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ถึงแก่กรรม นายเอกได้ยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นบุตรของโจทก์ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง เมื่อถึงวันนัดทนายความของนายเอกยื่นคำร้องว่านายเอกประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรม ขอให้ศาลเลื่อนคดีไปเพื่อให้มีผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่นายเอก ในวันเดียวกันนั้นเองซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์มรณะเกินกว่า 1 ปี นางสายได้ยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นมารดาโจทก์ขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยแล้ว จำเลยรับว่านางสายเป็นมารดาโจทก์จริง แต่คัดค้านว่านางสายขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่เกินกว่า 1 ปีนับแต่โจทก์มรณะ ขอให้ศาลจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ศาลชั้นต้นเห็นว่า เมื่อนายเอกถึงแก่กรรม ไม่จำเป็นต้องมีผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่นายเอกอีก จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีในส่วนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะของนายเอก และมีคำสั่งอนุญาตให้นางสายเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๑ สมัย ๕๘) การร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องถึงแก่กรรมจะมีการร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องอีกไม่ได้ เมื่อนายเอกซึ่งร้องขอเข้าแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้ถึงแก่กรรมจึงไม่อาจมีการร้องขอเข้าแทนที่นายเอกได้เพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของนายเอก ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและจำหน่ายคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะของนายเอกจึงชอบแล้ว (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๙๙๔/๔๗) การเข้าเป็นคู่ความแทนที่คู่ความผู้มรณะนั้น แม้จะร้องขอเข้ามาเมื่อเกินกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔๒ ประกอบด้วยมาตรา ๑๓๒ (๓) ให้อยู่ในอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้แล้วแต่จะพิจารณาเห็นสมควร มิใช่เป็นบทบังคับให้ศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป และตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ทายาทของผู้มรณะก็มีสิทธิขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่คู่ความผู้มรณะได้แม้จะพ้นกำหนดเวลา ๑ ปี แล้วก็ตาม ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้นางสายเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ โดยไม่จำหน่ายคดีโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๔-๗๕/๓๖ และ ๒๙๑๕/๔๘)
มาตรา ๔๓ ถ้าทายาทของผู้มรณะ หรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดก ประสงค์จะขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน ก็ให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลเพื่อการนั้น
ในกรณีเช่นนี้ เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอศาลอาจสั่งให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนนั้นแสดงพยานหลักฐานสนับสนุนคำขอเช่นว่านั้นได้เมื่อได้แสดงพยานหลักฐานดังกล่าวนั้นแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทน

มาตรา ๔๔ คำสั่งให้หมายเรียกบุคคลใดเข้ามาแทนผู้มรณะนั้น จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้บุคคลนั้นมีโอกาสคัดค้านในศาลว่าตนมิได้เป็นทายาทของผู้มรณะ หรือมิได้เป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกนั้น
ทายาท ผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือบุคคลผู้ถูกเรียกไม่จำต้องปฏิบัติตามหมายเช่นว่านั้นก่อนระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อการยอมรับฐานะนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว
ถ้าบุคคลที่ถูกศาลหมายเรียกนั้น ยินยอมรับเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะให้ศาลจดรายงานพิสดารไว้และดำเนินคดีต่อไป
ถ้าบุคคลนั้นไม่ยินยอมหรือไม่มาศาล ให้ศาลทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรถ้าศาลเห็นว่าหมายเรียกนั้นมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ออกคำสั่งตั้งบุคคลผู้ถูกเรียกเป็นคู่ความแทนผู้มรณะแล้วดำเนินคดีต่อไป ถ้าศาลเห็นว่าข้อคัดค้านของบุคคลผู้ถูกเรียกมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนหมายเรียกนั้นเสีย และถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเรียกทายาทอันแท้จริงหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกหรือบุคคลที่ปกครองทรัพย์มรดกของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะได้ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี ก็ให้ศาลมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

มาตรา ๔๕ ถ้าปรากฏต่อศาลว่าคู่ความฝ่ายหนึ่งตกเป็นผู้ไร้ความสามารถก็ดี หรือผู้แทนโดยชอบธรรมของคู่ความฝ่ายที่เป็นผู้ไร้ความสามารถได้มรณะหรือหมดอำนาจเป็นผู้แทนก็ดีให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปภายในระยะเวลาอันสมควรเพื่อผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรมคนใหม่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการได้รับแต่งตั้งของตนโดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลเพื่อการนั้น ถ้ามิได้ยื่นคำขอดังกล่าวมาแล้วให้นำมาตรา ๕๖ มาใช้บังคับ
ถ้าผู้แทนหรือทนายความของคู่ความได้มรณะหรือหมดอำนาจเป็นผู้แทน ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าตัวความจะได้ยื่นคำร้องต่อศาลแจ้งให้ทราบถึงการที่ได้แต่งตั้งผู้แทนหรือทนายความขึ้นใหม่ หรือคู่ความฝ่ายนั้นมีความประสงค์จะมาว่าคดีด้วยตนเอง แต่ถ้าศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว ให้ศาลมีอำนาจสั่งกำหนดระยะเวลาไว้พอสมควร เพื่อให้ตัวความมีโอกาสแจ้งให้ทราบถึงการแต่งตั้งหรือความประสงค์ของตนนั้นก็ได้ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าตัวความมิได้แจ้งให้ทราบภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ศาลจะมีคำสั่งให้เริ่มการนั่งพิจารณาต่อไปในวันใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
บทบัญญัติแห่งวรรคก่อนนั้น ให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ไร้ความสามารถหมดอำนาจลง เพราะเหตุที่บุคคลนั้นได้มีความสามารถขึ้นแล้วด้วยโดยอนุโลม

หมวด ๕
รายงานและสำนวนความ

มาตรา ๔๖ บรรดากระบวนพิจารณาเกี่ยวด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีแพ่งทั้งหลายซึ่งศาลเป็นผู้ทำนั้น ให้ทำเป็นภาษาไทย
บรรดาคำคู่ความและเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่คู่ความหรือศาลหรือเจ้าพนักงานศาลได้ทำขึ้นซึ่งประกอบเป็นสำนวนของคดีนั้น ให้เขียนเป็นหนังสือไทยและเขียนด้วยหมึกหรือดีดพิมพ์หรือตีพิมพ์ ถ้ามีผิดตกที่ใดห้ามมิให้ขูดลบออก แต่ให้ขีดฆ่าเสียแล้วเขียนลงใหม่ และผู้เขียนต้องลงชื่อไว้ที่ริมกระดาษ ถ้ามีข้อความตกเติมให้ผู้ตกเติมลงลายมือชื่อ หรือลงชื่อย่อไว้เป็นสำคัญ
ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญ โดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับ
ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดที่มาศาลไม่เข้าใจภาษาไทยหรือเป็นใบ้หรือหูหนวกและอ่านเขียนหนังสือไม่ได้ ให้ให้คู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องจัดหาล่าม

มาตรา ๔๗ ถ้าคู่ความหรือบุคคลใดยื่นใบมอบอำนาจต่อศาล ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความหรือบุคคลนั้น ให้ถ้อยคำสาบานตัวว่าเป็นใบมอบอำนาจอันแท้จริง
ถ้าศาลมีเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจที่ยื่นนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงก็ดี หรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะมิใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงก็ดี ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นยื่นใบมอบอำนาจตามที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้
ถ้าใบมอบอำนาจนั้นได้ทำในราชอาณาจักรสยามต้องให้นายอำเภอเป็นพยานถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยาม ต้องให้บุคคลเหล่านี้เป็นพยานคือเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ด หรือบุคคลอื่นซึ่งกฎหมายแห่งท้องถิ่นตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านี้ และต้องมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้
บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ใบสำคัญและเอกสารอื่น ๆ ทำนองเช่นว่ามานี้ ซึ่งคู่ความจะต้องยื่นต่อศาล

มาตรา ๔๘ ในคดีทุกเรื่อง ให้เป็นหน้าที่ของศาลต้องจดแจ้งรายงานการนั่งพิจารณาหรือกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ของศาลไว้ทุกครั้ง
รายงานนั้นต้องมีรายการต่อไปนี้
(๑) เลขคดี
(๒) ชื่อคู่ความ
(๓) สถานที่ วัน และเวลาที่ศาลนั่งพิจารณาหรือดำเนินกระบวนพิจารณา
(๔) ข้อความโดยย่อเกี่ยวด้วยเรื่องที่กระทำและรายการข้อสำคัญอื่น ๆ
(๕) ลายมือชื่อผู้พิพากษา
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้หรือเมื่อศาลเห็นเป็นการจำเป็นก็ให้ศาลจดบันทึก(โดยจดรวมไว้ในรายงานพิสดารหรืออีกส่วนหนึ่งต่างหาก) ซึ่งคำแถลงหรือคำคัดค้านในข้อสำคัญข้อตกลง คำชี้ขาด คำสั่ง หรือการอื่น ๆ หรือกระบวนพิจารณาที่ทำด้วยวาจาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
-อธิบาย
-ฎ.๙๑๑/๔๘ การที่ศาลจดคำแถลงของจำเลยที่ ๔ ที่ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ถือไม่ได้ว่าคำแถลงนั้นเป็นคำให้การของจำเลยที่ ๔

มาตรา ๔๙ ในส่วนที่เกี่ยวด้วยคำแถลงหรือคำคัดค้านของคู่ความ หรือคำให้การของพยานหรือผู้เชี่ยวชาญหรือข้อตกลงในการสละสิทธิของคู่ความนั้น ให้ถือว่ารายงานของศาลเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นได้ต่อเมื่อศาลได้อ่านให้คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องฟังและได้จดลงไว้ซึ่งข้อแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ขอร้องหรือที่ชี้แจงใหม่ ทั้งคู่ความหรือบุคคลนั้น ๆ ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

มาตรา ๕๐ ถ้าคู่ความฝ่ายใด หรือบุคคลใดจะต้องลงลายมือชื่อในรายงานใดเพื่อแสดงรับรู้รายงานนั้น หรือจะต้องลงลายมือชื่อในเอกสารใดเพื่อรับรองการอ่านหรือการส่งเอกสารเช่นว่านั้น
(๑) การลงลายมือพิมพ์นิ้วมือ แกงได หรือเครื่องหมายอย่างอื่นที่ได้ทำต่อหน้าศาลนั้น ไม่จำต้องมีลายมือชื่อของพยานสองคนรับรอง
(๒) ถ้าคู่ความ หรือบุคคลที่จะต้องลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าวแล้วลงลายมือชื่อไม่ได้ หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้ศาลทำรายงานจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อเช่นนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ

มาตรา ๕๑ ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะปฏิบัติดังนี้
(๑) ลงทะเบียนคดีในสารบบความของศาลตามลำดับที่รับไว้ กล่าวคือ ตามวันและเวลาที่ยื่นหรือเสนอคำฟ้องเพื่อเริ่มคดีต่อศาล ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้
(๒) ลงทะเบียนคำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดคดีทั้งหมดของศาลในสารบบคำพิพากษา
(๓) รวบรวมรายงานและเอกสารที่ส่งต่อศาลหรือศาลทำขึ้น กับคำสั่งและคำพิพากษาของศาล ไว้ในสำนวนความเรื่องนั้น แล้วเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย
(๔) คัดสำเนาคำพิพากษา คำสั่งชี้ขาดคดี แล้วเก็บรักษาไว้เรียงตามลำดับและในที่ปลอดภัย
(๕) เก็บรักษาสารบบและสมุดของศาล เช่นสารบบความและสารบบคำพิพากษาไว้ในที่ปลอดภัย

มาตรา ๕๒ เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งอันเป็นเด็ดขาดถึงที่สุดแล้วเรื่องใดได้มีการปฏิบัติตาม หรือบังคับไปแล้ว หรือระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อการบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว ให้ศาลที่เก็บสำนวนนั้นไว้ จัดส่งสำนวนนั้นไปยังกระทรวงยุติธรรม เพื่อเก็บรักษาไว้หรือจัดการตามกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น

มาตรา ๕๓ ถ้ารายงาน คำพิพากษา คำสั่งหรือเอกสารอื่นใดที่รวมไว้ในสำนวนความซึ่งยังอยู่ในระหว่างพิจารณา หรือรอการบังคับของศาลสูญหายไป หรือบุบสลายทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เป็นการขัดข้องต่อการชี้ขาดตัดสินหรือบังคับคดีเมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลสั่งคู่ความหรือบุคคลผู้ถือเอกสารนั้น นำสำเนาที่รับรองถูกต้องมาส่งต่อศาล ถ้าหากสำเนาเช่นว่านั้นทั้งหมดหรือบางส่วนหาไม่ได้ ให้ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ หรือมีคำสั่งอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
มาตรา ๕๔ คู่ความก็ดี หรือพยานในส่วนที่เกี่ยวกับคำให้การของตนในคดีนั้นก็ดีหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียโดยชอบหรือมีเหตุผลอันสมควรก็ดี อาจร้องขออนุญาตต่อศาลไม่ว่าเวลาใดในระหว่าง หรือภายหลังการพิจารณาเพื่อตรวจเอกสารทั้งหมดหรือแต่บางฉบับในสำนวนเรื่องนั้น หรือขอคัดสำเนา หรือขอให้จ่าศาลคัดสำเนาและรับรอง แต่ทั้งนี้
(๑) ห้ามมิให้อนุญาตเช่นว่านั้นแก่บุคคลอื่นนอกจากคู่ความหรือพยานในคดีที่พิจารณาโดยไม่เปิดเผย หรือในคดีที่ศาลได้มีคำสั่งห้ามการตรวจหรือคัดสำเนาเอกสารในสำนวนทั้งหมดหรือบางฉบับเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือผลประโยชน์ทั่วไปของประชาชน ถึงแม้ผู้ขอจะเป็นคู่ความหรือพยานก็ห้ามมิให้อนุญาตดุจกัน แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของคู่ความในการที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้น หรือในการที่จะขอสำเนาอันรับรองถูกต้อง
(๒) ห้ามมิให้อนุญาตให้คู่ความคัดถ้อยคำพยานฝ่ายตนจนกว่าจะได้สืบพยานฝ่ายตนเสร็จสิ้นแล้ว เว้นแต่จะมีพฤติการณ์พิเศษที่จะให้อนุญาต
เมื่อได้ให้อนุญาตแล้ว การตรวจ หรือการคัดสำเนานั้น ให้ผู้ขอหรือบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้ขอโดยชอบเป็นผู้คัดตามเวลาและเงื่อนไขซึ่งจ่าศาลจะได้กำหนดให้เพื่อความสะดวกของศาลหรือเพื่อความปลอดภัยของเอกสารนั้น
ห้ามมิให้คัดสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่ง ก่อนที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นและก่อนที่ได้ลงทะเบียนในสารบบคำพิพากษา
ในกรณีที่ศาลได้ทำคำอธิบายเพิ่มเติมกลัดไว้กับรายงานแห่งคำสั่งหรือคำพิพากษาซึ่งกระทำด้วยวาจาตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔๑ คำอธิบายเพิ่มเติมเช่นว่านั้นคู่ความจะขอตรวจหรือขอคัดสำเนา หรือขอสำเนาเสมือนเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำสั่งหรือคำพิพากษาก็ได้
สำเนาที่รับรองนั้น ให้จ่าศาลเป็นผู้รับรองโดยเรียกค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดไว้ในอัตราท้ายประมวลกฎหมายนี้ ในกรณีที่ผู้ขอตรวจเอกสารหรือขอคัดสำเนาด้วยตนเอง ไม่ต้องเรียกค่าธรรมเนียม

ลักษณะ ๓
คู่ความ

**มาตรา ๕๕ เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้
-อธิบาย
-คำว่าศาลในมาตรา ๕๕ หมายถึงศาลชั้นต้นเท่านั้น
-สิทธิทางศาลจะต้องมีกฎหมายสาระบัญญัติรับรองไว้ และจะต้องมีอยู่ก่อนร้องรอ เช่นร้องขอให้บุคคลเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ,สาบสูญ,แสดงกรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์,ตั้งผู้จัดการมรดก,พิสูจน์สัญชาติ,ขอเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นต้น
-ฎ.๓๗๓๘/๔๒ เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกมรดกให้จำเลยทั้งหมด โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม ถูกตัดสิทธิรับมรดกโดยกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลย จึงไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิ ไม่มีอำนาจฟ้อง
-อำนาจฟ้องตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ ต้องไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนด้วย
-ฎ.๒๓๙๓/๔๑ ,๔๒๐๗/๔๑ คดีก่อนถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่าจำเลยยังไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ให้ยกฟ้อง การที่โจทก์ฟ้องใหม่ให้บังคับจำเลยจดทะเบียนสิทธิแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นคนละประเด็น ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
-ฎ.๘๕๖๑/๕๒ จำเลยมีหนังสือเตือนให้โจทก์นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระเนื่องจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดมิให้ถือจำนวนเงินตามเช็คชำระราคาที่ดินที่เรียกเก็บไม่ได้ ๒,๒๕๔,๐๐๐ บาท เป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ในปีภาษี ๒๕๓๔ จำเลยจึงคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่โดยหักเงินดังกล่าวออก จึงเป็นการแจ้งเตือนให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วเท่านั้น แม้หนังสือแจ้งเตือนจะระบุการคำนวณภาษีการค้าใหม่มาด้วยก็เป็นผลต่อเนื่องจากการที่ศาลฎีกาให้ลดเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินลง จำเลยจึงปรับปรุงลดยอดรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าให้ด้วยนับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ให้เสียภาษีอากรน้อยลง ซึ่งโจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งจำนวนภาษีอากรค้างชำระตามที่จำเลยคำนวณใหม่เพียงแต่อ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระเพราะขาดอายุความ จำเลยหาได้กระทำการใดอันจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ในทางแพ่งของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๕ ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.๒๕๒๘ มาตรา ๑๗ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
-ฎ.๑๗๘๖/๕๒ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร แม้ว่าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุด ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อเจ้าพนักงานอื่นของฝ่ายบริหารต่อไปอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยยืนย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการบรรยายฟ้องว่ามีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๒๖ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา ๕๕ แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
-ฎ.๓๐๗/๕๒ ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๗ บัญญัติให้ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมจึงต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ ๒ เป็นเพียงผู้ดำเนินกิจการโรงเรียนซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินของโจทก์ที่ ๑ จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้เปิดทางภาระจำยอม

มาตรา ๕๖ ผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ทำการแทนจะเสนอข้อหาต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถและตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ การให้อนุญาตหรือยินยอมตามบทบัญญัติเช่นว่านั้น ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนความ
ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษาเมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจทำการสอบสวนในเรื่องความสามารถของผู้ขอหรือของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง และถ้าเป็นที่พอใจว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถ ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดให้แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลจะสั่ง
ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อความยุติธรรมไม่ควรให้กระบวนพิจารณาดำเนินเนิ่นช้าไป ศาลจะสั่งให้คู่ความฝ่ายที่บกพร่องในเรื่องความสามารถนั้นดำเนินคดีไปก่อนชั่วคราวก็ได้ แต่ห้ามมิให้ศาลพิพากษาในประเด็นแห่งคดีจนกว่าข้อบกพร่องนั้นได้แก้ไขโดยบริบูรณ์แล้ว
ถ้าผู้ไร้ความสามารถไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้ ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้อนุญาตหรือให้ความยินยอมตามที่ต้องการ หรือตั้งผู้แทนเฉพาะคดีนั้นให้แก่ผู้ไร้ความสามารถ ถ้าไม่มีบุคคลอื่นใดให้ศาลมีอำนาจตั้งพนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองอื่นให้เป็นผู้แทนได้

**มาตรา ๕๗ บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด
(๑) ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือเมื่อตนมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น
(๒) ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้นโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม หรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของคู่ความฝ่ายนั้นแต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจำต้องผูกพันตนโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการเสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย
(๓) ด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี (ก) ตามคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำเป็นคำร้องแสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี หรือ (ข) โดยคำสั่งของศาลเมื่อศาลนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ในกรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หรือศาลเห็นจำเป็นที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีดังกล่าวแล้วให้เรียกด้วยวิธียื่นคำร้องเพื่อให้หมายเรียกพร้อมกับคำฟ้องหรือคำให้การ หรือในเวลาใด ๆต่อมาก่อนมีคำพิพากษาโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อศาลเป็นที่พอใจว่าคำร้องนั้นไม่อาจยื่นก่อนนั้นได้
การส่งหมายเรียกบุคคลภายนอกตามอนุมาตรานี้ต้องมีสำเนาคำขอ หรือคำสั่งของศาล แล้วแต่กรณี และคำฟ้องตั้งต้นคดีนั้นแนบไปด้วย
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ไม่ตัดสิทธิของเจ้าหนี้ ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้และที่จะเรียกลูกหนี้ให้เข้ามาในคดีดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
-อธิบาย
-ร้องสอดเป็นคำฟ้องจึงอยู่ในบังคับ ม.๑๔๔,๑๔๘,๑๗๓วรรค๒(๑)และ ๑๗๒วรรค๒
-ม.๕๗(๑)เป็นคู่ความฝ่ายที่ ๓ ไม่รับถือว่าไม่รับคำคู่ความ และเสียค่าขึ้นศาลด้วย และร้องขอได้สองระยะ คือระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น และชั้นบังคับคดี ฎ.๘๑๐-๘๑๑/๔๗ ร้องสอดตาม ม.๕๗(๑) ยื่นระหว่างอุทธรณ์ไม่ได้
-ร้องสอดมีได้เฉพาะคดีแพ่ง คดีอาญาร้องสอดไม่ได้
-ฎ.๗๒๒๖/๓๘ ในคดีไม่มีข้อพิพาทหากผู้มีส่วนได้เสียถูกโต้แย้งสิทธิก็ร้องสอดได้
-ฎ.๙๙๖/๔๙ โจทก์ฟ้องจำเลย๑-๔ให้ชำระค่าจ้างก่อสร้าง จำเลย ๑ และ๔ ขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ต่อมาจำเลยที่ ๒ ยื่นคำร้องสอดตาม ม.๕๗(๒)เป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ จึงต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิของจำเลยที่ ๑ ที่ตนร้องสอดเข้าร่วมตาม ม.๕๘ วรรค๒ เมื่อจำเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นคำให้การจนศาลสั่งขาดนัดไปแล้วจำเลยผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิยื่นคำให้การของตนเข้ามาอันเป็นการใช้สิทธินอกเหนือที่จำเลยที่ ๑ มีอยู่ การที่ศาลรับคำให้การของจำเลยที่ ๒ นั้นเป็นการผิดหลงชอบที่จะเพิกถอนเป็นไม่รับคำให้การได้
-คำร้องตาม ม.๕๗(๑),(๒) ศาลไม่รับเท่ากับไม่รับคำคู่ความตาม ม.๑๘ อุทธรณ์ได้ตามา ม.๒๒๗,๒๒๘ แต่ (๓)ถือเป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา
-ฎ.๖๗๕/๑๙ โจทก์ยื่นคำร้องซึ่งแสดงให้ปรากฏต่อศาลว่า หากศาลเห็นสมควรหรือจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมขอให้เรียกจำเลยที่ ๒,๓,๖ เข้ามาเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นจึงใช้อำนาจตาม ม.๕๗(๓) ข. เรียกเข้ามา กรณีไม่อยู่ในบังคับว่าคำร้องดังกล่าวต้องยื่นพร้อมคำฟ้ง
-ฎ.๗๑๑/๔๘ รับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ(หนี้เน่า)มา ร้องสอดชั้นบังคับคดีตาม ม.๕๗(๑) ได้
-ตัวอย่างคำถาม โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินของจำเลยเป็นทางภาระจำยอมสำหรับที่ดินของโจทก์โดยอายุความขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินที่เป็นภาระจำยอมแล้วทำที่ดินให้มีสภาพเป็นทางเดิน จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เคยใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออก ที่ดินของจำเลยจึงไม่ตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความ ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณานายทองยื่นคำร้องว่า ภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว โจทก์ตกลงขายที่ดินซึ่งอยู่ติดกับที่ดินพิพาทอันเป็นมูลเหตุในการฟ้องร้องคดีนี้ให้แก่ผู้ร้อง โดยตกลงจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดินภายใน ๑ เดือน นับแต่วันที่โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีนี้และบังคับคดีแก่ผู้ที่ปิดกั้นทางภาระจำยอมได้สำเร็จ หากโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีหรือไม่อาจบังคับคดีได้ใน ๓ ปี นับแต่วันฟ้อง ให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นอันยกเลิก จึงขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมให้วินิจฉัยว่า นายทองมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับโจทก์หรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯข้อ ๑ สมัย ๖๑) ผู้ร้องสอดที่ขอเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๗ (๒) จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ซึ่งหมายความว่า ผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนโดยจะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้โดยตรงจึงจะร้องสอดได้ นายทองเพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของจำเลยจากโจทก์ ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ทั้งสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข โดยจะมีผลต่อเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีนี้และสามารถบังคับคดีได้ แต่ถ้าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีหรือไม่อาจบังคับคดีได้ภายใน ๓ ปี นับแต่วันฟ้องคดีนี้ สัญญาจะซื้อขายก็สิ้นผล นายทองมิได้ถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้แต่อย่างใด จึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามความหมายของมาตรา ๕๗ (๒) นายทองจึงไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับโจทก์ตามมาตรา ๕๗ (๒) (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๙๙๕/๔๑)
-ตัวอย่างคำถาม นายสิงห์เป็นโจทก์ฟ้องบริษัทไทยเจริญ จำกัด จำเลยที่ ๑ ให้รับผิดตามสัญญากู้ และนายเดชเป็นจำเลยที่ ๒ ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนนายเดชจำเลยที่ ๒ ให้การว่าหนี้ตามสัญญากู้ระงับแล้ว จำเลยที่ ๒ ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น
(ก) นายเดชจำเลยที่ ๒ ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นคำให้การไม่เข้ามาต่อสู้คดีทั้งที่หนี้ตามสัญญากู้ระงับแล้ว ทำให้จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ ๑ ได้รับความเสียหาย เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินและหนี้สินของจำเลยที่ ๑ ขอเข้ามาต่อสู้คดีแทนจำเลยที่ ๑
(ข) นายชัยยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในคดีเนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ ๑ มีความจำเป็น เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องมีอยู่ในบริษัทจำเลยที่ ๑ จึงร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย
ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของนายเดชจำเลยที่ ๒ ใน (ก) และนายชัย ใน (ข) ได้หรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๑ สมัย ๕๖ )
(ก) การเข้ามาเป็นคู่ความโดยการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๗ นั้น ไม่ว่าจะเป็นการร้องขอเข้ามาเองด้วยความสมัครใจ หรือด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี ผู้ที่จะเข้ามานั้นต้องเป็นบุคคลภายนอกคดี นายเดชจำเลยที่ ๒ เป็นคู่ความในคดีอยู่แล้ว ไม่ใช่บุคคลภายนอกคดี จึงไม่อาจร้องสอดเข้ามาต่อสู้คดีแทนจำเลยที่ ๑ ตามมาตรา ๕๗ ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๗๐๙/๔๔)
(ข) คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ รับผิดตามสัญญากู้ อันเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากนายชัยผู้ร้อง สิทธิของผู้ร้องมีอยู่ในบริษัทจำเลยที่ ๑ เพียงใดก็คงมีอยู่อย่างนั้น ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ นายชัยผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตามมาตรา ๕๗ (๑) (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๑/๔๕)
ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของนายเดชจำเลยที่ ๒ ใน (ก) และนายชัย ใน (ข) ไม่ได้

*มาตรา ๕๘ ผู้ร้องสอดที่ได้เข้าเป็นคู่ความตามอนุมาตรา (๑) และ (๓) แห่งมาตราก่อนนี้ มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ซึ่งโดยเฉพาะผู้ร้องสอดอาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดง คัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้วและคัดค้านพยานหลักฐานที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด อาจอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และอาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
ห้ามมิให้ผู้ร้องสอดที่ได้เป็นคู่ความตามอนุมาตรา (๒) แห่งมาตราก่อน ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตนเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้องสอด และห้ามมิให้ใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจำเลยเดิม และให้ผู้ร้องสอดเสียค่าฤชาธรรมเนียมอันเกิดแต่การที่ร้องสอด แต่ถ้าศาลได้อนุญาตให้เข้าแทนที่โจทก์หรือจำเลยเดิม ผู้ร้องสอดจึงมีฐานะเสมอด้วยคู่ความที่ตนเข้าแทน
เมื่อได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ถ้ามีข้อเกี่ยวข้องกับคดี เป็นปัญหาจะต้องวินิจฉัยในระหว่างผู้ร้องสอดกับคู่ความฝ่ายที่ตนเข้ามาร่วม หรือที่ตนถูกหมายเรียกให้เข้ามาร่วมผู้ร้องสอดย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(๑) เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของคู่ความนั้น ทำให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีช้าเกินสมควรที่จะแสดงข้อเถียงอันเป็นสาระสำคัญได้ หรือ
(๒) เมื่อคู่ความนั้นจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงมิได้ยกขึ้นใช้ซึ่งข้อเถียงในปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญซึ่งผู้ร้องสอดมิได้รู้ว่ามีอยู่เช่นนั้น

*มาตรา ๕๙ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลแห่งความคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ดังนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้
(๑) บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดย หรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดย หรือทำต่อ คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ
(๒) การเลื่อนคดีหรือการงดพิจารณาคดีซึ่งเกี่ยวกับคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ใช้ถึงคู่ความร่วมคน
อื่น ๆ ด้วย
-อธิบาย
-คู่ความร่วมที่ไม่ได้ท้าด้วย ย่อมไม่ผูกพัน
-กรณีขาดนัด แล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ผูกพันคู่ความร่วมทุกคน
-ฎ.๒๙๘๗/๒๕ คู่ความคนหนึ่งขอเลื่อนคดี มีผลถึงคู่ความร่วมคนอื่นที่ไม่ได้เลื่อนคดีด้วย
-ฎ.๑๔๙/๔๖ ฟ้องเจ้าของรวมคนหนึ่ง ถือว่าฟ้องเจ้าของรวมทุกคน
-ฎ.๑๙๓๘/๔๒ จำเลยที่ ๑ ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู่ ส่วนจำเลยที่ ๒ ไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู่ เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ ๑ ผลย่อมลบล้างผลแห่งคำฟ้องตาม ม.๑๗๖ จึงเท่ากับไม่มีข้อต่อสู้เรื่องอายุความ จำเลยที่ ๒ ยังต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ปัจจุบัน ฎ.๒๕๘๘/๔๖ วางหลักเรื่องอายุความว่าจำเลยร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ให้ถือว่าต่อสู้แทนจำเลยคนอื่นด้วย ตาม ม.๕๙(๑) แต่เป็นกรณีหนี้แบ่งแยกไม่ได้เท่านั้น
-ทั้งสองฝ่ายมีส่วนร่วมรับผิดชอบในมูลความแห่งละเมิด ถือว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ภรรยาผู้ตายจึงสามารถฟ้องจำเลยที่ ๑ ผู้ขับรถ จำเลยที่ ๒ นายจ้างจำเลยที่ ๑ และอีกฝ่ายที่ก่อให้เกิดรถชนกันจนเป็นเหตุให้สามีเสียชีวิตได้
-ผู้เดินผ่านถนนสาธารณะหลายคน เมื่อกลุ่มจำเลยปิดกั้นถนนและทำรั้ว ผู้เดินผ่านทุกคนร่วมกันฟ้องจำเลยกับพวกได้ เช่นเดียวกับกรณีโรงงานสร้างมลพิษทำให้คนในหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อน ทุกคนร่วมกันฟ้องได้
-ตัวอย่างคำถาม นายเอกมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดลำปาง นายโทมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ นายเอกซึ่งเป็นลูกจ้างของนายโทได้ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของนายโทในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชนท้ายรถยนต์ของนายตรีได้รับความเสียหายเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท และนายจัตวาซึ่งนั่งมาในรถได้รับบาดเจ็บเสียค่ารักษาพยาบาลไปเป็นเงิน ๓๒๐,๐๐๐ บาท โดยเหตุละเมิดรถชนกันเกิดที่จังหวัดเชียงราย นายตรีและนายจัตวาจึงเป็นโจทก์ร่วมกันฟ้องนายเอกเป็นจำเลยที่ ๑ และนายโทเป็นจำเลยที่ ๒ ต่อศาลจังหวัดลำปาง ขอให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าว จำเลยที่ ๑ ให้การว่า โจทก์ทั้งสองต่างเรียกร้องค่าเสียหายเป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากกัน จึงไม่มีอำนาจฟ้องรวมกันมาในคดีเดียวกัน ส่วนจำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดลำปาง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๒ ต่อศาลนี้ ที่ศาลจังหวัดลำปางรับคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณาจึงไม่ชอบให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองฟังขึ้นหรือไม่
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯข้อ ๑ สมัย ๖๒ ดูควบกับมาตรา ๕) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๙ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ซึ่งหมายความว่า ต้องมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้น โดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสาระสำคัญ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจากมูลละเมิดที่เกิดขึ้นในคราวเดียวกัน แม้ค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองจะแยกจากกันได้ก็ตาม โจทก์ทั้งสองย่อมมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงอาจฟ้องคดีนี้ร่วมกัน ที่ศาลจังหวัดลำปาง รับคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว
ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ ๑ ฟังไม่ขึ้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๒๐/๓๕)โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดอันเนื่องมาจากการเป็นลูกจ้างนายจ้างกัน จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องต่อศาลที่จำเลยคนหนึ่งคนใดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ ๒ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และจำเลยที่ ๑ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดลำปางต่อศาลจังหวัดลำปางได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕ ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
(คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๗๘/๒๖)
-ตัวอย่างคำถาม จำเลยที่ ๑ เป็นลูกจ้างขับรถยนต์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ ๓ ด้วยความประมาทรถยนต์พลิกคว่ำที่บริเวณสวนจตุจักร ทำให้โจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๒ ที่โดยสารภายในรถได้รับบาดเจ็บสาหัส โจทก์ที่ ๑ หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว โจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๒ จึงได้ฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลแพ่ง โดยโจทก์ที่ ๑ เรียกค่าเสียหาย ๘๐๐,๐๐๐ บาท โจทก์ที่ ๒ เรียกค่าเสียหาย ๓๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ ๓ ซึ่งให้การปฏิเสธ ยื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นว่า โจทก์ที่ ๒ ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๓ ต่อศาลแพ่ง เพราะความเสียหายของโจทก์ที่ ๒ แยกต่างหากจากความเสียหายของโจทก์ที่ ๒ และจำนวนค่าเสียหายของโจทก์ที่ ๒ อยู่ในอำนาจของศาลแขวงพระนครเหนือ
ให้วินิจฉัยว่าคำร้องของจำเลยที่ ๓ ตามที่กล่าวฟังได้หรือไม่เพียงใด
ธงคำตอบ (ข้อสอบเนฯ ข้อ ๒ สมัย ๕๕) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๙ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้น มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิบุคคลที่จะฟ้องคดีร่วมกันได้ และเป็นความมุ่งหมายของกฎหมายในมาตรา ๕๙ ที่จะให้มูลความแห่งคดีที่เกี่ยวข้องกันควรได้รับการพิจารณาจากศาลเดียวกัน ดังนั้น แม้ค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองจะแยกจากกันได้ และค่าเสียหายในส่วนของโจทก์ที่ ๒ มีทุนทรัพย์ไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครเหนือก็ตาม แต่มูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสอง เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ ๑ ในคราวเดียวกัน โจทก์ทั้งสองย่อมมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงฟ้องคดีร่วมกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๕๙ ศาลแพ่งย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโจทก์ที่ ๒ ได้ คำร้องของจำเลยที่ ๓ จึงฟังไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๔๗๑/๔๑)

มาตรา ๖๐ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือผู้แทนโดยชอบธรรมในกรณีที่คู่ความเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้แทนในกรณีที่คู่ความเป็นนิติบุคคล จะว่าความด้วยตนเองและดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์ของตน หรือจะตั้งแต่งทนายความคนเดียวหรือหลายคนให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนก็ได้
ถ้าคู่ความ หรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ผู้รับมอบอำนาจเช่นว่านั้นจะว่าความอย่างทนายความไม่ได้ แต่ย่อมตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้

มาตรา ๖๑ การตั้งทนายความนั้น ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความ แล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน ใบแต่งทนายนี้ให้ใช้ได้เฉพาะคดีเรื่องหนึ่ง ๆ ตามที่ได้ยื่นไว้เท่านั้น เมื่อทนายความผู้ใดได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะแทนบุคคลอื่นไม่ว่าในคดีใด ๆ ให้ทนายความผู้นั้นแสดงใบมอบอำนาจทั่วไป แล้วคัดสำเนายื่นต่อศาลแทนใบแต่งทนายเพื่อดำเนินคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป ตามความในมาตรานี้

มาตรา ๖๒ ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้นแต่ถ้ากระบวนพิจารณาใดเป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ หรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นว่านี้ได้ โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจโดยชัดแจ้งเช่นว่านี้จะระบุให้ไว้ในใบแต่งทนายสำหรับคดีเรื่องนั้น หรือทำเป็นใบมอบอำนาจต่างหากในภายหลังใบเดียวหรือหลายใบก็ได้ และในกรณีหลังนี้ให้ใช้บทบัญญัติมาตรา ๖๑ บังคับ
กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ตัวความหรือผู้แทนจะปฏิเสธหรือแก้ไขข้อเท็จจริงที่ทนายความของตนได้กล่าวด้วยวาจาต่อหน้าตนในศาลในขณะนั้นก็ได้ แม้ถึงว่าตัวความหรือผู้แทนนั้นจะมิได้สงวนสิทธิเช่นนั้นไว้ในใบแต่งทนายก็ดี

มาตรา ๖๓ บทบัญญัติแห่งมาตราก่อนนี้ไม่ตัดสิทธิตัวความในอันที่จะตั้งแต่งผู้แทนหรือทนายความโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลเพื่อให้รับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งได้ชำระไว้ในศาลหรือวางไว้ยังศาลเป็นเงินค่าธรรมเนียมหรืออย่างอื่น และศาลได้สั่งให้จ่ายคืน หรือส่งมอบให้แก่ตัวความฝ่ายนั้น แต่ถ้าศาลนั้นมีความสงสัยในความสามารถหรือตัวบุคคลผู้แทน หรือทนายความซึ่งได้รับตั้งแต่งดังกล่าวข้างต้น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ตัวความหรือทนายความหรือทั้งสองคนให้มาศาลโดยตนเองได้

มาตรา ๖๔ เว้นแต่ศาลจะได้สั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อคดีมีเหตุผลพิเศษอันเกี่ยวกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทนายความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ คู่ความหรือทนายความอาจตั้งแต่งให้บุคคลใดทำการแทนได้ โดยยื่นใบมอบฉันทะต่อศาลทุกครั้ง เพื่อกระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือกำหนดวันนั่งพิจารณาหรือวันสืบพยาน หรือวันฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาล มาฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาลหรือสลักหลังรับรู้ซึ่งข้อความนั้น ๆ รับสำเนาแห่งคำให้การ คำร้องหรือเอกสารอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๑และ ๗๒ และแสดงการรับรู้สิ่งเหล่านั้น

มาตรา ๖๕ ทนายความที่ตัวความได้ตั้งแต่งให้เป็นทนายในคดีจะมีคำขอต่อศาลให้สั่งถอนตนจากการตั้งแต่งนั้นก็ได้ แต่ต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าทนายความผู้นั้นได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้ว เว้นแต่จะหาตัวความไม่พบ
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอแล้ว ให้ศาลส่งคำสั่งนั้นให้ตัวความทราบโดยเร็วโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทนแล้วแต่จะเห็นสมควร

มาตรา ๖๖ ผู้ใดอ้างว่าเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของตัวความหรือเป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องยื่นคำขอ โดยทำเป็นคำร้องในขณะที่ยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ ศาลจะทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้นั้นก็ได้ และถ้าเป็นที่พอใจว่าผู้นั้นไม่มีอำนาจ หรืออำนาจของผู้นั้นบกพร่อง ศาลมีอำนาจยกฟ้องคดีนั้นเสีย หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

ลักษณะ ๔
การยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสาร

มาตรา ๖๗ เมื่อประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติว่า เอกสารใดจะต้องส่งให้แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง (เช่นคำคู่ความที่ทำโดยคำฟ้อง คำให้การหรือคำร้องหรือคำขอโดยทำเป็นคำร้อง หมายเรียกหรือหมายอื่น ๆสำเนาคำแถลงการณ์ หรือสำเนาพยานเอกสาร ฯลฯ) เอกสารนั้นต้องทำขึ้นให้ปรากฏข้อความแน่ชัดถึงตัวบุคคลและมีรายการต่อไปนี้
(๑) ชื่อศาลที่จะรับคำฟ้อง หรือถ้าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา ชื่อของศาลนั้นจะเลขหมายคดี
(๒) ชื่อคู่ความในคดี
(๓) ชื่อคู่ความหรือบุคคล ซึ่งจะเป็นผู้รับคำคู่ความหรือเอกสารนั้น
(๔) ใจความ และเหตุผลถ้าจำเป็นแห่งคำคู่ความหรือเอกสาร
(๕) วัน เดือน ปี ของคำคู่ความ หรือเอกสาร และลายมือชื่อของเจ้าพนักงานคู่ความ หรือบุคคลซึ่งเป็นผู้ยื่นหรือเป็นผู้ส่ง
ในการยื่นหรือส่งคำคู่ความ หรือเอกสารอื่นใดอันจะต้องทำตามแบบพิมพ์ที่จัดไว้เจ้าพนักงาน คู่ความ หรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์นั้น ส่วนราคากระดาษแบบพิมพ์นั้นให้เรียกตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจะได้กำหนดไว้

มาตรา ๖๘ เพื่อประโยชน์แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้เรียกนิติบุคคลตามชื่อหรือตามชื่อที่จดทะเบียน และภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของนิติบุคคลนั้น ให้ถือเอาสำนักงานหรือสำนักงานแห่งใหญ่ ซึ่งอยู่ภายในเขตศาลที่จะยื่นฟ้องคดีหรือที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา

มาตรา ๖๙ การยื่นคำคู่ความ หรือเอกสารอื่นใดต่อศาลนั้น ให้กระทำได้โดยส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล หรือยื่นต่อศาลในระหว่างนั่งพิจารณา

มาตรา ๗๐ บรรดาคำฟ้อง หมายเรียกและหมายอื่น ๆ คำสั่ง คำบังคับของศาลนั้นให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องแต่ว่า
(๑) หมายเรียกพยาน ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานนั้นเป็นผู้ส่งโดยตรง เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น หรือพยานปฏิเสธไม่ยอมรับหมาย ในกรณีเช่นว่านี้ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง
(๒) คำสั่ง คำบังคับของศาล รวมทั้งคำสั่งกำหนดวันนั่งพิจารณาหรือสืบพยานแล้วแต่กรณี หรือคำสั่งให้เลื่อนคดี ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นอยู่ในศาลในเวลาที่มีคำสั่งและได้ลงลายมือชื่อรับรู้ไว้ ให้ถือว่าได้ส่งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำฟ้องนั้น ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ส่วนการนำส่งนั้นโจทก์จะนำส่งหรือไม่ก็ได้ เว้นแต่ศาลจะสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการนำส่ง ส่วนหมายเรียก หมายอื่น ๆ คำสั่งคำบังคับของศาลที่ได้ออกตามคำขอของคู่ความฝ่ายใด ถ้าศาลมิได้สั่งให้จัดการนำส่งด้วย ก็ให้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ในกรณีอื่น ๆ ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะจัดการส่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง

มาตรา ๗๑ คำให้การนั้น ให้ฝ่ายที่ให้การนำต้นฉบับยื่นไว้ต่อศาลพร้อมด้วยสำเนาสำหรับให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือคู่ความอื่น ๆ รับไปโดยทางเจ้าพนักงานศาล
คำร้องเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้น ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ โดยฝ่ายที่ยื่นคำร้องเป็นผู้มีหน้าที่จัดการนำส่ง

มาตรา ๗๒ คำร้องและคำแถลงการณ์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลภายในเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ หรือโดยข้อตกลงของคู่ความตามที่ศาลจดลงไว้ในรายงานนั้น ให้ผู้ยื่นคำร้องหรือคำแถลงการณ์นำต้นฉบับยื่นไว้ต่อศาลพร้อมด้วยสำเนาเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมารับไปโดยทางเจ้าพนักงานศาล
บรรดาคำร้องอื่น ๆ ให้ยื่นต่อศาลพร้อมด้วยสำเนา เพื่อส่งให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องและถ้าศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งสำเนาเช่นว่านั้น ก็ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งโดยให้คู่ความฝ่ายที่ยื่นคำร้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
บรรดาเอกสารอื่น ๆ เช่นสำเนาคำแถลงการณ์หรือสำเนาพยานเอกสารนั้น ให้ส่งแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีใดวิธีหนึ่งในสองวิธีดังต่อไปนี้
(๑) โดยคู่ความฝ่ายที่ต้องส่งนั้น ส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเอง แล้วส่งใบรับต่อศาลพร้อมกับต้นฉบับนั้น ๆ ใบรับนั้นจะทำโดยวิธีลงไว้ในต้นฉบับว่าได้รับสำเนาแล้ว และลงลายมือชื่อผู้รับกับวัน เดือน ปี ที่ได้รับก็ได้ หรือ
(๒) โดยคู่ความฝ่ายที่ต้องส่งนั้นนำสำเนายื่นไว้ต่อศาลพร้อมกับต้นฉบับ แล้วขอให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้นำส่งให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในกรณีเช่นนี้ ผู้ขอต้องไปกับเจ้าพนักงานศาลและเสียค่าธรรมเนียมในการส่งนั้นด้วย

มาตรา ๗๓ ถ้าคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดจะต้องให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งเมื่อคู่ความผู้มีหน้าที่ต้องส่งได้ร้องขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการส่งโดยเร็วเท่าที่จะทำได้ เพื่อการนี้ พนักงานผู้ส่งหมายจะให้ผู้ขอหรือบุคคลที่ผู้ขอเห็นสมควรไปด้วยเพื่อชี้ตัวคู่ความหรือบุคคลผู้รับหรือเพื่อค้นหาภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับก็ได้
ในกรณีที่ต้องส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดไปตามคำสั่งของศาล ซึ่งบุคคลอื่นหรือคู่ความไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการส่งนั้น ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลจะดำเนินการส่ง

มาตรา ๗๓ ทวิ คำคู่ความหรือเอกสารที่เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งไม่ว่าการส่งนั้นจะเป็นหน้าที่ของศาลจัดการส่งเองหรือคู่ความมีหน้าที่จัดการนำส่งก็ตาม ศาลอาจสั่งให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยให้คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำส่งเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมไปรษณียากร กรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าคำคู่ความหรือเอกสารที่ส่งโดยเจ้าพนักงานไปรษณีย์ มีผลเสมือนเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗๔ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๗๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๗๔ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาลนั้นให้ปฏิบัติดังนี้
(๑) ให้ส่งในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก และ
(๒) ให้ส่งแก่คู่ความ หรือบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลนั้น แต่ให้อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติหกมาตราต่อไปนี้
-อธิบาย
-ฎ.๘๘๕๒/๕๑ รายงานการเดินหมายมิได้ระบุเวลาที่ส่งหมายไว้ แต่ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า การส่งหมายนั้นจะต้องส่งในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา๗๔(๑) ส่วนการที่เจ้าพนักงานเดินหมายใช้สกอตเทปปิดหมายไว้ที่ประตูรั้วโดยไม่ใช้วิธีสอดหมายไว้ระหว่างประตูกระจกและประตูเหล็กนั้น ถือว่าการใช้สกอตเทปปิดหมายเป็นวิธีการที่จะทำให้หมายยึดติดแน่นเพียงพอที่จะทำให้จำเลยที่ ๕ สามารถทราบประกาศในหมายแล้ว และการที่เจ้าพนักงานเดินหมายปิดหมายในวันอาทิตย์ซึ่งมิใช่ในวันทำการทำให้ไม่มีผู้อยู่ในอาคารนั้น ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าการส่งหมายไม่ชอบเพราะไม่มีกฎหมายระบุว่าจะต้องส่งในวันทำการเท่านั้น อีกทั้ง ป.วิ.พ. มาตรา ๗๙ วรรคสอง ก็ระบุให้การปิดหมายมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา ๑๕ วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่ได้ปิดหมายไว้ ดังนั้นการส่งหมายของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบแล้ว

มาตรา ๗๕ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดให้แก่ทนายความที่คู่ความตั้งแต่งให้ว่าคดี หรือให้แก่บุคคลที่ทนายความเช่นว่านั้นได้ตั้งแต่ง เพื่อกระทำกิจการอย่างใด ๆที่ระบุไว้ในมาตรา ๖๔ นั้น ให้ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา ๗๖ เมื่อเจ้าพนักงานศาลไม่พบคู่ความหรือบุคคลที่จะส่งคำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของบุคคลนั้น ๆ ถ้าได้ส่งคำคู่ความหรือเอกสารให้แก่บุคคลใด ๆ ที่มีอายุเกินยี่สิบปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานที่ปรากฏว่าเป็นของคู่ความหรือบุคคลนั้น หรือได้ส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นตามข้อความในคำสั่งของศาลให้ถือว่าเป็นการเพียงพอที่จะฟังว่าได้มีการส่งคำคู่ความหรือเอกสารถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
ในกรณีเช่นว่ามานี้ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารแก่คู่ความฝ่ายใด ห้ามมิให้ส่งแก่คู่ความฝ่ายปรปักษ์เป็นผู้รับไว้แทน

มาตรา ๗๗ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาลไปยังที่อื่นนอกจากภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือของบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความ หรือเอกสารนั้น ให้ถือว่าเป็นการถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อ
(๑) คู่ความหรือบุคคลนั้นยอมรับคำคู่ความหรือเอกสารนั้นไว้ หรือ
(๒) การส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นได้กระทำในศาล

มาตรา ๗๘ ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่ระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสารปฏิเสธไม่ยอมรับคำคู่ความหรือเอกสารนั้นจากเจ้าพนักงานศาลโดยปราศจากเหตุอันชอบด้วยกฎหมายเจ้าพนักงานนั้นชอบที่จะขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มีอำนาจหรือเจ้าพนักงานตำรวจไปด้วยเพื่อเป็นพยาน และถ้าคู่ความหรือบุคคลนั้นยังคงปฏิเสธไม่ยอมรับอยู่อีก ก็ให้วางคำคู่ความหรือเอกสารไว้ ณ ที่นั้น เมื่อได้ทำดังนี้แล้วให้ถือว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นเป็นการถูกต้องตามกฎหมาย

มาตรา ๗๙ ถ้าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตราก่อน ศาลอาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือปิดคำคู่ความหรือเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร หรือมอบหมายคำคู่ความหรือเอกสารไว้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานตำรวจ แล้วปิดประกาศแสดงการที่ได้มอบหมายดังกล่าวแล้วนั้นไว้ดังกล่าวมาข้างต้นหรือลงโฆษณาหรือทำวิธีอื่นใดตามที่ศาลเห็นสมควร
การส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีอื่นแทนนั้น ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่คำคู่ความหรือเอกสารหรือประกาศแสดงการมอบหมายนั้นได้ปิดไว้ หรือการโฆษณาหรือวิธีอื่นใดตามที่ศาลสั่งนั้นได้ทำหรือได้ตั้งต้นแล้ว

มาตรา ๘๐ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยเจ้าพนักงานศาลหรือทางเจ้าพนักงานศาลนั้น ให้เจ้าพนักงานศาลส่งใบรับลงลายมือชื่อคู่ความ หรือผู้รับคำคู่ความหรือเอกสาร หรือส่งรายงานการส่งคำคู่ความหรือเอกสารลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานศาลต่อศาลแล้วแต่กรณี เพื่อรวมไว้ในสำนวนความ
ใบรับหรือรายงานนั้นต้องลงข้อความให้ปรากฏแน่ชัดถึงตัวบุคคลและรายการต่อไปนี้
(๑) ชื่อเจ้าพนักงานผู้ส่งหมาย และชื่อผู้รับหมาย ถ้าหากมี
(๒) วิธีส่ง วัน เดือน ปี และเวลาที่ส่ง
รายงานนั้นต้องลงวันเดือนปี และลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานผู้ทำรายงาน
ใบรับนั้นจะทำโดยวิธีจดลงไว้ที่ต้นฉบับซึ่งยื่นต่อศาลก็ได้

มาตรา ๘๑ การส่งหมายเรียกพยานโดยคู่ความที่เกี่ยวข้องนั้นให้ปฏิบัติดังนี้
(๑) ให้ส่งในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก และ
(๒) ให้ส่งแก่บุคคลซึ่งระบุไว้ในหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของบุคคลเช่นว่านั้น แต่ว่าให้อยู่ภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๗๖ และ ๗๗

มาตรา ๘๒ ถ้าจะต้องส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดไปยังคู่ความหรือบุคคลหลายคน ให้ส่งสำเนาคำคู่ความหรือเอกสารที่จะต้องส่งไปให้ทุก ๆ คน ในกรณีที่ต้องส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยเจ้าพนักงานศาลหรือทางเจ้าพนักงานศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายซึ่งมีหน้าที่จัดการนำส่งมอบสำเนาคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้พอกับจำนวนคู่ความหรือบุคคลที่จะต้องส่งให้นั้น

มาตรา ๘๓ ถ้าคู่ความฝ่ายใดจะต้องยื่นต่อศาลหรือจะต้องส่งให้แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอกซึ่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใด ภายในเวลาหรือก่อนเวลาที่กฎหมายหรือศาลได้กำหนดไว้ และการส่งเช่นว่านี้จะต้องกระทำโดยทางเจ้าพนักงานศาล ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นได้ปฏิบัติตามความมุ่งหมายของกฎหมายหรือของศาลแล้ว เมื่อคู่ความฝ่ายนั้นได้ส่งคำคู่ความหรือเอกสารเช่นว่านั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลเพื่อให้ยื่นหรือให้ส่งในเวลาหรือก่อนเวลาที่กำหนดนั้นแล้ว แม้ถึงว่าการรับคำคู่ความหรือเอกสารหรือการขอให้ส่งคำคู่ความหรือเอกสารหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกนั้นจะได้เป็นไปภายหลังเวลาที่กำหนดนั้นก็ดี
ถ้าประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้ว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใด จะต้องให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกทราบล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนวันเริ่มต้นนั่งพิจารณาหรือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายที่ต้องรับผิดในการส่งนั้นได้ปฏิบัติตามความมุ่งหมายของกฎหมายหรือของศาลตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อนนั้นได้ต่อเมื่อคู่ความฝ่ายนั้นได้ยื่นคำคู่ความหรือเอกสารที่จะต้องส่งให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลไม่ต่ำกว่าสามวันก่อนวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่กำหนดล่วงหน้าไว้นั้น
ในกรณีที่คู่ความอาจส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีส่งสำเนาตรงไปยังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกได้นั้น บทบัญญัติแห่งมาตรานี้มิได้ห้ามคู่ความที่มีหน้าที่ต้องส่งคำคู่ความหรือเอกสารดังกล่าวแล้วในอันที่จะใช้วิธีเช่นว่านี้ แต่คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องส่งใบรับของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกต่อศาลในเวลาหรือก่อนเวลาที่กฎหมายหรือศาลได้กำหนดไว้

มาตรา ๘๓ ทวิ ในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรให้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ในกรณีที่จำเลยประกอบกิจการในราชอาณาจักรด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนหรือในกรณีที่มีการตกลงเป็นหนังสือว่าคำคู่ความและเอกสารที่จะต้องส่งให้แก่จำเลยนั้น ให้ส่งแก่ตัวแทนซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรที่จำเลยได้แต่งตั้งไว้เพื่อการนี้ให้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลยหรือตัวแทนในการประกอบกิจการหรือตัวแทนในการรับคำคู่ความและเอกสาร ณ สถานที่ที่จำเลยหรือตัวแทนใช้ประกอบกิจการหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนในการประกอบกิจการหรือของตัวแทนในการรับคำคู่ความและเอกสาร ซึ่งตั้งอยู่ในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มีการเรียกบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา ๕๗ (๓) ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๘๓ ตรี การส่งคำคู่ความ คำร้อง คำแถลง หรือเอกสารอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๓ ทวิ ถ้าผู้รับไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร แต่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนหรือมีตัวแทนในการรับคำคู่ความและเอกสารหรือทนายความในการดำเนินคดีอยู่ในราชอาณาจักร ให้ส่งแก่ผู้รับหรือตัวแทนเช่นว่านั้นหรือทนายความ ณ สถานที่ที่ผู้รับหรือตัวแทนใช้ประกอบกิจการหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทน หรือภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของทนายความซึ่งตั้งอยู่ในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้รับมิได้ประกอบกิจการในราชอาณาจักรด้วยตนเอง หรือไม่มีตัวแทนดังกล่าวหรือทนายความอยู่ในราชอาณาจักรให้ส่งโดยวิธีปิดประกาศไว้ที่ศาล

มาตรา ๘๓ จัตวา ในกรณีที่จะต้องส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีตามมาตรา ๘๓ ทวิ แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยนอกราชอาณาจักรให้โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง เพื่อให้ศาลจัดส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลย ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้โจทก์ทำคำแปลหมายเรียก คำฟ้องตั้งต้นคดีและเอกสารอื่นใดที่จะส่งไปยังประเทศที่จำเลยมีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ เป็นภาษาราชการของประเทศนั้นหรือเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำรับรองคำแปลว่าถูกต้องยื่นต่อศาลพร้อมกับคำร้องดังกล่าวและวางเงินค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาลตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด
ในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์จัดทำเอกสารอื่นเพิ่มเติมยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้
ในกรณีที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามมาตรา ๑๗๔
ในกรณีที่มีการเรียกบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา ๕๗ (๓) ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๘๓ เบญจ การส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีตามมาตรา ๘๓ ทวิแก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของบุคคลดังกล่าวนอกราชอาณาจักร ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการส่ง และในกรณีส่งโดยวิธีอื่นแทนการส่งให้แก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มีการส่งโดยวิธีอื่น

มาตรา ๘๓ ฉ การส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีตามมาตรา ๘๓ ทวิแก่จำเลยหรือตัวแทนซึ่งประกอบกิจการในราชอาณาจักรหรือตัวแทนในการรับคำคู่ความและเอกสาร ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นตามมาตรา ๘๓ ตรี แก่ผู้รับหรือตัวแทนหรือทนายความ ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มีการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
การปิดประกาศตามมาตรา ๘๓ ตรี ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ และมิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗๙ มาใช้บังคับ

มาตรา ๘๓ สัตต เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามมาตรา ๘๓ จัตวาแล้ว ถ้าไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ศาลดำเนินการส่งให้แก่จำเลยหรือบุคคลภายนอกโดยผ่านกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงการต่างประเทศ

มาตรา ๘๓ อัฎฐ ในกรณีที่จะต้องส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีตามมาตรา ๘๓ ทวิ แก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของบุคคลดังกล่าวนอกราชอาณาจักร ถ้าโจทก์ยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องและสามารถแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่าการส่งตามมาตรา ๘๓ สัตต ไม่อาจกระทำได้ เพราะเหตุที่ภูมิลำเนาและสำนักทำการงานของบุคคลดังกล่าวไม่ปรากฏหรือเพราะเหตุอื่นใด หรือเมื่อศาลได้ดำเนินการตามมาตรา ๘๓ สัตต เป็นเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันแล้ว แต่ยังมิได้รับแจ้งผลการส่ง ถ้าศาลเห็นสมควรก็ให้ศาลอนุญาตให้ส่งโดยวิธีปิดประกาศไว้ที่ศาลแทน ในกรณีเช่นว่านี้ ศาลจะสั่งให้ส่งโดยวิธีประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือโดยวิธีอื่นใดด้วยก็ได้
การส่งโดยวิธีการตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศไว้ที่ศาล และมิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗๙ มาใช้บังคับ

ลักษณะ ๕
พยานหลักฐาน
หมวด ๑
หลักทั่วไป
**มาตรา ๘๔ การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใด จะต้องกระทำโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีนั้น เว้นแต่
(๑) ข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป
(๒) ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ หรือ
(๓) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้ว ในศาล

มาตรา ๘๔/๑ คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้น
มีภาระพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์ที่เป็นคุณคู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว

มาตรา ๘๕ คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐาน

มาตรา ๘๖ เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ก็ดีหรือเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐานนั้นไว้
เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น ให้ศาลมีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไป
เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วย โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ

มาตรา ๘๗ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใดเว้นแต่
(๑) พยานหลักฐานนั้นเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบ และ
(๒) คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานหลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๘ และ ๙๐ แต่ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้

มาตรา ๘๘ เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใดหรือคำเบิกความของพยานคนใด หรือมีความจำนงที่จะให้ศาลตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรืออ้างอิงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้ง หรือความเห็นของผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้าง หรือข้อเถียงของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันซึ่งบัญชีระบุพยาน โดยแสดงเอกสารหรือสภาพของเอกสารที่จะอ้าง และรายชื่อ ที่อยู่ ของบุคคล ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ วัตถุ หรือสถานที่ซึ่งคู่ความฝ่ายนั้นระบุอ้างเป็นพยาน หรือขอให้ศาลไปตรวจ หรือขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญ แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อให้คู่ความฝ่ายอื่นมารับไปจากเจ้าพนักงานศาล

มาตรา ๘๙ คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานของตนเพื่อพิสูจน์ต่อพยานของคู่ความฝ่ายอื่นในกรณีต่อไปนี้
(๑) หักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือ
(๒) พิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำ เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นใดซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้น ให้คู่ความฝ่ายนั้นถามค้านพยานดังกล่าวเสียในเวลาที่พยานเบิกความเพื่อให้พยานมีโอกาสอธิบายถึงข้อความเหล่านั้น แม้ว่าพยานนั้นจะมิได้เบิกความถึงข้อความดังกล่าวก็ตาม
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายนั้นมิได้ถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายอื่นไว้ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ต่อมานำพยานมาสืบถึงข้อความดังกล่าวมาข้างต้น คู่ความฝ่ายอื่นที่สืบพยานนั้นไวชอบที่จะคัดค้านได้ ในขณะที่คู่ความฝ่ายนั้นนำพยานหลักฐานมาสืบ และในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังคำพยานเช่นว่ามานั้น
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ต่อพยานตามวรรคหนึ่งแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่า เมื่อเวลาพยานเบิกความนั้นตนไม่รู้ หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงข้อความดังกล่าวมาแล้ว หรือถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งคงวามยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านี้ ศาลจะยอมรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ก็ได้ แต่ในกรณีเช่นนี้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะขอให้เรียกพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาสืบอีกก็ได้ หรือเมื่อศาลเห็นสมควรจะเรียกมาสืบเองก็ได้

มาตรา ๙๐ ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนตามมาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดยื่นคำแถลงหรือคำร้องขออนุญาตอ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานตามมาตรา ๘๘ วรรคสองหรือวรรคสาม ให้ยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นพร้อมกับการยื่นคำแถลงหรือคำร้องดังกล่าว เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ยื่นสำเนาเอกสารภายหลังเมื่อมีเหตุอันสมควร
คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงพยานหลักฐานไม่ต้องยื่นสำเนาเอกสารต่อศาล และไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้คู่ความฝ่ายอื่นในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารเป็นชุดซึ่งคู่ความฝ่ายอื่นทราบดีอยู่แล้วหรือสามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารนั้น เช่นจดหมายโต้ตอบระหว่างคู่ความในคดี หรือสมุดบัญชีการค้า และสมุดบัญชีของธนาคารหรือเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่น
(๒) เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับที่อยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือของบุคคลภายนอก
(๓) ถ้าการคัดสำเนาเอกสารจะทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้าเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความซึ่งอ้างอิงเอกสารนั้น หรือมีเหตุผลแสดงว่าไม่อาจคัดสำเนาเอกสารให้เสร็จภายในกำหนดเวลาที่ให้ยื่นสำเนาเอกสารนั้น
กรณีตาม (๑) หรือ (๓) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขออนุญาตงดการยื่นสำเนาเอกสารนั้นและขอยื่นต้นฉบับเอกสารแทน เพื่อให้ศาลหรือคู่ความฝ่ายอื่นตรวจดูตามเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรกำหนด
กรณีตาม (๒) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกเอกสารนั้นมาจากผู้ครอบครองตามมาตรา ๑๒๓ โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี และให้คู่ความฝ่ายนั้นมีหน้าที่ติดตามเพื่อให้ได้เอกสารดังกล่าวมาภายในเวลาที่ศาลกำหนด
-อธิบาย
-ฎ.๙๕๐๑/๔๒ สำเนาเอกสารได้แนบท้ายฟ้องแล้วแม้มิได้ขออนุญาตศาลให้ถือเอาแทนการส่งสำเนาแก่คู่ความ ก็ไม่มีผลให้คดีโจทก์เสียไป

มาตรา ๙๑ คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกันได้

มาตรา ๙๒ ถ้าคู่ความหรือบุคคลใดจะต้องเบิกความหรือนำพยานหลักฐานชนิดใด ๆ มาแสดง และคำเบิกความหรือพยานหลักฐานนั้นอาจเปิดเผย
(๑) หนังสือราชการหรือข้อความอันเกี่ยวกับงานของแผ่นดินซึ่งโดยสภาพจะต้องรักษาเป็นความลับไว้ชั่วคราวหรือตลอดไป และคู่ความหรือบุคคลนั้นเป็นผู้รักษาไว้ หรือได้ทราบมาโดยตำแหน่งราชการ หรือในหน้าที่ราชการ หรือกึ่งราชการอื่นใด
(๒) เอกสารหรือข้อความที่เป็นความลับใด ๆ ซึ่งตนได้รับมอบหมายหรือบอกเล่าจากลูกความในฐานะที่ตนเป็นทนายความ
(๓) การประดิษฐ์ แบบ หรือการงานอื่น ๆ ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่ให้เปิดเผย
คู่ความหรือบุคคลเช่นว่านั้นชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมเบิกความหรือนำพยานหลักฐานนั้น ๆ มาแสดงได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้เปิดเผยได้
เมื่อคู่ความหรือบุคคลใดปฏิเสธไม่ยอมเบิกความหรือนำพยานหลักฐานมาแสดงดังกล่าวมาแล้ว ให้ศาลมีอำนาจที่จะหมายเรียกพนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มาศาลและให้ชี้แจงข้อความตามที่ศาลต้องการเพื่อวินิจฉัยว่า การปฏิเสธนั้นชอบด้วยเหตุผลหรือไม่ถ้าศาลเห็นว่า การปฏิเสธนั้นไม่มีเหตุผลฟังได้ ศาลมีอำนาจออกคำสั่งมิให้คู่ความหรือบุคคลเช่นว่านั้นยกประโยชน์แห่งมาตรานี้ขึ้นใช้ และบังคับให้เบิกความหรือนำพยานหลักฐานนั้นมาแสดงได้

*มาตรา ๙๓ การอ้างเอกสารเป็นพยานนั้นให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่
(๑) เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ให้ศาลยอมรับฟังสำเนาเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐาน
(๒) ถ้าต้นฉบับเอกสารนำมาไม่ได้ เพราะถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือสูญหาย หรือไม่สามารถนำนำมาได้โดยประการอื่น อันมิได้เกิดจากพฤติการณ์ที่ผู้อ้างต้องรับผิดชอบ หรือเมื่อศาลเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องสืบสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับเอกสารที่นำมาไม่ได้นั้น ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
(๓) ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการนั้นจะนำมาแสดงได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการที่เกี่ยวข้องเสียก่อน อนึ่ง สำเนาเอกสารซึ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ได้รับรองว่าถูกต้องแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพียงพอในการที่จะนำมาแสดง เว้นแต่ศาลจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
(๔) เมื่อคู่ความฝ่ายที่ถูกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตน มิได้คัดค้าน
การนำเอกสารนั้นมาสืบตามมาตรา ๑๒๕ ให้ศาลรับฟังสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดอำนาจศาลตามมาตรา ๑๒๕ วรรคสาม

*มาตรา ๙๔ เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง
(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก
แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (๒) แห่งมาตรา ๙๓ และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด

มาตรา ๙๕ ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่บุคคลนั้น
(๑) สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ และ
(๒) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง แต่ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งของศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น
ถ้าศาลไม่ยอมรับไว้ซึ่งคำเบิกความของบุคคลใด เพราะเห็นว่าบุคคลนั้นจะเป็นพยานหรือให้การดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องร้องคัดค้านก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดรายงานระบุนามพยาน เหตุผลที่ไม่ยอมรับและข้อคัดค้านของคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ ส่วนเหตุผลที่คู่ความฝ่ายคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้น ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงานหรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำแถลงต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน
-อธิบาย
-ให้ใช้ในคดีอาญาด้วย
-หากไม่รู้ตัวตนเองศาลฎีกาว่า เป็นพยานบอกเล่า มีข้อยกเว้นที่รับฟังพยานบอกเล่าได้คือกรณีคำบอกเล่าขอ
ผู้ใกล้ตายและรู้ตัวว่าตนจะตายอย่างแน่นอน ซึ่งสอดคล้องกับการแก้กฎหมายโดยการเพิ่มเติม ม.๙๕/๑
-คำให้การชั้นสอบสวนไม่ใช่พยานบุคคล แต่เมื่อนำพนักงานสอบสวนผู้สอบสวนพยานบุคคลชั้นสอบสวนมาเบิกความ คำเบิกความของพนักงานสอบสวนเป็นพยานบอกเล่า ทั้งๆ ม.๙๕ ห้ามรับฟัง แต่พยานบุคคลที่ไม่รู้เห็น
แต่คำให้การที่เป็นเอกสารบันทึกคำให้การไว้ ศาลก็ถือเป็นพยานบอกเล่าเช่นกัน

มาตรา ๙๕/๑ ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลก็ดี หรือที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลก็ดี หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า
ห้ามมิให้รับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่
(๑) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ
(๒) มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลอันสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น
ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่สมควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด ให้รนำความในมาตรา ๙๕ วรรคสองมาบังคับใช้โดยอนุโลม

มาตรา ๙๖ พยานที่เป็นคนหูหนวก หรือเป็นใบ้หรือทั้งหูหนวกและเป็นใบ้นั้นอาจถูกถามหรือให้คำตอบโดยวิธีเขียนหนังสือ หรือโดยวิธีอื่นใดที่สมควรได้ และคำเบิกความของบุคคลนั้น ๆ ให้ถือว่าเป็นคำพยานบุคคลตามประมวลกฎหมายนี้

มาตรา ๙๗ คู่ความฝ่ายหนึ่ง จะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้
อธิบาย
-คดีแพ่ง (๑) อ้างคู่ความฝ่ายอื่นเป็นพยานได้ (๒) อ้างตนเองเป็นพยานได้
-คดีอาญา (๑) ห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน (๒) จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานได้
-คดีอาญา เป็นไปตาม ป.วิ อ.มาตรา ๒๓๒,๒๓๓ จึงนำ ม.๙๗ มาใช้ไม่ได้

มาตรา ๙๘ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะอ้างบุคคลใดเป็นพยานของตนก็ได้เมื่อบุคคลนั้นเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในศิลป วิทยาศาสตร์ การฝีมือ การค้า หรือการงานที่ทำหรือในกฎหมายต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของพยานอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อความในประเด็นทั้งนี้ไม่ว่าพยานจะเป็นผู้มีอาชีพในการนั้นหรือไม่

มาตรา ๙๙ ถ้าศาลเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒๙ และ ๑๓๐ เมื่อศาลเห็นสมควร ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะอยู่ในชั้นใด หรือเมื่อมีคำขอของคู่ความฝ่ายใดภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๘๗ และ๘๘ ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดการตรวจหรือการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเช่นว่านั้นได้
บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ไม่ตัดสิทธิของคู่ความในอันที่จะเรียกบุคคลผู้มีความรู้เชี่ยวชาญมาเป็นพยานฝ่ายตนได้

มาตรา ๑๐๐ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งประสงค์จะอ้างอิงข้อเท็จจริงใดและขอให้คู่ความฝ่ายอื่นตอบว่าจะรับรองข้อเท็จจริงนั้นว่าถูกต้องหรือไม่ อาจส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งรายการข้อเท็จจริงนั้นไปให้คู่ความฝ่ายอื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ถ้าคู่ความฝ่ายอื่นได้รับคำบอกกล่าวโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความฝ่ายที่ส่งคำบอกกล่าวร้องขอต่อศาลในวันสืบพยาน ให้ศาลสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นว่าจะยอมรับข้อเท็จจริงตามที่ได้รับคำบอกกล่าวนั้นว่าถูกต้องหรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำตอบไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาถ้าคู่ความฝ่ายนั้นไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่ศาลจะเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบหรือแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งในขณะนั้น ศาลจะมีคำสั่งให้คู่ความฝ่ายนั้นทำคำแถลงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้นมายื่นต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรก็ได้
บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่เรื่องเอกสารทั้งหมดหรือฉบับใดฉบับหนึ่งที่คู่ความแสดงความจำนงจะอ้างอิงด้วยโดยอนุโลม แต่ต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นไปพร้อมกับคำบอกกล่าวและต้องมีต้นฉบับเอกสารนั้นให้คู่ความฝ่ายอื่นตรวจดูได้เมื่อต้องการ เว้นแต่ต้นฉบับเอกสารนั้นอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือของบุคคลภายนอก

มาตรา ๑๐๑ ถ้าบุคคลใดเกรงว่า พยานหลักฐานซึ่งตนอาจต้องอ้างอิงในภายหน้าจะสูญหายหรือยากแก่การนำมา หรือถ้าคู่ความฝ่ายใดในคดีเกรงว่าพยานหลักฐานซึ่งตนจำนงจะอ้างอิงจะสูญหายเสียก่อนที่จะนำมาสืบ หรือเป็นการยากที่จะนำมาสืบในภายหลังบุคคลนั้นหรือคู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอหรือคำร้องให้ศาลมีคำสั่งให้สืบพยานหลักฐานนั้นไว้ทันที
เมื่อศาลได้รับคำขอเช่นว่านั้น ให้ศาลหมายเรียกผู้ขอและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องมายังศาล และเมื่อได้ฟังบุคคลเหล่านั้นแล้ว ให้ศาลสั่งคำขอตามที่เห็นสมควร ถ้าศาลสั่งอนุญาตตามคำขอแล้ว ให้สืบพยานไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ส่วนรายงานและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนั้นให้ศาลเก็บรักษาไว้
ในกรณีที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและยังมิได้เข้ามาในคดีนั้น เมื่อศาลได้รับคำขอตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลสั่งคำขอนั้นอย่างคำขออันอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว ถ้าศาลสั่งอนุญาตตามคำขอแล้วให้สืบพยานไปฝ่ายเดียว

มาตรา ๑๐๑/๑ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินซึ่งจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานใดเป็นการเร่งด่วนและไม่สามารถแจ้งให้คู่ความอื่นทราบก่อนได้ เมื่อมีการยื่นคำขอตามมาตรา ๑๐๑ พร้อมกับคำฟ้องหรือคำให้การ หรือภายหลังจากนั้น คู่ความฝ่ายที่ขอจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องรวมไปด้วยเพื่อให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าก็ได้ และถ้าจำเป็นจะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึดหรือให้ส่งต่อศาลซึ่งเอกสารหรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานที่ขอสืบไว้ก่อนด้วยก็ได้
คำร้องตามวรรคหนึ่งต้องบรรยายข้อเท็จจริงที่แสดงว่ามีเหตุฉุกเฉินที่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานใดโดยเร่งด่วนและไม่สามารถแจ้งให้คู่ความฝ่ายอื่นทราบก่อนได้ รวมทั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการที่มิได้มีการสืบพยานหลักฐานดังกล่าว ส่วนในกรณีที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึดหรือส่งต่อศาลซึ่งเอกสารหรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐาน คำร้องนั้นต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงที่แสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องยึดหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุนั้นว่ามีอยู่อย่างไร ในการนี้ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำร้องนั้นเว้นแต่จะเป็นที่พอใจขอศาลจากการไต่สวนว่ามีเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นตามคำร้องนั้นจริง แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิคู่ความอื่นที่จะขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานดังกล่าวมาศาลเพื่อถามค้านและดำเนินการตามมาตรา ๑๑๗ ในภายหลัง หากไม่อาจดำเนินการดังกล่าวได้ ศาลต้องใช้ความระมัดระวังในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน

มาตรา ๑๐๑/๒ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้ยึดหรือส่งเอกสาร หรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐาน ศาลอาจกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควร และจะสั่งด้วยว่าให้ผู้ขอนำเงินหรือหาประกันตามความจำเป็นที่เห็นสมควรมาวางศาลเพื่อการชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับคงวามเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่บุคคลใด เนื่องจากได้มีคำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่ามีเหตุจำเป็นโดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอก็ได้
ให้นำคงวามในมาตรา ๒๖๑ มาตรา ๒๖๒ มาตรา ๒๖๓ มาตรา ๒๖๗ มาตรา ๒๖๘ และมาตรา ๒๖๙ มาใช้บังคับแก่กรณีตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม และในกรณีที่ทรัพย์ที่ศาลสั่งยึดนั้นเป็นของบุคคลที่สาม ให้บุคคลที่สามมีสิทธิเสมือเป็นจำเลยในคดี และเมื่อหมดความจำเป็นที่จะใช้เอกสารหรือวัตถุนั้นเป็นพยานหลักฐานต่อไปแล้ว เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อผู้มีสิทธิจะได้รับคืนร้องขอ ให้ศาลมีคำสั่งคืนเอกสารหรือวัตถุนั้นแก่ผู้ขอ

มาตรา ๑๐๒ ให้ศาลที่พิจารณาคดีเป็นผู้สืบพยานหลักฐาน โดยจะสืบในศาลหรือนอกศาล ณ ที่ใด ๆ ก็ได้ แล้วแต่ศาลจะสั่งตามที่เห็นสมควรตามความจำเป็นแห่งสภาพของพยานหลักฐานนั้น
แต่ถ้าศาลที่พิจารณาคดีเห็นเป็นการจำเป็น ให้มีอำนาจมอบให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลนั้น หรือตั้งให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนได้ ให้ผู้พิพากษาที่รับมอบหรือศาลที่ได้รับแต่งตั้งนั้นมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับศาลที่พิจารณาคดีรวมทั้งอำนาจที่จะมอบให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลนั้นหรือตั้งศาลอื่นให้ทำการสืบพยานหลักฐานแทนต่อไปด้วย
ถ้าศาลที่พิจารณาคดีได้แต่งตั้งให้ศาลอื่นสืบพยานแทน คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแถลงต่อศาลที่พิจารณาคดีว่า ตนมีความจำนงจะไปฟังการพิจารณาก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ศาลที่ได้รับแต่งตั้งแจ้งวันกำหนดสืบพยานหลักฐานให้ผู้ขอทราบล่วงหน้าอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าเจ็ดวันคู่ความที่ไปฟังการพิจารณานั้นชอบที่จะใช้สิทธิได้เสมือนหนึ่งว่ากระบวนพิจารณานั้นได้ดำเนินในศาลที่พิจารณาคดี
ให้ส่งสำเนาคำฟ้องและคำให้การพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานอื่น ๆ อันจำเป็นเพื่อสืบพยานหลักฐานไปยังศาลที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวแล้ว ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างอิงพยานหลักฐานนั้นมิได้แถลงความจำนงที่จะไปฟังการพิจารณา ก็ให้แจ้งไปให้ศาลที่ได้รับแต่งตั้งทราบข้อประเด็นที่จะสืบ เมื่อได้สืบพยานหลักฐานเสร็จแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่รับแต่งตั้งจะต้องส่งรายงานที่จำเป็นและเอกสารอื่น ๆ ทั้งหมดอันเกี่ยวข้องในการสืบพยานหลักฐานไปยังศาลที่พิจารณาคดี

มาตรา ๑๐๓ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการขาดนัดการร้องสอด และการขับไล่ออกนอกศาล ห้ามมิให้ศาลที่พิจารณาคดี หรือผู้พิพากษาที่รับมอบหมาย หรือศาลที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวข้างต้นทำการสืบพยานหลักฐานใด โดยมิได้ให้โอกาสเต็มที่แก่คู่ความทุกฝ่ายในอันที่จะมาฟังการพิจารณา และใช้สิทธิเกี่ยวด้วยกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ ไม่ว่าพยานหลักฐานนั้นคู่ความฝ่ายใดจะเป็นผู้อ้างอิงหรือศาลเป็นผู้สั่งให้สืบ

มาตรา ๑๐๓/๑ ในกรณีที่คู่ความตกลงกันและศาลเห็นเป็นการจำเป็นและสมควรศาลอาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือเจ้าพนักงานอื่นซึ่งคู่ความเห็นชอบให้ทำการสืบพยานหลักฐานส่วนใดส่วนหนึ่งที่จะต้องกระทำนอกศาลแทนได้
ให้เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้นำ
ความในมาตรา ๑๐๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๑๐๓/๒ คู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องอาจร้องขอต่อศาลให้ดำเนินการสืบพยานหลักฐานไปตามกรรมวิธีที่คู่ความตกลงกัน ถ้าศาลเห็นสมควรเพื่อให้การสืบพยานหลักฐานเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว และเที่ยงธรรม ศาลจะอนุญาตตามคำขอนั้นก็ได้ เว้นแต่การสืบพยานหลักฐานนั้นจะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

มาตรา ๑๐๓/๓ เพื่อให้การสืบพยานหลักฐานเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกามีอำนาจออกข้อกำหนดใดๆเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการนำสืบพยานหลักฐานได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในกฎหมาย
ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาวรรคหนึ่ง เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

มาตรา ๑๐๔ ให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอ ให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น
ในการวินิจฉัยว่าพยานบอกเล่าตามมาตรา ๙๕/๑ หรือบันทึกถ้อยคำที่ผู้ให้ถ้อยคำมิได้มาศาลตามมาตรา ๑๐๒/๑ วรรคสาม วรรคสี่ หรือบันทึกถ้อยคำตามมาตรา ๑๒๐/๒ จะมีน้ำหนักให้เชื่อได้หรือไม่เพียงใดนั้น ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังโดยคำนึงถึงสภาพลักษณะ และแหล่งที่มาของพยานบอกเล่าหรือบันทึกถ้อยคำนั้นด้วย

มาตรา ๑๐๕ คู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยพยานหลักฐาน กระทำให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม หรือค่าธรรมเนียมเกินกว่าที่ควรเสีย ค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นนั้น ให้ถือว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอันไม่จำเป็นตามความหมายแห่งมาตรา ๑๖๖ และให้คู่ความฝ่ายที่ก่อให้เกิดขึ้นนั้นเป็นผู้ออกใช้ให้


หมวด ๒
ว่าด้วยการมาศาลของพยานและการซักถามพยาน

มาตรา ๑๐๖ ที่กรณีที่คู่ความฝ่ายใดไม่สามารถนำพยานของตนมาศาลได้เอง คู่ความฝ่ายนั้นอาจขอต่อศาลก่อนวันสืบพยาน ให้ศาลออกหมายเรียกพยานมาศาลได้ โดยศาลอาจให้คู่ความฝ่ายนั้นแถลงถึงความเกี่ยวพันของพยานกับข้อเท็จจริงในคดีอันจำเป็นที่จะต้องออกหมายเรียกพยานดังกล่าวด้วย และต้องส่งหมายเรียกพร้อมสำเนาคำแถลงของผู้ขอให้พยานรู้ล่วงหน้าอย่างน้อยสามวัน
หมายเรียกพยานต้องมีข้อความดังนี้
(๑) ชื่อและตำบลที่อยู่ของพยาน ชื่อคู่ความและศาล และทนายความฝ่ายผู้ขอ
(๒) สถานที่และวันเวลาซึ่งพยานจะต้องไป
(๓) กำหนดโทษที่จะต้องรับในกรณีที่ไม่ไปตามหมายเรียกและเบิกความเท็จ
ถ้าศาลเห็นว่าพยานจะไม่สามารถเบิกความได้โดยมิได้ตระเตรียม ศาลจะจดแจ้งข้อเท็จจริงซึ่งพยานอาจถูกซักถามลงไว้ในหมายเรียกด้วยก็ได้

มาตรา ๑๐๖/๑ ห้ามมิให้ออกหมายเรียกพยานดังต่อไปนี้
(๑) พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในว่ากรณีใดๆ
(๒) พระภิกษุ สามเณร ในพุทธศาสนา ไม่ว่ากรณีใดๆ
(๓) ผู้ทีได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันตามกฎหมาย
ในกรณีตาม (๒) และ (๓) ให้ศาลหรือผู้พิพากษาที่รับมอบหรือศาลที่ได้รับการแต่งตั้งออกคำบอกกล่าวว่าจะสืบพยานนั้น ณ สถานที่และวันเวลาใดแทนการออกหมายเรียก โดยในกรณีตาม (๒) ให้ส่งไปยังพยาน ส่วนตาม (๓) ให้ส่งคำบอกกล่าวไปยังสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติว่าด้วยการนั้น หรือตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

มาตรา ๑๐๗ ถ้าศาลเห็นว่าในการสืบสวนหาความจริงจำเป็นต้องไปสืบพยาน ณ สถานที่ซึ่งข้อเท็จจริงอันประสงค์จะให้พยานเบิกความนั้นได้เกิดขึ้น ให้ศาลหรือผู้พิพากษาที่รับมอบ หรือศาลที่ได้รับแต่งตั้งเพื่อการนั้นส่งหมายเรียกไปยังพยานระบุสถานที่และวันเวลาที่จะไปสืบพยาน แล้วสืบพยานไปตามนั้น

มาตรา ๑๐๘ พยานที่ได้รับหมายเรียกโดยชอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๖ และมาตรา ๑๐๗ นั้นจำต้องไป ณ สถานที่และตามวันเวลาที่กำหนดไว้ เว้นแต่มีเหตุเจ็บป่วยหรือมีข้อแก้ตัวอันจำเป็นอย่างอื่น โดยแจ้งเหตุนั้นให้ศาลทราบแล้ว และศาลเห็นว่าข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวนั้นฟังได้

มาตรา ๑๐๙ เมื่อพยานคนใดได้เบิกความแล้ว ไม่ว่าพยานนั้นจะได้รับหมายเรียกหรือคู่ความนำมาเองก็ดี พยานนั้นย่อมหมดหน้าที่ ๆ จะอยู่ที่ศาลอีกต่อไป เว้นแต่ศาลจะได้สั่งให้พยานนั้นรอคอยอยู่ตามระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดไว้

มาตรา ๑๑๐ ถ้าพยานคนใดที่คู่ความได้บอกกล่าวความจำนงจะอ้างอิงคำเบิกความของพยานโดยชอบแล้ว ไม่ไปศาลในวันกำหนดนับสืบพยานนั้น ศาลชอบที่จะดำเนินการพิจารณาต่อไป และชี้ขาดตัดสินคดีโดยไม่ต้องสืบพยานเช่นว่านั้นได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตราต่อไปนี้

มาตรา ๑๑๑ เมื่อศาลเห็นว่าคำเบิกความของพยานที่ไม่มาศาลเป็นข้อสำคัญในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี
(๑) แต่ศาลเห็นว่าข้ออ้างว่าพยานไม่สามารถมาศาลนั้นเป็นเพราะเหตุเจ็บป่วยของพยาน หรือพยานมีข้อแก้ตัวอันจำเป็นอย่างอื่นที่ฟังได้ ศาลจะเลื่อนการนั่งพิจารณาคดีไปเพื่อให้พยานมาศาล หรือเพื่อสืบพยานนั้น ณ สถานที่และเวลาอันควรแก่พฤติการณ์ก็ได้ หรือ
(๒) ศาลเห็นว่าพยานได้รับหมายเรียกโดยชอบแล้ว จงใจไม่ไปยังศาล หรือไม่ไป ณ สาถนที่และตามวันเวลาทีกำหนดไว้ หรือได้รับคำสั่งศาลให้รอคอยอยู่แล้วจงใจหลบเสีย ศาลจะเลื่อนการนั่งพิจารณาคดีไปและออกหมายจับและเอาตัวพยานกักขังไว้จนกว่าพยานจะได้เบิกความตามวันที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ทั้งนี้ไม่เป็นการลบล้างโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๑๑๒ ก่อนเบิกความ พยานทุกคนต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนา หรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่
(๑) พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(๒) บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบห้าปี หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่าหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ
(๓) พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา
(๔) บุคคลซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องให้สาบาน หรือกล่าวคำปฏิญาณ

มาตรา ๑๑๓ พยานทุกคนต้องเบิกความด้วยวาจาและห้ามไม่ให้พยานอ่านข้อความที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล หรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ

มาตรา ๑๑๔ ห้ามไม่ให้พยานเบิกความต่อหน้าพยานอื่นที่จะเบิกความภายหลังและศาลมีอำนาจที่จะสั่งพยานอื่นที่อยู่ในห้องพิจารณาให้ออกไปเสียได้
แต่ถ้าพยานคนใดเบิกความโดยได้ฟังคำพยานคนก่อนเบิกความต่อหน้าตนมาแล้วและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่าศาลไม่ควรฟังคำเบิกความเช่นว่านี้ เพราะเป็นการผิดระเบียบถ้าศาลเห็นว่าคำเบิกความเช่นว่านี้เป็นที่เชื่อฟังได้ หรือมิได้เปลี่ยนแปลงไปโดยได้ฟังคำเบิกความของพยานคนก่อน หรือไม่สามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้ ศาลจะไม่ฟังว่าคำเบิกความเช่นว่านี้เป็นผิดระเบียบก็ได้
อธิบาย
-การห้ามเบิกความต่อหน้าพยานอื่น หากพยานอื่นเป็นจำเลยที่เบิกความเป็นพยานให้ตนเองไม่ต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๑๑๕ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือพระภิกษุสามเณรในพุทธศาสนา แม้มาเป็นพยาน จะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใด ๆ ก็ได้ สำหรับบุคคลที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันตามกฎหมายจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใดๆภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามกฎหมายนั้นๆก็ได้

มาตรา ๑๑๖ ในเบื้องต้นให้พยานตอบคำถามเรื่อง นาม อายุ ตำแหน่ง หรืออาชีพภูมิลำเนาและความเกี่ยวพันกับคู่ความแล้วศาลอาจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
(๑) ศาลเป็นผู้ถามพยานเอง กล่าวคือ แจ้งให้พยานทราบประเด็นและข้อเท็จจริงซึ่งต้องการสืบแล้วให้พยานเบิกความในข้อนั้น ๆ โดยวิธีเล่าเรื่องตามลำพังหรือโดยวิธีตอบคำถามของศาล หรือ
(๒) ให้คู่ความซักถาม และถามค้านพยานไปทีเดียว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตราต่อไปนี้

มาตรา ๑๑๗ คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานชอบที่จะตั้งข้อซักถามพยานได้ในทันใดที่พยานได้สาบานตนและแสดงตนตามมาตรา ๑๑๒ และ ๑๑๖ แล้ว หรือถ้าศาลเป็นผู้ซักถามพยานก่อนก็ให้คู่ความซักถามได้ต่อเมื่อศาลได้ซักถามเสร็จแล้ว
เมื่อคู่ความฝ่ายที่ต้องอ้างพยานได้ซักถามพยานเสร็จแล้ว คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบที่จะถามค้านพยานนั้นได้
เมื่อได้ถามค้านพยานเสร็จแล้ว คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานชอบที่จะถามติงได้
เมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้ว ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดซักถามพยานอีก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดได้รับอนุญาตให้ถามพยานได้ดังกล่าวนี้ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งย่อมถามค้านพยานได้อีกในข้อที่เกี่ยวกับคำถามนั้น
คู่ความที่ระบุพยานคนใดไว้ จะไม่ติดใจสืบพยานคนนั้นก็ได้ ในเมื่อพยานคนนั้นยังมิได้เบิกความตามข้อถามของศาล หรือของคู่ความฝ่ายที่อ้าง แต่ถ้าพยานได้เริ่มเบิกความแล้วพยานอาจถูกถามค้านหรือถามติงได้
ถ้าพยานเบิกความเป็นปรปักษ์แก่คู่ความฝ่ายที่อ้างตนมา คู่ความฝ่ายนั้นอาจขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถามพยานนั้นเสมือนหนึ่งพยานนั้นเป็นพยานซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา
การซักถามพยานก็ดี การซักค้านพยานก็ดี การถามติงพยานก็ดี ถ้าคู่ความคนใดได้ตั้งทนายความไว้หลายคน ให้ทนายความคนเดียวเป็นผู้ถาม เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น

มาตรา ๑๑๘ ในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะซักถามพยานก็ดี หรือถามติงพยานก็ดี ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้คำถามนำ เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือได้รับอนุญาตจากศาล
ในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะถามติงพยาน ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้คำถามอื่นใดนอกจากคำถามที่เกี่ยวกับคำพยานเบิกความตอบคำถามค้าน
ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามไม่ให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถามพยานด้วย
(๑) คำถามอันไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี
(๒) คำถามที่อาจทำให้พยาน หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกต้องรับโทษทางอาญา หรือคำถามที่เป็นหมิ่นประมาทพยาน เว้นแต่คำถามเช่นว่านั้นเป็นข้อสาระสำคัญในอันที่จะชี้ขาดข้อพิพาท
ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถามพยานฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งร้องคัดค้าน ศาลมีอำนาจที่จะชี้ขาดว่าควรให้ใช้คำถามนั้นหรือไม่ ในกรณีเช่นนี้ ถ้าคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องคัดค้านคำชี้ขาดของศาล ก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดไว้ในรายงานซึ่งคำถามและข้อคัดค้าน ส่วนเหตุที่คู่ความคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้นให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงาน หรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำแถลงเป็นหนังสือเพื่อรวมไว้ในสำนวน

มาตรา ๑๑๙ ไม่ว่าเวลาใด ๆ ในระหว่างที่พยานเบิกความ หรือภายหลังที่พยานได้เบิกความแล้ว แต่ก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลมีอำนาจที่จะถามพยานด้วยคำถามใด ๆ ตามที่เห็นว่าจำเป็น เพื่อให้คำเบิกความของพยานบริบูรณ์ หรือชัดเจนยิ่งขึ้น หรือเพื่อสอบสวนถึงพฤติการณ์ที่ทำให้พยานเบิกความเช่นนั้น
ถ้าพยานสองคนหรือกว่านั้นเบิกความขัดกัน ในข้อสำคัญแห่งประเด็น เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ให้ศาลมีอำนาจเรียกพยานเหล่านั้นมาสอบถามปากคำพร้อมกันได้

มาตรา ๑๒๐ ถ้าคู่ความฝ่ายใดอ้างว่าคำเบิกความของพยานคนใดที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้าง หรือที่ศาลเรียกมาไม่ควรเชื่อฟัง โดยเหตุผลซึ่งศาลเห็นว่ามีมูล ศาลอาจยอมให้คู่ความฝ่ายนั้นนำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนได้แล้วแต่จะเห็นควร

มาตรา ๑๒๐/๑ เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำร้องและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่คัดค้าน และศาลเห็นสมควรศาลอาจอนุญาตให้คู่ความฝ่ายที่มีคำร้องเสนอบันทึกถ้อยคำทั้งหมด หรือแต่บางส่วนของผู้ที่ตนประสงค์จะอ้างเป็นพยานยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำต่อศาลแทนการซักถามผู้ให้ถ้อยคำเป็นพยานต่อหน้าศาลได้
ถ้าคู่ความที่ประสงค์จะเสนอบันทึกถ้อยคำแทนการซักถามพยานดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง จะต้องยื่นคำร้องแสดงความจำนงพร้อมเหตุผลต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน และให้ศาลพิจารณากำหนดระยะเวลาที่คู่ความจะต้องยื่นบันทึกถ้อยคำดังกล่าวต่อศาลและส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำนั้นให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันสืบพยานคนนั้น เมื่อมีการยื่นบันทึกถ้อยคำคู่ความที่ยื่นไม่อาจขอถอนบันทึกถ้อยคำนั้น บันทึกถ้อยคำนั้นเมื่อพยานเบิกความรับรองแล้วให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความตอบคำซักถาม
ให้ผู้ให้ถ้อยคำมาศาลเพื่อเบิกความตอบคำซักถามเพิ่มเติม ตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความ หากผู้ให้ถ้อยคำไม่มาศาล ให้ศาลปฏิเสธที่จะรับฟังบันทึกถ้อยคำของผู้นั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นหรือมีเหตุสุดวิสัยที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถมาศาลได้ และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จะรับฟังบันทึกถ้อยคำที่ผู้ให้ถ้อยคำมิได้มาศาลนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นก็ได้
ในกรณีที่คู่ความตกลงกันให้ผู้ให้ถ้อยคำไม่ต้องมาศาล หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือไม่ติดใจถามค้าน ให้ศาลรับฟังบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้

มาตรา ๑๒๐/๒ เมื่อคู่ความมีคำร้องร่วมกันและศาลเห็นสมควร ศาลอาจอนุญาตให้เสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลแทนการนำพยานบุคคลมาเบิกความต่อหน้าศาลได้ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิผู้ให้ถ้อยคำที่จะมาศาลเพื่อให้การเพิ่มเติม
สำหรับลายมือชื่อของผู้ให้ถ้อยคำให้นำมาตรา ๔๗ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๑๒๐/๓ บันทึกถ้อยคำตามมาตรา ๑๒๐/๑ ละมาตรา ๑๒๐/๒ ให้มีรายการดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อศาลและเลขคดี
(๒) วัน เดือน ปี และสถานที่ที่ทำบันทึกถ้อยคำ
(๓) ชื่อ และสกุลของคู่ความ
(๔) ชื่อ สกุล อายุ ที่อยู่ และอาชีพ ของผู้ให้ถ้อยคำ และความเกี่ยวพันกับคู่ความ
(๕) รายละเอียดแห่งข้อเท็จจริง หรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำ
(๖) ลายมือชื่อของผู้ให้ถ้อยคำ และคู่ความฝ่ายผู้เสนอบันทึกถ้อยคำ
ห้ามมิให้แก้ไขเพิ่มเติมบันทึกถ้อยคำที่ได้ยื่นไว้แล้วต่อศาล เว้นแต่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาด หรือผิดหลงเล็กน้อย

มาตรา ๑๒๐/๔ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลทำการสืบพยานที่อยู่นอกศาล โดยระบบการประชุมทางจอภาพได้ โดยคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่าย หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลจะอนุญาตตามคำร้องนั้นก็ได้ โดยให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามข้อกำหนดแนวทางการสืบพยานของประธานศาลฎีกา โดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาที่ออกตามมาตรา ๑๐๓/๓ รวมทั้งระบุวิธีการสืบพยาน สถานที่ และสักขีพยานในการสืบพยานตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาดังกล่าว และให้ถือว่าค่าใช้จ่ายนั้นเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินคดี
การเบิกความตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าพยานเบิกความในห้องพิจารณาของศาล

มาตรา ๑๒๑ ในการนั่งพิจารณาทุกครั้ง เมื่อพยานคนใดเบิกความแล้ว ให้ศาลอ่านคำเบิกความนั้นให้พยานฟัง และให้พยานลงลายมือชื่อไว้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๙ และ๕๐
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีที่มีการใช้บันทึกถ้อยคำแทนการเบิกความของพยานตามมาตรา ๑๒๐/๑ หรือมาตรา ๑๒๐/๒ หรือกรณีที่มีการสืบพยานโดยใช้ระบบการประชุมทางจอภาพตามมาตรา ๑๒๐/๔ หรือกรณีที่มีการบันทึกการเบิกความของพยานโดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุซึ่งสามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพหรือเสียงหรือโดยใช้วิธีการอื่นใดซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งหรือพยานขอตรวจดูบันทึกการเบิกความของพยานนั้น ให้ศาลจัดให้มีการตรวจดูบันทึกการเบิกความนั้น

หมวด ๓
การนำพยานเอกสารมาสืบ

มาตรา ๑๒๒ เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารฉบับใดเป็นพยานหลักฐานและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านเอกสารนั้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒๕ ถ้าต้นฉบับเอกสารอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสาร ให้คู่ความฝ่ายนั้นนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยาน
ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา ถ้าศาลได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารส่งต้นฉบับต่อศาล โดยที่ศาลเห็นสมควร หรือโดยที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำขอ ให้คู่ความฝ่ายนั้นส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาล เพื่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะตรวจดูได้ตามเงื่อนไขซึ่งจะได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น หรือตามที่ศาลจะได้กำหนด แต่
(๑) ถ้าไม่สามารถจะนำมาหรือยื่นต้นฉบับเอกสารดังกล่าวข้างต้น คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในวันหรือก่อนวันที่กำหนดให้นำมาหรือให้ยื่นต้นฉบับเอกสารนั้น แถลงให้ทราบถึงความไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามได้พร้อมทั้งเหตุผล ถ้าศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถที่จะนำมาหรือยื่นต้นฉบับเอกสารได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้นำต้นฉบับเอกสารมาในวันต่อไป หรือจะสั่งเป็นอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ได้ ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีความประสงค์เพียงให้ศาลขยายระยะเวลาที่ตนจะต้องนำมาหรือยื่นต้นฉบับเอกสารนั้น คำขอนั้นจะทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวก็ได้
(๒) ถ้าการที่จะนำมาหรือยื่นต้นฉบับเอกสารต่อศาลนั้น จะเป็นเหตุให้เกิดการสูญหาย หรือบุบสลายหรือมีข้อขัดข้องโดยอุปสรรคสำคัญหรือความลำบากยากยิ่งใด ๆ คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารอาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ในวันหรือก่อนวันสืบพยานแถลงให้ทราบถึงเหตุเสียหาย อุปสรรค หรือความลำบากเช่นว่านั้น ถ้าศาลเห็นว่าต้นฉบับเอกสารนั้นไม่อาจนำมาหรือยื่นต่อศาลได้ ศาลจะมีคำสั่งให้ยื่นต้นฉบับเอกสารนั้น ณ สถานที่ใดต่อเจ้าพนักงานคนใด และภายในเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ หรือจะมีคำสั่งให้คัดสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องทั้งฉบับหรือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวแก่เรื่องมายื่นแทนต้นฉบับก็ได้

มาตรา ๑๒๓ ถ้าต้นฉบับเอกสารซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานนั้นอยู่ในความครอบครองของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คู่ความฝ่ายที่อ้างจะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งส่งต้นฉบับเอกสารแทนการที่ตนจะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นก็ได้ถ้าศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานสำคัญ และคำร้องนั้นฟังได้ ให้ศาลมีคำสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นต้นฉบับเอกสารต่อศาลภายในเวลาอันสมควรแล้วแต่ศาลจะกำหนด ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีต้นฉบับเอกสารอยู่ในครอบครองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นว่านั้น ให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่ผู้ขอจะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ยอมรับแล้ว
ถ้าต้นฉบับเอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก หรือในครอบครองของทางราชการ หรือของเจ้าหน้าที่ ซึ่งคู่ความที่อ้างไม่อาจร้องขอโดยตรงให้ส่งเอกสารนั้นมาได้ให้นำบทบัญญัติในวรรคก่อนว่าด้วยการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารยื่นคำขอ และการที่ศาลมีคำสั่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ทั้งนี้ฝ่ายที่อ้างต้องส่งคำสั่งศาลแก่ผู้ครอบครองเอกสารนั้นล่วงหน้าอย่างน้อยเจ็ดวัน ถ้าไม่ได้เอกสารนั้นมาสืบตามกำหนด เมื่อศาลเห็นสมควร ก็ให้ศาลสืบพยานต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๓ (๒)

มาตรา ๑๒๔ ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารไม่ยอมนำมาหรือยื่นต้นฉบับเอกสาร หรือถ้าคู่ความฝ่ายนั้นได้ทำให้เสียหาย ทำลาย ปิดบัง หรือทำด้วยประการอื่นใด ให้เอกสารนั้นไร้ประโยชน์โดยมุ่งหมายที่จะกีดกันไม่ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น คู่ความฝ่ายที่ไม่นำมาหรือยื่นเอกสารดังกล่าวข้างต้นนั้นได้ยอมรับแล้ว

มาตรา ๑๒๕ คู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตน อาจคัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ โดยคัดค้านต่อศาลก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จ
ถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านมีเหตุผลอันสมควรที่ไม่อาจทราบได้ก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จว่าต้นฉบับเอกสารนั้นไม่มี หรือเอกสารนั้นปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้องคู่ความนั้นอาจยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านการอ้างเอกสารมาสืบดังกล่าวข้างต้นต่อศาล ไม่ว่าเวลาใดก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นว่าคู่ความนั้นไม่อาจยกข้อคัดค้านได้ก่อนนั้น และคำขอนั้นมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ
ถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านไม่คัดค้านการอ้างเอกสารเสียก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จ หรือศาลไม่อนุญาตให้คัดค้านภายหลังนั้น ห้ามมิให้คู่ความนั้นคัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้น หรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดอำนาจของศาลในอันที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องการมีอยู่ ความแท้จริง หรือความถูกต้องเช่นว่านั้น ในเมื่อศาลเห็นสมควร และไม่ตัดสิทธิของคู่ความนั้นที่จะอ้างว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด

มาตรา ๑๒๖ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตราต่อไปนี้ ถ้าคู่ความที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันแก่ตน ปฏิเสธความแท้จริงของเอกสารนั้น หรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น และคู่ความฝ่ายที่อ้างยังคงยืนยันความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสำเนาของเอกสาร ถ้าศาลเห็นสมควร ให้ศาลชี้ขาดข้อโต้เถียงนั้นได้ทันทีในเมื่อเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป หรือมิฉะนั้นให้ชี้ขาดในเมื่อได้สืบพยานตามวิธีต่อไปนี้ทั้งหมดหรือโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง คือ
(๑) ตรวจสอบบรรดาเอกสารที่มิได้ถูกคัดค้านแล้วจดลงไว้ซึ่งการมีอยู่หรือข้อความแห่งเอกสารที่ถูกคัดค้าน
(๒) ซักถามพยานที่ทราบการมีอยู่หรือข้อความแห่งเอกสารที่ถูกคัดค้าน หรือพยานผู้ที่สามารถเบิกความในข้อความแท้จริงแห่งเอกสาร หรือความถูกต้องแห่งสำเนา
(๓) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเอกสารที่ถูกคัดค้านนั้น
ในระหว่างที่ยังมิได้ชี้ขาดตัดสินคดี ให้ศาลยึดเอกสารที่สงสัยว่าปลอมหรือไม่ถูกต้องไว้ แต่ความข้อนี้ไม่บังคับถึงเอกสารราชการซึ่งทางราชการเรียกคืนไป

มาตรา ๑๒๗ เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรอง หรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น และเอกสารเอกชนที่มีคำพิพากษาแสดงว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายัน ต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร

มาตรา ๑๒๗ ทวิ ต้นฉบับพยานเอกสารหรือพยานวัตถุอันสำคัญที่คู่ความได้ยื่นต่อศาล หรือที่บุคคลภายนอกได้ยื่นต่อศาล หากผู้ที่ยื่นต้องใช้เป็นประจำหรือตามความจำเป็นหรือมีความสำคัญในการเก็บรักษา ศาลจะอนุญาตให้ผู้ที่ยื่นรับคืนไป โดยให้คู่ความตรวจดู และให้ผู้ที่ยื่นส่งสำเนาหรือภาพถ่ายไว้แทน หรือจะมีคำสั่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรก็ได้

หมวด ๔
การตรวจและการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญโดยศาล
มาตรา ๑๒๘ ถ้าพยานหลักฐานที่ศาลจะทำการตรวจนั้นเป็นบุคคลหรือสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจนำมาศาลได้ ให้คู่ความฝ่ายที่ได้รับอนุญาตให้นำสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นนำบุคคลหรือทรัพย์นั้นมาในวันสืบพยาน หรือวันอื่นใดที่ศาลจะได้กำหนดให้นำมา
ถ้าการตรวจไม่สามารถกระทำได้ในศาล ให้ศาลทำการตรวจ ณ สถานที่ เวลาและภายในเงื่อนไข ตามที่ศาลจะเห็นสมควรแล้วแต่สภาพแห่งการตรวจนั้น ๆ

มาตรา ๑๒๘/๑ ในกรณีจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดที่เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลมีอำนาจสั่งให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุหรือเอกสารใดๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้
ในการที่พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ จะสามารถพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ทำให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานอื่นอีก เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลอาจสั่งให้ทำการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่งโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันสืบพยานตามปกติก็ได้
ในกรณีที่การตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองจำเป็นต้องเก็บตัวอย่าง เลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำลายหรือสารคัดหลั่งอื่น สารพันธุกรรม หรือส่วนประกอบอื่นของร่างกาย หรือสิ่งที่อยู่ในร่างกายจากคู่ความหรือบุคคลใด ศาลอาจให้คู่ความหรือบุคคลใดรับการตรวจพิสูจน์จากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นได้ แต่ต้องกระทำเพียงเท่าที่จำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ถือเป็นสิทธิของคู่ความหรือบุคคลนั้นที่จะยินยอมหรือไม่ก็ได้
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดไม่ยินยอม หรือไม่ให้ความร่วมมือต่อการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือไม่ให้ความยินยอมหรือกระทำการขัดขวางมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความยินยอมต่อการตรวจเก็บตัวอย่างส่วนประกอบของร่างกายตามวรรคสาม ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่คู่ความฝ่ายตรงข้ามกล่าวอ้าง
ค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ตามมาตรานี้ ให้คู่ความฝ่ายที่ร้องขอให้ตรวจพิสูจน์เป็นผู้รับผิดชอบโดยให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม แต่ถ้าผู้ร้องขอไม่สามารถเสียค่าใช้จ่ายได้หรือเป็นกรรีที่ศาลเป็นผู้สั่งให้ตรวจพิสูจน์ ให้ศาลสั่งจ่ายตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด ส่วนความรับผิดในค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรา ๑๕๘ หรือมาตรา ๑๖๑

มาตรา ๑๒๙ ในการที่ศาลจะมีคำสั่งให้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวมาในมาตรา ๙๙ โดยที่ศาลเห็นสมควรหรือโดยที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอนั้น
(๑) การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเช่นว่านั้นให้อยู่ในดุลพินิจของศาล แต่ศาลจะเรียกคู่ความมาให้ตกลงกันกำหนดตัวผู้เชี่ยวชาญที่จะแต่งตั้งนั้นก็ได้ แต่ศาลจะบังคับบุคคลใดให้เป็นผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ นอกจากบุคคลนั้นได้ยินยอมลงชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญไว้ในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญของศาลแล้ว
(๒) ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งอาจถูกคัดค้านได้และต้องสาบานหรือปฏิญาณตน ทั้งมีสิทธิที่จะได้รับค่าธรรมเนียมและรับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้ออกไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น

มาตรา ๑๓๐ ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งอาจแสดงความเห็นด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะต้องการ ถ้าศาลยังไม่เป็นที่พอใจในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ทำเป็นหนังสือนั้น หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดเรียกร้องโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลเรียกให้ผู้เชี่ยวชาญทำความเห็นเพิ่มเติมเป็นหนังสือ หรือเรียกให้มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจา หรือให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญคนอื่นอีก
ถ้าผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้งจะต้องแสดงความเห็นด้วยวาจาหรือต้องมาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจา ให้นำบทบัญญัติในลักษณะนี้ว่าด้วยพยานบุคคลมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ลักษณะ ๖
คำพิพากษาและคำสั่ง
หมวด ๑
หลักทั่วไปว่าด้วยการชี้ขาดตัดสินคดี

มาตรา ๑๓๑ คดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลนั้น ให้ศาลปฏิบัติดังนี้
(๑) ในเรื่องคำขอซึ่งคู่ความยื่นในระหว่างการพิจารณาคดีนั้น โดยทำเป็นคำร้องหรือขอด้วยวาจาก็ดี ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตหรือยกเสียซึ่งคำขอเช่นว่านั้น โดยทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าศาลมีคำสั่งด้วยวาจาให้ศาลจดคำสั่งนั้นไว้ในรายงานพิสดาร
(๒) ในเรื่องประเด็นแห่งคดี ให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งหรือให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะนี้

มาตรา ๑๓๒ ให้ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้น และให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร
(๑) เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้อง ถอนฟ้อง หรือไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๗๔ มาตรา ๑๗๕ และมาตรา ๑๙๓ ทวิ
(๒) เมื่อโจทก์ไม่หาประกันมาให้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๓ และ ๒๘๘หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายขาดนัดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙๘, ๒๐๐และ ๒๐๑
(๓) ถ้าความมรณะของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังให้คดีนั้นไม่มีประโยชน์ต่อไปหรือถ้าไม่มีผู้ใดเข้ามาแทนที่คู่ความฝ่ายที่มรณะดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๒
(๔) เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันหรือให้แยกกัน ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘ และ ๒๙
อธิบาย
-มาตรา ๑๙๓ ทวิ คดีมโรสาเร่ถือว่าไม่ประสงค์ดำเนินคดีต่อไป
-มาตรา ๑๓๒ เป็นดุลยพินิจของศาลไม่ใช่บังคับศาลให้สั่งจำหน่ายคดีเสียทุกเรื่อง แต่ข้อยกเว้นทั้ง ๔ ศาลต้องสั่งจำหน่ายคดีเสมอ (ดู ฎีกา ๕๘๑๖/๕๐)
-เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้อง หรือถอนฟ้อง ฟ้องแย้งจะตกไปหรือไม่ แนวคำพิพากษาศาลฎีกาฟ้องแย้งตกไปเฉพาะกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้น
-ฎ.๗๙๙๔/๔๗ (ดู ม. ๒๒๖ ด้วย) ป.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ย. จำเลยผู้มรณะตายในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ย. จำเลยผู้มรณะโดยต่างคัดค้านซึ่งกันและกันว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีคุณสมบัติไม่ เหมาะสม เมื่อไต่สวนพยานของผู้ร้องเสร็จแล้ว ระหว่างไต่สวนพยานของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนคำร้องของผู้คัดค้าน เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้คัดค้านและสั่งอนุญาตให้ ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านดังกล่าวย่อมทำให้คดีเกี่ยวกับคำร้องขอเข้าแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านเสร็จไป ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาย่อมอุทธรณ์ได้ทันที เมื่อทนายผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับการจำหน่ายคำร้องขอเข้าแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านโดยอ้างว่าเป็นการผิดระเบียบและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ส่วนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะซึ่งทนายผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมนั้นก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๖

มาตรา ๑๓๓ เมื่อศาลมิได้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความดังที่บัญญัติไว้ในมาตราก่อน ให้ศาลชี้ขาดคดีนั้นโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่สิ้นการพิจารณาแต่เพื่อการที่จะพิเคราะห์คดีต่อไป ศาลจะเลื่อนการพิพากษาหรือการทำคำสั่งต่อไปในวันหลังก็ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

มาตรา ๑๓๔ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลที่รับฟ้องคดีไว้ ปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีโดยอ้างว่า ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดี หรือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับนั้นเคลือบคลุมหรือไม่บริบูรณ์

มาตรา ๑๓๕ ในคดีที่เรียกร้องให้ชำระหนี้เป็นเงิน หรือมีการเรียกร้องให้ชำระหนี้เป็นเงินรวมอยู่ด้วย ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา จำเลยจะนำเงินมาวางศาลเต็มจำนวนที่เรียกร้อง หรือแต่บางส่วน หรือตามจำนวนเท่าที่ตนคิดว่าพอแก่จำนวนที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องก็ได้ทั้งนี้ โดยยอมรับผิดหรือไม่ยอมรับผิดก็ได้

มาตรา ๑๓๖ ในกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยยอมรับผิด ถ้าโจทก์พอใจยอมรับเงินที่จำเลยวางโดยไม่ติดใจเรียกร้องมากกว่านั้น และคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปอีก ให้ศาลพิพากษาคดีไปตามนั้น คำพิพากษานั้นเป็นที่สุด แต่ถ้าโจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินที่จำเลยวางและยังติดใจที่จะดำเนินคดีเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดในจำนวนเงินตามที่เรียกร้องต่อไปอีก จำเลยมีสิทธิถอนเงินที่วางไว้นั้นได้ โดยให้ถือเสมือนว่ามิได้มีการวางเงิน หรือจำเลยจะยอมให้โจทก์รับเงินนั้นไปก็ได้ ในกรณีหลังนี้ โจทก์จะรับเงินไปหรือไม่ก็ตาม จำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่วาง แม้ว่าจำเลยมีความรับผิดตามกฎหมายจะต้องเสีย ทั้งนี้ นับแต่วันที่จำเลยยอมให้โจทก์รับเงินไป
ในกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยไม่ยอมรับผิด จำเลยจะรับเงินนั้นคืนไปก่อนที่มีคำพิพากษาว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดไม่ได้ การวางเงินเช่นว่านี้ ไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ยหากจำเลยมีความรับผิดตามกฎหมายจะต้องเสีย

มาตรา ๑๓๗ ในคดีที่เรียกร้องให้ชำระหนี้อย่างอื่นนอกจากให้ชำระเงิน จำเลยชอบที่จะทำการชำระหนี้นั้นได้โดยแจ้งให้ศาลทราบในคำให้การหรือแถลงโดยหนังสือเป็นส่วนหนึ่งต่างหากก็ได้
ถ้าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้นั้นเป็นการพอใจเต็มตามที่เรียกร้องแล้วให้ศาลพิพากษาคดีไปตามนั้น และคำพิพากษานั้นให้เป็นที่สุด
ถ้าโจทก์ไม่พอใจในการชำระหนี้เช่นว่านั้น โจทก์ชอบที่จะดำเนินคดีนั้นต่อไปได้

มาตรา ๑๓๘ ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้น
ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้
(๑) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
(๒) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(๓) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความ
ถ้าคู่ความตกลงกันเพียงแต่ให้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับ
อธิบาย
-ฎ.๒๕๖/๐๔ บุคคลภายนอกฟ้องให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมไม่ได้ แต่หากคำพิพากษาตามยอมมากระทบสิทธิผู้ร้องสามารถฟ้องได้
-ฎ.๑๒๔/๔๖ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมไม่สามารถบังคับได้ จึงไม่มีประเด็นซึ่งได้วินิจฉัยแล้ว คดีจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ม.๑๔๘
-ฎ.๕๓๙๔-๕๓๙๕/๓๕ กล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามยอมผิดกฎหมาย ต้องอ้างในคดีเดิม จะนำมาฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้

มาตรา ๑๓๙ เมื่อคดีสองเรื่องหรือกว่านั้นขึ้นไปได้พิจารณารวมกันเพื่อสะดวกแก่การพิจารณา ศาลจะพิพากษาคดีเหล่านั้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเสร็จการพิจารณาแล้วจึงพิพากษาเรื่องอื่น ๆ ต่อไปภายหลังก็ได้


ป.วิแพ่ง ต่อ น.4

 

 เว็บบอร์ดสนทนาเฉพาะสมาชิก

สอบถามไปรษณีย์ 1545

 BTCTHB ชาร์ตและราคา

 




        

 

 

หน้าแรกขายตรงเดิม tsirichworld